พ่อขอโทษที่ปลูกข้าวผิดนา เรื่องเล่าถึงลูกสาวกับระบบการศึกษาไทย

พ่อขอโทษที่ปลูกข้าวผิดนา เรื่องเล่าถึงลูกสาวกับระบบการศึกษาไทย


เป็นอีกบทความที่ได้รับความสนใจและถูกแชร์ต่อไปอย่างมาก ซึ่งเป็นบทความที่ถูกโพตส์ลงในเฟซบุ๊ค โดย รศ.นพ.วิทยา ถิฐาพันธ์ จากภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เป็นเรื่องราวด้านการศึกษาของลูกสาว ที่มีผลการเรียนไม่ประสบความสำเร็จนักขณะอยู่ที่ไทย แต่กลับมีผลการเรียนที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเมื่อได้ไปเรียนต่อที่ญี่ปุ่น โดยระบุว่า..


พ่อขอโทษที่ปลูกข้าวผิดนา

3 เมษายน พ.ศ. 2559 ผมและภรรยาเดินทางไปสนามบินสุวรรณภุมิเพื่อส่งลูกสาวคนโตกลับไปเรียนต่อที่ญี่ปุ่นอีกครั้งหนึ่งหลังจากที่เคยไปส่งหลายครั้งแล้ว หวังว่าอีกไม่นานเราก็จะไม่ต้องพบกับสภาพ "พานพบเพื่อพลัดพราก จำใจจากเพื่อรอเจอ" กันอีกแล้ว

ผมมีลูกสาวสองคน ลูกคนโตของผมเป็นคนที่ไม่ค่อยประสบความสำเร็จในการเรียนในระบบของประเทศไทยสักเท่าไร เพราะผลการเรียนอยู่ในเกณฑ์แค่เอาตัวรอดได้เท่านั้น ไม่เคยได้เกรด 4 ทุกวิชา ไม่ใช่นักเรียนชั้นแนวหน้าของห้องเรียน ยิ่งถ้าพูดลงลึกเข้าไปอีก ต้องบอกว่าพระเจ้าไม่ได้สร้างสมองมาเพื่องานทางวิทยาศาสตร์ให้กับเธอเลย เพราะผลการเรียนทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์เธอแย่มาก ทุกครั้งที่สอบวิชาเหล่านี้ พ่อแม่ต้องลุ้นระทึกเสมอ

แต่เพราะผมและภรรยาช่วยกันเลี้ยงลูกด้วยตัวเอง ไม่ฝากใครเลี้ยง ไม่มีพี่เลี้ยงเด็ก ผมดูลูกอย่างใกล้ชิดมาตลอด ผมสังเกตว่า ลูกสาวคนโตของผมเป็นคนช่างซัก ช่างถาม ช่างสงสัยตั้งแต่เด็ก เช่น ทำไมเราต้องเรียนเรื่องร้อยละ ทำไมเรียนแค่บวก ลบ คูณ หาร ไม่ได้หรือ ทำไมต้องเรียนเรื่องเลขยกกำลัง ทำไมต้องเรียนถอดสมการที่ยุ่งยาก ทำไมนิวตันต้องสร้างกฎเกณฑ์ทางฟิสิกส์ที่ยุ่งยากและจับต้องไม่ได้ให้เธอเรียน แต่ทุกคำถามของเธอ ไม่เคยมีใครให้คำตอบที่ถูกใจเธอเลย ส่วนมากของคำตอบจากครูบาอาจารย์และสารพัดผู้รู้ในประเทศนี้ ก็คือ เรียนๆ ไปแล้วก็จะเห็นประโยชน์เอง


พ่อขอโทษที่ปลูกข้าวผิดนา เรื่องเล่าถึงลูกสาวกับระบบการศึกษาไทย


ผมมีความรู้สึกลึกๆ แต่ไม่กล้าบอกใครว่า ลูกสาวคนโตของผมน่าจะเป็นเด็กเก่งอยู่เหมือนกัน แต่ในแนวที่ไม่ค่อยจะเหมือนเด็กเก่งที่พบกันดาษดื่นในประเทศไทย และเชื่อว่าโรงเรียนและมหาวิทยาลัยในเมืองไทยดูลูกผมไม่ออก บอกไม่ได้ และหาโรงเรียนที่เหมาะกับลูกผมยาก

ภายหลังจบปริญญาตรีที่จุฬาฯ ผมเสนอเชิงขอร้องให้เธอไปเรียนปริญญาโทต่อที่ต่างประเทศจะในสาขาวิชาอะไรก็ได้ และในมหาวิทยาลัยอะไรก็ได้ โดยหวังเพียงให้เธอได้ไปเรียนรู้วิธีคิดที่ดีกว่าในบ้านเรา เธอตัดสินใจไปเรียนต่อปริญญาโทที่ Keio University ประเทศญี่ปุ่นในสาขา Innovative Design เพราะถูกจริตและมีเนื้อหาวิชาให้คิดสิ่งใหม่ๆ มากมาย

เกือบสองปีแล้วที่เธอไปอยู่ญี่ปุ่นกับการเรียนในแบบที่เธอชอบ คือ การมีโอกาสได้แสดงความคิด ความสามารถ ให้คนอื่นรับรู้ ไม่ต้องนั่งท่องจำ หรือทำข้อสอบประเภทต้องเลือกข้อที่ถูกตามความเห็นของคนออกข้อสอบ ผลการเรียนของเธอดีกว่าในเมืองไทยอย่างชัดเจน การมองชีวิต สังคม และโลก ของเธอเปลี่ยนไปมาก เป็นครั้งแรกในชีวิตที่ผลการเรียนของเธออยู่ในเกณฑ์ดีมากประมาณ 3.9-4.0 ทุกเทอม แต่นั่นไม่ใช่สิ่งที่ผมฝันอยากได้ ที่อยากได้และผมได้แล้วก็คือ ลูกผมเข้าใจแล้วว่า ประเทศญี่ปุ่นมีความเจริญกว่าไทยในทุกด้านอย่างเทียบกันไม่ได้เลย และสิ่งสำคัญที่ทำให้เป็นเช่นนั้นก็เพราะ "ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ไม่เคยหยุดนิ่งทางความคิด" ในขณะที่ประเทศไทยยังไม่เข้าใจเลยว่า "ความคิด"คืออะไร

ผมเคยคิดว่าลูกสาวผมเป็นข้าวพันธ์ไม่ค่อยดีปลูกขึ้นยาก แต่เมื่อเปลี่ยนให้ไปเรียนที่ญี่ปุ่นจึงทำให้ผมได้รับรู้ว่าผมเข้าใจผิดมาตลอด

"ลูกเป็นข้าวพันธุ์ดี แต่นาที่บ้านเมืองเราแห้งแล้งเกินไป เลยปลูกอะไรไม่ค่อยขึ้น และนี่คือความจำเป็นที่ลูกต้องมาเรียนไกลบ้านซึ่งมีที่นาดีกว่าเพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่าข้าวของพ่อเป็นข้าวพันธุ์ดี ไม่ได้เลวร้ายอย่างที่พ่อเคยฝังไว้ในความคิดและความจำมาตลอดเวลา ขอโทษนะลูก "

_____________________________________________

ถ้าเรียนได้ เกรดสี่ วิถีไทย
ถ้ามุ่งมั่น ตั้งใจ ทำตามสอน
ถ้าเลียนแบบ ทำตาม ทุกขั้นตอน
จงว่านอน สอนง่าย ที่ไทยเทอญ
แต่ถ้าคุณ คิดแปลก และแตกต่าง
และมุ่งมั่น ทำอย่าง ที่ใฝ่ฝัน
อย่ารอช้า รีบมา ญี่ปุ่นพลัน
เพื่อรวมฝัน กับความจริง เป็นสิ่งเดียว

พ่อขอโทษที่ปลูกข้าวผิดนา เรื่องเล่าถึงลูกสาวกับระบบการศึกษาไทย


แต่หลังจากนั้นก็มีบรรดาชาวเน็ตเข้ามาแสดงความคิดเห็นในแง่มุมต่างๆมากมาย ระบบการศึกษาของไทยนั้นไม่ได้สอนให้เด็กรู้จักคิดเช่นในประเทศอื่น ๆ จึงเป็นข้อด้อยให้ระบบการศึกษาไทยควรนำไปพัฒนาต่อ แต่ถึงแม้จะเป็นเช่นนั้นก็ใช่ว่าระบบการศึกษาของไทยจะไม่สามารถสนับสนุนให้ เด็กไทยประสบความสำเร็จได้เสมอไป เพราะยังมีเด็กไทยอีกไม่ใช่น้อยที่ประสบความสำเร็จในชีวิต จากการศึกษาในเมืองไทย

ขณะที่ชาวเน็ตบางคนก็แสดงความคิดเห็นสนับสนุนเจ้าของบทความนี้ แต่เห็นต่างในด้านของการเปรียบเทียบที่อาจจะก่อให้เกิดช่องว่างบางอย่าง ระหว่างความรวยและจน เพราะบทความนี้เหมือนเป็นการสนับสนุนให้พ่อแม่ส่งลูกไปเรียนต่างประเทศ และดูถูกระบบการศึกษาในประเทศไทย ซึ่งพ่อแม่บางคนที่ฐานะไม่ดีนักก็ไม่สามารถกระทำได้ บางคนที่มองในแง่มุมว่า เรื่องดังกล่าวให้ข้อคิดมากว่าการให้เด็กได้เรียนได้ทำในสิ่งที่ชอบ ได้ปลูกข้าวในดินที่เหมาะสม ย่อมเป็นสิ่งที่ดีกว่า แต่ก็ใช่ว่าดินแหล่งเดิมหรือระบบการศึกษาในไทย จะต้องเป็นดินที่แย่กว่าเสมอไป เพียงแค่อาจจะไม่เหมาะกับลูกสาวของเจ้าของเรื่องเท่านั้น


พ่อขอโทษที่ปลูกข้าวผิดนา เรื่องเล่าถึงลูกสาวกับระบบการศึกษาไทย


พ่อขอโทษที่ปลูกข้าวผิดนา เรื่องเล่าถึงลูกสาวกับระบบการศึกษาไทย


พ่อขอโทษที่ปลูกข้าวผิดนา เรื่องเล่าถึงลูกสาวกับระบบการศึกษาไทย


พ่อขอโทษที่ปลูกข้าวผิดนา เรื่องเล่าถึงลูกสาวกับระบบการศึกษาไทย


พ่อขอโทษที่ปลูกข้าวผิดนา เรื่องเล่าถึงลูกสาวกับระบบการศึกษาไทย


พ่อขอโทษที่ปลูกข้าวผิดนา เรื่องเล่าถึงลูกสาวกับระบบการศึกษาไทย


พ่อขอโทษที่ปลูกข้าวผิดนา เรื่องเล่าถึงลูกสาวกับระบบการศึกษาไทย


พ่อขอโทษที่ปลูกข้าวผิดนา เรื่องเล่าถึงลูกสาวกับระบบการศึกษาไทย


พ่อขอโทษที่ปลูกข้าวผิดนา เรื่องเล่าถึงลูกสาวกับระบบการศึกษาไทย


พ่อขอโทษที่ปลูกข้าวผิดนา เรื่องเล่าถึงลูกสาวกับระบบการศึกษาไทย


พ่อขอโทษที่ปลูกข้าวผิดนา เรื่องเล่าถึงลูกสาวกับระบบการศึกษาไทย


พ่อขอโทษที่ปลูกข้าวผิดนา เรื่องเล่าถึงลูกสาวกับระบบการศึกษาไทย

ขอบคุณที่มา >> Facebook >> อาจารย์วิทยา ถิฐาพันธ์ 

เครดิต :

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์