ลูกสาวเป็นแอสเพอร์เกอร์ ควรทำยังไงดี !?

ลูกสาวเป็นแอสเพอร์เกอร์ ควรทำยังไงดี !?


ลูกสาวเป็นแอสเพอร์เกอร์ ควรทำยังไงดี !?


ลูกสาวเป็นแอสเพอร์เกอร์ ควรทำยังไงดี !?


ลูกสาวเป็นแอสเพอร์เกอร์ ควรทำยังไงดี !?


ลูกสาวเป็นแอสเพอร์เกอร์ ควรทำยังไงดี !?


ลูกสาวเป็นแอสเพอร์เกอร์ ควรทำยังไงดี !?


ลูกสาวเป็นแอสเพอร์เกอร์ ควรทำยังไงดี !?


ลูกสาวเป็นแอสเพอร์เกอร์ ควรทำยังไงดี !?


อาการแอสเพอร์เกอร์ (Asperger Syndrome)

กลุ่มอาการแอสเพอร์เกอร์ (Asperger Syndrome) คือ กลุ่มอาการที่เกิดจากความผิดปกติทางการทำงานของระบบประสาท ที่จัดอยู่ในกลุ่มของโรคกลุ่มออทิสติค (Autistic spectrum disorders) ซึ่งเป็นกลุ่มอาการของโรคที่มีปัญหาทางด้านพฤติกรรม และพัฒนาการทางด้านการพูด เช่น โรคออติสติค (Autism) และพฤติกรรมแปลกอื่นๆ ที่มีลักษณะคล้ายออทิสติค อาการแสดงของแอสเพอร์เกอร์ มักจะเริ่มแสดงออกมาในช่วงเด็กอายุประมาณ 3 ขวบ และส่วนใหญ่ กว่าจะมีอาการต่างๆให้เห็นชัดเจนวินิจฉัยได้ ก็มักจะเป็นในช่วงอายุประมาณ 5-9 ปี

สาเหตุของการเกิดกลุ่มอาการแอสเพอร์เกอร์
ในปัจจุบันยังไม่ทราบว่า อะไรเป็นสาเหตุของกลุ่มอาการออทิสติค และกลุ่มอาการแอสเพอร์เกอร์ ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่า น่าจะมีหลายปัจจัยร่วมกัน ทั้งพันธุกรรม และสิ่งแวดล้อม แต่ก็ยังไม่สามารถสรุปได้แน่ชัด อาจพบร่วมกับโรคทางจิตประสาทอื่นๆ ด้วย เช่น โรคซึมเศร้า หรือ โรคจิตบางประเภท เนื่องจากเด็กเหล่านี้ อาจมีพฤติกรรมที่แปลกๆ บางครั้งดูหยาบคาย ไม่เหมาะสม ทำให้เคยมีการเข้าใจผิดว่า ปัญหาเหล่านี้เกิดจากการเลี้ยงดูที่ไม่ถูกต้องเช่น การขาดความรักความอบอุ่นในครอบครัว หรือขาดการอบรมสั่งสอนที่ถูกต้องจากพ่อแม่ แต่จากการศึกษาดูครอบครัวของเด็กเหล่านี้กลับพบว่า ส่วนใหญ่ได้รับความรักเอาใจใส่ จากพ่อแม่เป็นอย่างดี และมีการเลี้ยงดูที่ถูกต้องเหมาะสม ดังนั้นปัญหาที่เกิดขึ้นจึงไม่ใช่มาจากกเลี้ยงดูที่ผิดของพ่อแม่ แต่เป็นจากปัญหาด้านการทำงานที่ผิดปกติของสมอง ที่ยังไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจนว่า ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น

อาการแสดงที่เป็นลักษณะของแอสเพอร์เกอร์
- มีปัญหาในการเข้าสังคมกับคนอื่นๆ ไม่ค่อยมีปฎิสัมพันธ์กับผู้อื่น
- มีความหมกมุ่นอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เหมือนเป็นแบบย้ำคิดย้ำทำ
- มีลักษณะการพูดที่แปลกๆ รวมทั้งพฤติกรรมบางอย่างที่แปลกไปจากธรรมดา
- มักจะไม่ค่อยมีสีหน้าที่แสดงอารมณ์ต่างๆ เท่าไรนัก และมักจะมีปัญหาในการอ่านใจ และภาษาท่าทางของคนอื่นๆ ที่ตนเองสนทนาด้วย
- บางรายจะมีความไวต่อสิ่งเร้า ที่มาจากภายนอกค่อนข้างมากกว่าคนทั่วไป เช่น อาจจะรู้สึกรำคาญหงุดหงิดกับแสงไฟเล็กๆ บนเพดาน
- การพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหว และกล้ามเนื้อ ค่อนข้างช้า หรือไม่คล่องตัวเหมือนเด็กทั่วไป
-ไม่ค่อยมีความเห็นอกเห็นใจ หรือมีอารมณ์ร่วมกับคนอื่นๆ ทำให้มีปัญหาในการปฎิสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน และคนรอบข้าง

ปัจจุบันยังไม่มียาใดที่จะใช้รักษาอาการเหล่านี้ ให้หายเป็นปกติได้ แต่พบว่า เด็กเหล่านี้ส่วนใหญ่เมื่อได้รับการวินิจฉัยโรคที่ถูกต้อง และให้ความรู้ความเข้าใจ และ คำแนะนำแก่พ่อแม่รวมทั้งทางโรงเรียนในการปรับตัว และปรับพฤติกรรมของเด็ก ก็สามารถช่วยให้เด็กเหล่านี้ อยู่ร่วมในสังคมกับผู้อื่นได้

 

 

Cr.pantip & feelmom


เครดิต :

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์