คลายข้อสงสัย! เหตุใด ‘สมเด็จพระนารายณ์’ ทรงโปรดประทับอยู่ ‘ลพบุรี’ มากกว่า ‘อยุธยา’

คลายข้อสงสัย! เหตุใด ‘สมเด็จพระนารายณ์’ ทรงโปรดประทับอยู่ ‘ลพบุรี’ มากกว่า ‘อยุธยา’

สำหรับแฟนละคร บุพเพสันนิวาส ที่เรื่องราวกำลังเข้มข้นเข้าทุกขณะ สถานการณ์เริ่มอิงกับประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นจริงมากขึ้นเรื่อยๆ และหลายคนอาจมีข้อสงสัยว่า เหตุใดบ่อยครั้งที่สมเด็จพระนารายณ์ทรงประทับหรือเรียกให้ขุนนางไปประชุมกันที่ วังลพบุรี หรือ พระนารายญ์ราชนิเวศน์

บทความ "เมืองลพบุรีในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มุมมองทางจิตวิทยาประวัติศาสตร์ (Psychohistory Viewpoint)" โดยกิติกร มีทรัพย์ นิตยสารศิลปวัฒนธรรม ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ 2561 อธิบายไว้ว่า การประทับที่เมืองหลวง แม้ในวังหน้าทำให้ทรงระแวงภัยไม่เป็นสุข แชร์แวสเล่าว่า สมเด็จพระนารายณ์ประทับอยู่อยุธยา เมืองที่ให้ความรู้สึกอึดอัดไม่เป็นอิสระเช่นเดียวกับพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ประทับอยู่ที่ปารีส โปรดแวร์ซายส์ เพราะให้ความรู้สึกปลอดโปร่งกว่า สบายกว่า สมเด็จพระนารายณ์โปรดลพบุรีเพราะคลายความอึดอัด ความเครียด ไกลจากกลุ่มกบฏ ซึ่งได้แก่บรรดาพระอนุชา พระประยูรญาติ กลุ่มขุนนาง และพระสงฆ์บางส่วน

ลพบุรี เป็นเมืองเก่าโบราณครั้งทวารวดี มีโบราณสถาน 3-4 แห่ง ซึ่งสร้างขึ้นตามคติความเชื่อแบบพราหมณ์ หรือแบบสมมุติเทพที่สมเด็จพระนารายณ์ทรงซึมซับรับรู้ นับถือมาแต่ทรงพระเยาว์ ครั้งหนึ่งพระราชบิดาเคยพระราชทานนามว่า พระนารายณ์ราชกุมาร ทันทีที่ประสูติซึ่งโปรดมากกว่าพระนาม พระสุรินทรกุมาร นอกจากนั้นนามเดิมของเมืองลพบุรี คือ ลวปุระ หมายถึงเมืองของพระลพ คือลพปุระหรือลพบุรี พระลพเป็นโอรสของพระราม ลพบุรีจึงหมายถึงเมืองของพระรามหรือพระนารายณ์โดยตรง นอกจากนั้นลพบุรียังมีวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ มีที่บรรจุพระธาตุของพระพุทธเจ้า โดยธรรมเนียมประเพณี ถือว่าเป็นวัดที่เป็นขวัญของเมือง (palladium) ขวัญของเมืองคือขวัญของพระองค์ นั่นเอง

คลายข้อสงสัย! เหตุใด ‘สมเด็จพระนารายณ์’ ทรงโปรดประทับอยู่ ‘ลพบุรี’ มากกว่า ‘อยุธยา’

ลพบุรี ในมุมมองทางภูมิศาสตร์ เป็นเมืองดอนน้ำท่วมไม่ถึง อุดมด้วยทุ่งหญ้า ป่า ทะเล และทิวเขา เหมาะกับการล่าสัตว์ต่างๆ และการจับช้าง เชื่อกันว่าตำราขี่ช้างของสมเด็จพระนารายณ์ที่ระบุรายละเอียดของการจับช้างชนิดต่างๆ และการขี่ช้างแบบต่างๆ รวมทั้งการควบคุมช้าง เกิดขึ้นในห้วงเวลานี้ ลพบุรีมีสภาพภูมิศาสตร์เหมาะในเชิงยุทธศาสตร์ด้วย คือเรือใหญ่กินน้ำลึกขึ้นไปไม่ถึง ด้วยในปีนั้น 2207 อยุธยามีปัญหากับฮอลันดาเรื่องการค้า และเวลานั้นฮอลันดามีอำนาจทางทะเลมาก ลพบุรีจึงมีสภาพปลอดการรุกรานจากฮอลันดา โดยสรุปก็คือ ลพบุรีปลอดภัยจากการบุกรุกจากภายนอกและแม้แต่กลุ่มกบฏจากภายใน รวมทั้งให้ความรู้สึกลึกๆ ว่าอบอุ่นเป็นสุขและปลอดภัย

ทั้งนี้รวมทั้งตำราโอสถพระนารายณ์ ซึ่งเผยแพร่ให้ประชาชนได้รับรู้ การดูแลสุขภาพ ตัวอย่างเช่น มีหอพระโอสถกับมีโรงบริการยาตั้งอยู่ที่ริมประตูหน้าพระที่นั่งจักรวรรดิไพชยนต์ (ตำราโอสถพระนารายณ์ประกอบด้วยยา 81 ขนาน จัดทำโดย หมอไทย 5 คน หมอฝรั่ง 2 คน หมอจีน 1 คน หมอพราหมณ์ 1 คน พร้อมทูลเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระนารายณ์) การเผยแพร่ตำราขี่ช้างและตำราโอสถพระนารายณ์แก่ราษฎรหลังจากการกบฏภายในคลี่คลายลงระดับหนึ่ง ใน พ.ศ. 2205 และ 2206 ทรงแสดงราชานุภาพยกทัพไปตีเชียงใหม่ อังวะ-พม่า และมอญ-พุกาม จนเป็นที่ยำเกรงพระเดชานุภาพไม่กล้ามารุกราน

ที่มา khaosod

เครดิต :

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
คุณ : u1592274982
สถานะ : บุคคลทั่วไป
IP : 103.58.148.23

103.58.148.23,,host23.148.thvps.com ความคิดเห็นที่ 1 [อ้างอิง]
ขอขอบคุณสำหรับข้อมูล


[ วันเสาร์ ที่ 18 มีนาคม 2566 เวลา 01:40 น. ]
รวมข่าวในกระแส คลิ๊กเลย ++
กระทู้เด็ดน่าแชร์