การจากไปของมาเรียมกับ 3 ภัยคุกคาม ในมุมมองของ ดร.ธรณ์


 การจากไปของมาเรียมกับ 3 ภัยคุกคาม ในมุมมองของ ดร.ธรณ์

ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดีคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และผู้เชี่ยวชาญด้านทะเลไทย เป็นหนึ่งในผู้ที่ทำการรณรงค์ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลมาตลอด โดยเช้านี้หลังจากที่ผลชันสูตรของมาเรียมออกมาแล้ว ดร.ธรณ์ ได้ลงข้อความในเฟซบุ๊กส่วนตัวภายใต้หัวข้อ "เจ็ดข้อที่มาเรียมฝากไว้" เพื่อชี้ให้เห็นถึงปัญหาขยะในทะเลที่ทวีความรุนแรงขึ้นทุกวัน

จะเห็นได้ว่าปัญหาขยะในทะเลไม่ใช่ปัญหาเล็ก ๆ เพราะมันสามารถคร่าชีวิตสัตว์ทะเล และมนุษย์ได้ ทุกวันนี้เราสามารถสังเกตได้ว่าข่าวสัตว์ทะเลเช่นเต่า ปลาโลมา หรือพะยูน ได้รับบาดเจ็บจากเศษอวนบาดหรือติดตามร่างกาย หรือเสียชีวิตจากการกินขยะที่เป็นพลาสติกเข้าไปมีถี่มากขึ้น


บีบีซีไทยได้พูดคุยกับ ดร.ธรณ์ ถึงปัญหาที่เกิดขึ้นกับมาเรียม โดยเขาได้อธิบายถึงภัยคุกคาม 3 ประการที่พะยูนต้องเผชิญในทะเลไทย โดยเฉพาะบริเวณทะเล จ.ตรัง ที่เป็นถิ่นอาศัยของพะยูนแหล่งสุดท้ายในประเทศไทย

1. ภัยจากเครื่องมือประมง
การทำประมงโดยเฉพาะประมงพื้นบ้านถือเป็นหนึ่งในภัยคุกคามหลักต่อชีวิตพะยูนในน่านน้ำไทย เพราะมีการใช้อวนลอยและอวนกระเบนเพื่อทำประมงกันอย่างแพร่หลาย โดยอวนเหล่านี้ทำให้พะยูนว่ายน้ำเข้าไปติดและไม่สามารถออกมาได้

การจัดระเบียบเส้นทางการวิ่งของเรือประมง เป็ฯมาตรการหนึ่งของการอนุรักษ์สัตว์น้ำ
"พะยูนไม่เหมือนปลาโลมา พวกมันกินหญ้าทะเลเป็นอาหารและมันต้องว่ายน้ำลงไปตามแนวหญ้าทะเล เมื่อติดอวนและออกมาไม่ได้พวกมันจะจมน้ำตายเพราะพะยูนหายใจทางปอด ไม่ได้หายใจทางเหงือกเหมือนสัตว์น้ำทั่วไป" ดร.ธรณ์ อธิบาย

2. ภัยจากขยะทางทะเล
ขยะพลาสติกเป็นสาเหตุการตายของมาเรียม และสัตว์ทะเลอีกหลายชนิดในทุกวัน จะเห็นได้ว่าการรณรงค์ลดใช้พลาสติกนั้นไม่ประสบผลสำเร็จ เพราะคนไทยยังมีพฤติกรรมในการใช้พลาสติกในชีวิตประจำวันเป็นจำนวนมหาศาล

จากการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 34 ที่ไทยเป็นเจ้าภาพเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาได้มีการรับรองปฏิญญากรุงเทพฯ ว่าด้วยการต่อต้านขยะทะเลในภูมิภาคอาเซียน โดย พล.อ. ประยุทธ์ กล่าวว่า ปฏิญญานี้ "แสดงเจตนารมณ์ของอาเซียนที่มุ่งมั่นที่จะแก้ไขปัญหาขยะทะเลอย่างจริงจังและยั่งยืน" และกำหนดกรอบเวลา

"การรณรงค์อย่างเดียวมันไม่พอหรอก ผมไปดูตัวเลขจากที่กรมอุทยานฯ เก็บเอาไว้พบว่าเขาเก็บขยะในทะเลนับตั้งแต่เมื่อ 10 เดือนที่แล้วมาถึงวันนี้ได้แล้ว 95 ตัน เมื่อเทียบกับปีที่แล้วเขาเก็บได้ 82 ตัน เห็นได้ว่าปริมาณขยะไม่ได้ลดลงเลย แถมเพิ่มขึ้นอีกต่างหาก" ดร. ธรณ์

"ผมเองเพิ่งไปเดินที่ชายหาดหนึ่งใน จ.ตรัง โดยผมเดินไปเป็นระยะทาง 50 เมตร ผมเก็บหลอดพลาสติกได้ 1,800 หลอด นี่แสดงให้เห็นว่าแค่รณรงค์ไม่พอ เราต้องออกมาตรการที่แรงกว่านี้ และห้ามขายห้ามใช้ไปเลย"

ดร.ธรณ์ ยังกล่าวอีกว่ากรอบเวลาของ ปฏิญญากรุงเทพฯ ว่าด้วยเรื่องการต่อต้านขยะในทะเลจะเริ่มขึ้นปี 2565 แต่ ดร. ธรณ์ อยากให้มีการขยับขึ้นมาให้เร็วขึ้นเพราะปัญหาเริ่มทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ โดยการตายของมาเรียมอาจจะช่วยกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้

3. ภัยจากการท่องเที่ยว
ปัญหานี้เป็นปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตหากการท่องเที่ยวทางทะเลใน จ.ตรัง เริ่มได้รับความนิยมขึ้นมากกว่านี้ ดร.ธรณ์ เห็นว่าปัญหาที่ก่อจากการที่มีปริมาณเรือนำเที่ยวมากเกินไปอาจไปรบกวนระบบนิเวศน์ของพะยูนและสัตว์น้ำอีกหลายชนิดในน่านน้ำของ จ.ตรัง

 การจากไปของมาเรียมกับ 3 ภัยคุกคาม ในมุมมองของ ดร.ธรณ์


เรือเร็วเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่เป็นอันตรายต่อพะยูน
"ตั้งแต่ต้นปีมา มีสัตว์ทะเลหายากตายไปไม่ต่ำกว่า 200 ตัวแล้ว โดยสาเหตุที่พวกมันตายก็มาจากภัยคุกคามต่าง ๆ ที่ได้กล่าวเอาไว้ทั้งจากขยะ และการทำประมงพื้นบ้าน แต่ที่อันตรายที่สุดก็หนีไม่พ้นถุงพลาสติกเพราะเมื่อเข้าไปในร่างกายของสัตว์น้ำแล้ว จะไม่สามารถมองเห็นได้แม้ว่าจะทำการเอกซเรย์ก็ตาม"

 การจากไปของมาเรียมกับ 3 ภัยคุกคาม ในมุมมองของ ดร.ธรณ์

เครดิตแหล่งข้อมูล : FB Thon Thamrongnawasawat,bbc.com/thai

 การจากไปของมาเรียมกับ 3 ภัยคุกคาม ในมุมมองของ ดร.ธรณ์

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
ดูดวง เลขบัตรประชาชน คลิ๊กเลย ++
กระทู้เด็ดน่าแชร์