ภาวะเตี้ย หรือ คนแคระ (DWARFISM) ไม่ได้เกิดจากการขาดโกรทฮอร์โมนเสมอไป บางครั้งโกรทฮอร์โมน ในกระแสเลือดปกติ แต่ตัวรับสัญญาณไม่ตอบสนองต่อโกรทฮอร์โมน ซึ่งมักอาจเกิดจากการผ่าเหล่า(mutation)ของยีนของตัวรับสัญญาณ ทำให้โกรทฮอร์โมนทำงานไม่ได้ เรียกการเตี้ยแคระแบบนี้ว่า "การเตี้ยแคระแบบลาร์สัน" หรือ การไม่ตอบสนองต่อโกรทฮอร์โมน (Larson dwarfism หรือ growth hormone insensitivity)
คู่รัก “คนแคระ” ตกลงใจแต่งงานกัน และเมื่อพวกเขาตัดสินใจ “มีลูก” พวกเขากลับทำสิ่งที่คาดไม่ถึง!!
ส่วนใหญ่สาเหตุของโรค Dwarfism เกิดจากโรค Achondroplasia กระดูกเติบโตอย่างผิดปกติ ซึ่งเป็นถึง70%ของ ผู้ป่วยโรค Dwarfism แต่ในกรณีของโรค Achondroplasia จะมีรูปร่างที่ไม่สมสัดส่วน ช่วงแขนหรือขาจะดูสั้นๆเล็กๆ เมื่อเทียบกับลำตัว (บริเวณท้อง) โดยมีหัวขนาดใหญ่กว่าปกติและใบหน้าที่มีลักษณะพิเศษ หากร่างกายเกิดความไม่สมส่วน มักจะเกิดจากหนึ่งหรือมากกว่าหนึ่งยีนที่ควบคุมลักษณะหรือความผิดปกติในการพัฒนากระดูกอ่อน การที่ร่างการมนุษย์เกิดการผิดปกติอย่างมาก มักจะมีสาเหตุเกี่ยวกับ ฮอร์โมน เช่น การเจริญเติบโตฮอร์โมนบกพร่องซึ่งรู้จักกันในชื่อของ "Pituitary Dwarfism" ซึ่งการเติบโตที่ผิดปกตินี้เกี่ยวกับระบบต่อมไร้ท่อ เกิดจากการทำงานที่ผิดปกติของ Growth Hormone จากแหล่งที่ผลิตฮอร์โมนชนิดนี้ คือ ต่อม พิธูอิตารี่ ส่วนหน้า หรือเรียกอีกอย่างว่า "ต่อมใต้สมองส่วนหน้า"
สำนักข่าวต่างประเทศได้รายงานเรื่องราวของสองสามีภรรยาที่มี โรคภาวะเตี้ย หรือ คนแคระ ที่ไม่แคร์สายตาของคนอื่น แต่งงานอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข สามีของเขาไม่สบายบ่อยๆในวัยเด็กทำให้ตัวไม่สูง ผู้คนเพื่อนฝูงต่างพากันหัวเราะเย้าะ จนได้มาพบกับภรรยาคนนี้ พวกเขามีประสบการณ์ที่เหมือนกันทำให้ต่างเข้าใจและเห็นใจซึ่งกันและกันมากขึ้น ทำให้พวกเขาเข้ากันได้ดี และมีความสุขในชีวิตคู่มาก
หลังจากที่ภรรยาคลอดลูกคนแรก หมอบอกว่าฮอร์โมนเพศและฮอร์โมนอื่นๆ ของลูกไม่ได้ส่งผลกระทบต่อพัฒนาการในการเจริญเติบโต ตราบใดที่พัฒนาการทางเพศของผู้ป่วยเป็นผู้ใหญ่เต็มวัย ก็สามารถตั้งครรภ์ได้ตามปกติ แต่โรคของพ่อแม่นั้นอาจถูกถ่ายทอดสู่ทารกในครรภ์ได้ เพราะฉะนั้นแล้วพ่อและแม่ควรมีวิธีป้องกันไว้ล่วงหน้าสำหรับลูกๆในอนาคต ลูกของพวกเขาหัวกลมๆ รูปร่างอาจดูแปลกไปนิดหน่อย แต่โชคดีที่ผลตรวจลักษณะทางกายภาพของทารกนั้นปกติดี
ที่มา : kchiwit.com