ที่มาของแนวคิด ญี่ปุ่นในพิธีปิด Rio 2016 มันคือ หนึ่งในแผนการแก้ไขปรับโครงสร้างเศรษฐกิจที่โด่งดังไปทั่วโลกในพริบตา
การรับไม้ต่อจากบราซิลเพื่อไปดำเนินการเป็นเจ้าภาพโอลิมปิคเกมส์ในปี 2020 ของญี่ปุ่นที่เราเห็นกันในพิธีปิด Rio 2016 เริ่มต้นจากการใช้คลิปวิดีโอเปิดภาพที่ Shibuya จากนั้นทุกอย่างก็ดำเนินมาถึงการส่งลูกบอลสีแดงจากนักกีฬาทีละคนมาจนถึงนายกรัฐมนตรี ชินโสะ อาเบะ ที่มีหน้าที่ที่จะนำลูกบอลสีแดงใบนี้ไปยังพิธีปิดให้ทันเวลา เพื่อให้ไปทันเวลาเค้าต้องเดินทางไปด้วยท่อระบายน้ำในบทบาทของช่างประปา Mario ด้วยความช่วยเหลือของ Doraemon ให้ทะลุโลกไปโผล่ที่ Rio de Janeiro ให้ทันการญี่ปุ่นใช้แนวคิดน่ารักๆแบบนี้ทำไม ทำไมไม่ใช้ไอเดียอย่างอื่นที่เป็นสัญญลักษณ์ทางวัฒนธรรมยิ่งใหญ่นับพันปีของญี่ปุ่นที่มีมากมาย แต่กลับมานำเอาเรื่องราวของ Anime Manga และ Game มาใช้
เพราะเค้าต้องการปูพื้นฐานเศรษฐกิจใหม่ครับ ญี่ปุ่นเรียกแผนการใหญ่นี้ว่า The Cool Japan เรื่องราวเป็นอย่างไร มาดูย่อๆกันครับ ก่อนที่จะไปอ่านแผนการในรายละเอียดจากลิงค์ข้างล่าง
มีเอกสารอันนึงออกมาโดยกระทรวงพาณิชย์ การค้าและอุตสาหกรรมของประเทศญี่ปุ่นลงวันที่ไว้ในปี 2012 ระบุยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจที่ถดถอยของญี่ปุ่นมาตลอดกว่าสิบๆปี และ ปัญหานี้กำลังเข้าสู่วงจรที่จะกินหางตัวเองไปไม่จบ เพราะ เมื่อญี่ปุ่นมีค่าเงินเยนที่แข็งตัวขึ้น อุตสาหกรรมต่างๆก็หนีไปตั้งโรงงานกันนอกประเทศ กำลังจะส่งผลให้คนงานญี่ปุ่นตกงานกันระนาวอย่างน้อยๆก็ห้าหกแสนคน ประกอบกับประเทศญี่ปุ่นมีอัตราการเกิดติดลบ อนาคตก็จะไม่มีคนทำงานมีแต่คนแก่ทั่วประเทศ แถมคนที่เกิดมาแล้วหนุ่มๆสาวๆก็จะไม่มีงานทำเสียอีก
สิ่งที่ต้องทำคือ จะต้องหาอะไรสักอย่างที่ทำโดยคนหนุ่มสาวญี่ปุ่น คนรุ่นใหม่ ทำกันได้ที่ประเทศญี่ปุ่น ไม่ต้องไปตั้งโรงงานกันที่ไหน ทำมันในญี่ปุ่นนี่แหละ คนจะได้มีงานทำ
ญี่ปุ่นมองไปมองมาแล้วพบว่า เฮ้ย ญี่ปุ่นมีอะไรอย่างนึง นั่นคือ ความเป็นญี่ปุ่นที่ไม่มีใครลอกเลียนแบบได้ ซึ่งเกิดมาจากรากเหง้าทางวัฒนธรรมของญี่ปุ่นเท่านั้น คนอื่นไม่มี อันได้แก่ Anime/Manga , Food, Delivery Service, Traditional Hotel (Ryokan) และสุดท้ายคือ Traditional Art and Craft (เอกสารประกอบหน้า 4)
เค้าเรียก 5 หัวข้อทั้งหมดที่คนทั้งโลกชื่นชอบว่า Cool Japan เพราะ The World Love Cool Japan ในเอกสารระบุว่า รายได้จากอุตสาหกรรมทั้ง 5 ประเภทนี้ ทำเงินให้ญี่ปุ่นได้มากพอๆกับ อุตสาหกรรมรถยนต์ของญี่ปุ่นเลยทีเดียว
ทีนี้ถ้า 5 สิ่งเหล่านี้มันเป็นสิ่งที่คนทั้งโลกชอบ ลอกเลียนกันไม่ได้ ยอดขายก็เยอะ แถมไม่ต้องไปตั้งโรงงานนอกประเทศ ก็เอาไอ้ 5 หัวเรื่องนี่แหละ สร้างเป็น Growth Engine ใหม่ให้กับประเทศเสียเลย โดย Anime และ Manga ที่หมายรวมไปถึง Game แม้กระทั่ง Pokemon ก็เป็นหนึ่งในนั้นด้วย
จากนั้นญี่ปุ่นก็จะวางยุทธศาสตร์ของประเทศห้อมล้อม 5 วงการนี้เอาไว้
ดังนั้นภาพลักษณ์ของประเทศจึงถูกวางไว้เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไปในทางนี้
แล้วโอกาสไหนล่ะที่คนทั้งโลกจะมองเห็นภาพลักษณ์ข้อนี้ของญี่ปุ่น แน่นอนครับ พิธีปิด Rio 2016 และ พิธีเปิด Tokyo 2020 และเรื่องราวการประชาสัมพันธ์จากวันนี้ไปจนถึงวัน Olympic Games Tokyo 2020 คือโอกาสสำคัญในการสร้างภาพลักษณ์ของประเทศไปในทางที่จะเอื้อต่อการสร้างเศรษฐกิจให้ญี่ปุ่นในระยะยาว แม้กระทั่งคนระดับนายกรัฐมนตรีก็ต้องมาร่วมเล่นกะเค้าด้วย เพราะ มันไม่ใช่เรื่องขำๆน่ารักๆ มันคืออนาคตของประเทศ
ดังนั้น เดาไม่ยากว่า Pokemon Go คงเป็นหนึ่งในแผนการย่อยอันนี้ด้วยเช่นกัน ญี่ปุ่นนี่มันญี่ปุ่นจริงๆนะครับ
อ่านรายละเอียดได้ที่นี่ครับ http://www.meti.go.jp/.../creative_industr.../pdf/120116_01a.pdf
ที่มาจาก:: FB