ใครสงสารคนไข้มะเร็ง อ่านแล้วช่วยแชร์ต่อด้วย!!

ใครสงสารคนไข้มะเร็ง อ่านแล้วช่วยแชร์ต่อด้วย!!

วันนี้ (22 เม.ย.) ศ.นพ.นิธิ มหานนท์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ เปิดเผยผ่านเฟซบุ๊ก Nithi Mahanonda กล่าวถึงกรณีที่มีข่าวส่งต่อกันผ่านสื่อออนไลน์มาหลายปี เกี่ยวกับเครื่องเทอโมตรอน (Thermatron) กับโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ออกมาเป็นระยะ ทุกครั้งจะตรงเวลาประมาณที่เครื่องนี้จะต้องต่อสัญญาเช่ากับโรงพยาบาล แต่คราวนี้ถึงกับมีการส่งฝากข่าวลงในหนังสือพิมพ์รายวัน ทำให้เกิดความเดือดร้อน กับคนไข้มะเร็งและญาติที่หลงเชื่อข้อมูลทั้งหมด โดยแถลงการณ์ว่า

ใครสงสารคนไข้มะเร็งอ่านแล้วช่วยแชร์ต่อด้วยครับ........

ผมว่าจะไม่ให้ข่าวโต้แย้งกับข่าวที่ส่งต่อๆกันตามสื่อออนไลน์มาหลายปี ที่ผมไม่แน่ใจว่ามีประสงค์อย่างไรในการส่งต่อข้อมูลเรื่องเครื่อง Thermatron กับโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ออกมาเป็นระยะๆ ทุกๆครั้งจะตรงเวลาประมาณที่เครื่องนี้จะต้องต่อสัญญาเช่ากับโรงพยาบาล แต่คราวนี้ถึงกับมีการส่งฝากข่าวลงในหนังสือพิมพ์รายวัน ที่ทำให้เกิดความเดือดร้อน กับคนไข้มะเร็งและญาติที่หลงเชื่อข้อมูลทั้งหมดดังนั้น..........

เมื่อเกิดความเดือดร้อนกับคนไข้ที่เป็นทุกข์อยู่แล้ว ผมในฐานะผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ตัวจริงในปัจจุบัน(คนละคนกับที่ให้ข่าว และหนังสือพิมพ์นำไปลงข่าว โดยไม่สอบหาข้อเท็จจริงว่าใครเป็น ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ขณะนี้) 

จึงจำเป็นต้องชี้แจงดังนี้ครับ......

1)นายแพทย์ที่เป็นข่าวให้สัมภาษณ์ว่าเป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาภรณ์นั้น ได้พ้นจากหน้าที่ไปหลายปีแล้ว

2)เครื่องมือดังกล่าว ไม่ใช่ของโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ เครื่องนี้ถูกเช่าโดยผู้อำนวยการก่อนหน้านี้หลายปีมาแล้ว เพื่อมาใช้ในงานวิจัยเป็นหลัก

3)การให้ข้อมูลว่าเครื่องมือใดหรือยาใดรักษามะเร็งได้ทุกชนิดทุกระยะนั้น.....โกหกสิ้นดไม่มีจรรยาทั้งผู้ให้ข่าวและผู้กระจายข่าวผู้เสนอข่าว ผิดศีลผิดธรรม

4)ในฐานะผู้อำนวยการโรงพยาบาลที่ให้การบริบาลเรื่องมะเร็งเป็นหลัก ขอเรียนคนไข้และญาติคนไข้มะเร็งว่าอย่าหมดหวังหมดกำลังใจครับ การดูแลรักษามีหลายแบบหลายอย่าง ที่ต้องเลือกให้เหมาะสมแต่ละรายได้ เดี๋ยวนี้การรักษามะเร็ง การแพทย์ปัจจุบันทำให้คนไข้ทุกข์น้อยลงมีความสุขได้มากขึ้นได้ด้วยวิธีต่างๆนาๆ แต่ไม่ใช่พูดเหมาๆรวมๆแบบในข่าวว่ารักษาได้ทุกมะเร็งทุกระยะครับ มีสถานพยาบาลหมอและบุคลากรที่คอยให้การรักษาท่านที่มีเมตตาดูแลท่านอยู่อีกมากมาย ขออย่าเพียงหมดหวัง

5)ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเครื่องนี้ หมอคนใช้ให้ข้อมูลกันไว้ดังนี้ครับ.......
Hyperthermia เป็นการรักษาด้วยความร้อนโดยเครื่อง Thermotron RF-8 จะทำหน้าที่เป็นแหล่งกำเนิดความร้อนเพื่อทำให้ร่างกายมีอุณหภูมิเฉพาะที่สูงขึ้นกว่าอุณหภูมิร่างกายปกติ โดยได้มีการนำภาวะนี้มาใช้ร่วมในการรักษาโรคมะเร็ง อย่างไรก็ตามการรักษาด้วยความร้อนเพียงอย่างเดียวพบว่าให้ผลการรักษาที่ไม่ดีนัก ดังนั้น Thermotron RF-8 จึงไม่สามารถใช้เป็นการรักษาหลักเพียงอย่างเดียว แต่จะต้องใช้ร่วมกับการรักษาอื่นเช่น Chemotherapy หรือ Radiation Therapy เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา ดังนั้น ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถให้ Chemotherapy หรือ Radiation Therapy ได้ จึงไม่สามารถให้การรักษาด้วยความร้อนได้

ลักษณะความร้อนของเครื่อง Thermotron RF-8 เป็นการให้ความร้อนแบบทั่วๆ ในบริเวณที่วางแผ่นสร้างความร้อน เช่น การให้ความร้อนบริเวณช่องอก ช่องท้อง หรือ อุ้งเชิงกราน แต่ยังไม่สามารถให้ความร้อนแบบเฉพาะจุดที่เฉพาะเจาะจงกับก้อนเนื้องอกได้

โดยผลข้างเคียงจากการรักษาจะเกิดขึ้นตามบริเวณที่ให้ความร้อน ผลข้างเคียงที่พบได้แก่

1. มีอาการปวดบริเวณที่ให้ความร้อน (Subcutaneous pain)
2. Burn or Bleb (มีลักษณะคล้ายแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก หรือมีตุ่มน้ำ)
3. อาการเพลีย

ขณะให้การรักษา ผู้ป่วยจะต้องนอนนิ่งประมาณ 50 นาที ให้การรักษา 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์ (ถ้าเป็น 2 ครั้งต่อสัปดาห์แต่ละครั้งจะห่างกันอย่างน้อย 72 ชั่วโมง) การรักษาด้วยความร้อนจะเริ่มภายหลังจากที่ฉายรังสี หรือให้ยาเคมีบำบัดเสร็จประมาณ15-30นาที

ข้อห้ามและข้อควรระวัง

1. ผู้ป่วยที่ใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ(cardiac pacemaker or defibrillator implanted)ซึ่งอาจทำให้อุปกรณ์ทำงานผิดปกติ

2. ผู้ป่วยที่มีกายอุปกรณ์เทียมที่เป็นโลหะ(metal prosthesis)เช่น joint prosthesis หรือมีชิ้นส่วนที่เป็นโลหะฝังอยู่ในบริเวณที่ให้ความร้อน ซึ่งอาจจะทำให้บริเวณรอบๆโลหะเกิดความร้อนมากเกินไปได้ หรือเกิด burn ที่ผิวหนังได้

3. ผู้ป่วยที่มีการรับรู้ความเจ็บปวดในบริเวณที่ได้รับความร้อนไม่ปกติ เช่น ผู้ป่วยที่ได้รับยาชาเฉพาะที่

4. ไม่ใช้ในเนื้องอกที่อยู่ใกล้ตา หรือเนื้องอกที่สมอง

5. ผู้ป่วยที่ไม่สามารถให้ความร่วมมือได้(difficulty with communication)

6. ควรระวังในผู้ป่วยที่อ้วน หรือ มีชั้นไขมันหน้าท้องหนาในกรณีให้ความร้อนบริเวณดังกล่าว

มีหลักฐานการศึกษาที่ชัดเจนในกรณี
1. เนื้องอกที่อยู่ตื้น (superficial tumors) เช่น ก้อนต่อมน้ำเหลืองจากมะเร็งที่กระจายมา(Bulky cervical lymph nodes in head and neck cancer), มะเร็งเต้านมที่กลับมาใหม่(recurrent breast cancer )and มะเร็งผิวหนังบางชนิด(malignant melanoma)
2. เนื้องอกที่อยู่ลึก (deep tumors) เช่น มะเร็งปากมดลูก(CA cervix )and มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ(bladder cancer)

อย่างไรก็ตามเริ่มมีการศึกษามากขึ้นแต่ผลยังไม่ชัดเจนในมะเร็งที่อยู่บริเวณช่องอกและช่องท้อง (เช่น Lung cancer, Esophageal cancer, Gastric cancer, Pancreas cancer, Prostate cancer and Rectal cancer)

ย้ำอีกครั้งครับ .....
-ต้องใช้ร่วมกับวิธีอื่น
-ไม่สามารถรักษาได้ทุกมะเร็งทุกระยะ

นิธิ มหานนท์

ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาภรณ์
22เมษายน2560

แนะนำให้เข้ามาพบแพทย์เพื่อนำรายละเอีข้อมูลผู้ป่วยเข้ามาปรึกษาและเลือกแนวทางการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยที่สุด โดยสามารถเข้ามาติดต่อทำประวัติที่เวชระเบียนชั้น1 อาคารรพ.จุฬาภรณ์ หลักสี่ ได้ทุกวัน
จันทร์-ศุกร์ เวลา7.00-16.00น.หรือโทรสอบถามที่เบอร์ 02-576-6000

 


ใครสงสารคนไข้มะเร็ง อ่านแล้วช่วยแชร์ต่อด้วย!!


เครดิต :

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์