รู้หรือไม่เผย 4 สิ่งที่ถูกยกเลิกไป!! จะไม่ได้เห็นในงานพระบรมศพ “ในหลวงรัชกาลที่ ๙”

รู้หรือไม่เผย 4 สิ่งที่ถูกยกเลิกไป!! จะไม่ได้เห็นในงานพระบรมศพ “ในหลวงรัชกาลที่ ๙”

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหาราช เสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ.2559 อันนำมาซึ่งความโศกเศร้าอย่างใหญ่หลวงของปวงชนชาวไทย พระราชพิธีพระบรมศพของพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรีนั้น รับเอาแบบอย่างมาจากสมัยอยุธยาตอนปลาย หมายถึงการจัดงานอย่างยิ่งใหญ่ ถือเป็นพระราชพิธีที่มีความสำคัญเทียบเท่ากับพระราชพิธีบรมราชาภิเษกหรืออาจจะยิ่งกว่า มหากษัตริย์หลายพระองค์ได้ทรงเปลี่ยนแปลงยกเลิกหลายธรรมเนียมในการพระราชพิธีพระบรมศพไป ด้วยเหตุว่าธรรมเนียมนั้นหมดความจำเป็นหรือถูกมองว่า "ล้าสมัย" นั่นเอง และ 4 สิ่งที่หายไปจากงานพระบรมศพยุคใหม่ มีดังต่อไปนี้

1. โกนหัวไว้ทุกข์

เป็นธรรมเนียมตั้งแต่ในยุคสมัยอยุธยา เชื่อกันว่าสืบทอดมาจากธรรมเนียมประเพณีของอินเดียอีกที ที่ประชาชนจะโกนศีรษะไว้ทุกข์เมื่อญาติผู้ใหญ่หรือมูลนายของตนเสียชีวิต เมื่อพระมหากษัตริย์สวรรคต จึงเป็นหน้าที่ของทุกคนที่ต้องโกนผมไว้ทุกข์ เว้นแต่จะมีพระบรมราชโองการให้เป็นอื่น อาทิเช่น ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.4) ทรงประกาศให้ราษฎรไม่ต้องโกนศีรษะ เพื่อไว้ทุกข์ให้พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระอนุชาของ ร.4)

แต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.5) ทรงมีพระราชปรารภว่า ควรให้ราษฎรเลิกโกนศีรษะเพื่อไว้ทุกข์ เนื่องจากเป็นการยากลำบากเกินไป ในการพระราชพิธีพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.5) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.6) จึงทรงให้ยกเลิกการโกนศีรษะไว้ทุกข์ ธรรมเนียมนี้จึงสูญหายไปโดยปริยายนับแต่นั้นเป็นต้นมา

2. นุ่งขาว นุ่งน้ำเงิน

ธรรมเนียมการแต่งกายไว้ทุกข์ด้วยสีดำ เป็นสิ่งที่ไทยรับมาจากตะวันตก เดิมสีไว้ทุกข์ของไทยไม่ใช่สีดำเพียงสีเดียว แต่มีรายละเอียดสลับซับซ้อนมาก สีจะบ่งบอกถึงสถานะและความสัมพันธ์ระหว่างผู้เสียชีวิตและผู้แต่งกาย ได้แก่

- สีดำ สำหรับผู้ที่แก่กว่าหรือมีศักดิ์สูงกว่าผู้ตาย

- สีขาว สำหรับผู้ที่อ่อนกว่าหรือมีศักดิ์ต่ำกว่าผู้ตาย

- สีม่วงแก่หรือสีน้ำเงิน สำหรับผู้ที่ไม่ได้เป็นญาติเกี่ยวดองกับผู้ตาย

ในการพระราชพิธีพระบรมศพพระมหากษัตริย์ ผู้ที่มีศักดิ์สูงสุดในแผ่นดิน ราษฎรจะต้องนุ่งขาวห่มขาวทั้งหมดเพื่อไว้ทุกข์ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดให้ตัดความยุ่งยาก โดยเหลือเพียงสีขาวและสีดำในการไว้ทุกข์เท่านั้น แต่การไว้ทุกข์ให้พระมหากษัตริย์ยังคงใช้สีขาว ปัจจุบันการแต่งกายไว้ทุกข์ของไทยเป็นไปตามธรรมเนียมสากลแบบตะวันตกคือ เน้นสีดำและสีขาวดำมากกว่าขาวล้วนเหมือนในอดีต และนอกจากนี้สีน้ำเงินยังไม่ได้รับการยอมรับว่าเป็นสีไว้ทุกข์อย่างเป็นทางการอีกด้วย

3. นางร้องไห้

นางร้องไห้ เป็นธรรมเนียมเก่าแก่ที่ยึดถือปฏิบัติมานานตั้งแต่สมัยโบราณ พบได้แทบทุกวัฒนธรรมทั่วโลก อาทิ ประเทศจีน อินเดีย มอญ กรีก โรมัน ออสเตรเลีย และไทย ราชสำนักไทยมีธรรมเนียมนางร้องไห้เฉพาะในงานพระบรมศพของราชวงศ์ชั้นสูง สำหรับพระมหากษัตริย์ จะมีท้าวนาง เจ้าจอม หรือนางข้าหลวงที่เสียงดีและหน้าตาสวยงาม ได้รับคัดเลือกให้เป็นนางร้องไห้กล่อมพระเมรุ

เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับ ลดาวัลย์ ในรัชกาลที่ 5 เป็นนางร้องไห้ชุดสุดท้ายในรัตนโกสินทร์ ... คุณจอมบรรยายไว้ว่า ได้เป็น 1 ใน 4 ต้นเสียงนางร้องไห้ในงานพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีลูกคู่อีก 80-100 คน การร้องจะร้องเป็นเพลง มีเนื้อ 5 บท ในเวลาประโคมย่ำยาม คือ ย่ำรุ่ง เที่ยง ย่ำค่ำ ยาม สองยาม สามยาม มีเนื้อร้องดังนี้

พระร่มโพธิ์ทอง พระพุทธเจ้าข้าเอย ...

พระทูนกระหม่อมแก้ว พระพุทธเจ้าข้าเอย ...

... พระเสด็จไปสู่สวรรค์ชั้นใด ละข้าพระบาทยุคลไว้ พระพุทธเจ้าข้าเอย ..

... พระทูนกระหม่อมแก้ว พระพุทธเจ้าข้าเอย ..

พระยอดพระฟ้าสุเมรุทอง พระพุทธเจ้าข้าเอย ..

พระทูนกระหม่อมแก้ว พระพุทธเจ้าข้าเอย ...

พระเสด็จผ่านพิภพแห่งใด ข้าพระบาทจะตามเสด็จไป พระพุทธเจ้าข้าเอย ..

... พระทูนกระหม่อมแก้ว พระพุทธเจ้าข้าเอย ..

พระทูนกระหม่อมแก้ว พระพุทธเจ้าข้าเอย ..

... พระทูนกระหม่อมแก้ว พระพุทธเจ้าข้าเอย ..


แต่ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงบันทึกไว้ในหนังสือประวัติต้นรัชกาลที่ 6 เกี่ยวกับนางร้องไห้ว่า "ให้รู้สึกรกหูเสียจริงๆ และร้องซ้ำไปซ้ำมา ไม่เป็นการร้องไห้จริงๆ กับทั้งยังส่งเสียงรบกวนเวลาที่พระกำลังถวายพระธรรมเทศนา" รวมไปถึงทรงไม่พอพระทัยความประพฤติของผู้ที่ไปฟังและตัวของนางร้องไห้เอง ที่แสดงกิริยาขาดความเคารพในกาลเทศะ เหมือนไปสโมสรกันมากกว่าจะสำรวมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ รัชกาลที่ 6 ได้ทรงบันทึกไว้อย่างชัดเจนว่าเมื่อ "ถึงงานศพฉันขออย่าให้มีนางร้องไห้เลย" เมื่อสวรรคต ธรรมเนียมนางร้องไห้จึงถูกยกเลิกไปโดยปริยาย ..

4. การถวายรูด-ถวายพระเพลิงพระบุพโพกลางแจ้ง

การจัดการพระบรมศพให้สมพระเกียรติสมัยก่อนเป็นเรื่องยากลำบาก เพราะวิทยาการการแพทย์และการเผาศพยังไม่ทันสมัย การออกพระเมรุจะกระทำได้เฉพาะในหน้าแล้ง หากสวรรคตในหน้าฝน จะต้องเก็บพระบรมศพไว้นาน ในเมื่อสมัยก่อนไม่มีน้ำยารักษาสภาพศพ การจัดการพระบรมศพให้สมพระเกียรติจึงมีขั้นตอนซับซ้อน ต้องมีการสุมเครื่องหอมดับกลิ่นพระบุพโพ (น้ำเหลืองน้ำหนอง) ตลอดงาน และต้องเจาะช่องบรรจุถ้ำเก็บพระบุพโพใต้ฐานพระโกศที่ประดิษฐานพระบรมศพ และมีมหาดเล็กคอยเทพระบุพโพตลอดเวลา เมื่อถึงเวลาถวายพระเพลิง ก็ต้องเคี่ยวพระบุพโพในกะทะใบบัว แยกกับการถวายพระเพลิงบนพระเมรุ เป็นที่เล่าขานกันว่ากลิ่นการถวายพระเพลิงพระบุพโพนั้น เหม็นอย่างร้ายกาจ

ต่อมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงยกเลิกการถวายพระเพลิงพระบุพโพกลางแจ้งด้วยวิธีการเคี่ยว เนื่องจากดูไม่มีอารยะ โดยเปลี่ยนเป็นการนำพระบุพโพของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวบรรจุในลองเหล็กกล้า ประดิษฐานใต้พระพุทธชินราชจำลองในวัดเบญจมบพิธแทน หลังจากนั้นก็ไม่มีการถวายพระเพลิงพระบุพโพกลางแจ้งอีก แต่ใช้วิธีเผาในเตาเผาแบบสมัยใหม่

เช่นเดียวกับการถวายรูด ซึ่งหมายถึงการสำรอกเนื้อหนังมังสา เส้นเอ็นจากกระดูกโดยการต้มเคี่ยว เพื่อ "ชำระ" เตรียมการถวายพระเพลิงพระบรมศพ ก่อนจะนำสิ่งที่ชำระ พร้อมกับผ้าพันพระบรมศพไปรวมถวายพระเพลิงพระบุพโพ อันเนื่องจากสมัยก่อนไม่มียารักษาศพ ปัจจุบันไม่มีธรรมเนียมนี้อีกต่อไป เพราะมีการฉีดฟอร์มาลีน ทำให้พระมังสาแห้งติดกับพระบรมอัฐิ มีสภาพสมบูรณ์ ไม่ต้องชำระ การถวายรูดครั้งสุดท้าย มีในงานพระราชพิธีพระบรมศพสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า

 


รู้หรือไม่เผย 4 สิ่งที่ถูกยกเลิกไป!! จะไม่ได้เห็นในงานพระบรมศพ “ในหลวงรัชกาลที่ ๙”


เครดิต :

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
คุณ : u1375165270
สถานะ : บุคคลทั่วไป
IP : 103.58.148.23

103.58.148.23,,host23.148.thvps.com ความคิดเห็นที่ 1 [อ้างอิง]
ขอขอบคุณสำหรับข้อมูล


[ วันเสาร์ ที่ 18 มีนาคม 2566 เวลา 01:38 น. ]
ตามข่าวteenee.com จาก LineToday เข้าไปคลิ๊กกดติดตามได้เลย
กระทู้เด็ดน่าแชร์