พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีประกาศ พระบรมราชโองการสร้างทางรถไฟสยาม ตั้งแต่ กรุงเทพฯถึงเมืองนครราชสีมา ลงวันที่ 1 มีนาคม ร.ศ.109 ตรงกับพุทธศักราช 2433 เดือนตุลาคม 2433 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ก่อตั้งกรมรถไฟขึ้น สังกัดกระทรวงโยธาธิการ มีพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนนริศรานุวัติวงศ์ ทรงเป็นเสนาบดี และนาย เค. เบ็ทเก ( K. Bethge ) ชาวเยอรมัน เป็นเจ้ากรมรถไฟ
วันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ.2443 รัชกาลที่ 5 เสด็จทรงเปิดทางรถไฟสายแรกของสยาม
เปิดประมูลสร้างทางรถไฟสายกรุงเทพ-นครราชสีมา เป็นสายแรก ณ ที่ทำการรถไฟกรุงเทพ มิสเตอร์ จี มูเร แคมป์เบล แห่งอังกฤษ เป็นผู้ค้ำประกันประมูลได้ในราคาต่ำสุด โดยเสนอราคาเป็นเงิน 9,956,164 บาท
ปีพ.ศ.2439 การก่อสร้างทางรถไฟสาย กรุงเทพฯ-นครราชสีมา สำเร็จบางส่วนพอที่จะเปิดการเดินรถได้ ในวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ.2439 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพระราชพิธีเปิดการเดินรถไฟระหว่าง สถานีกรุงเทพ-อยุธยา ระยะทาง 71 กิโลเมตร และเปิดให้ประชาชนเดินทางไปมาระหว่าง กรุงเทพ-อยุธยา ได้ตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม พ.ศ.2439 เป็นต้นไป ระยะแรกเดินขบวนรถขึ้นล่องวันละ 4 ขบวน มีสถานีรวม 9 สถานี คือ สถานีกรุงเทพ, บางซื่อ, หลักสี่, หลักหก, คลองรังสิต, เชียงราก, เชียงรากน้อย, บางปะอิน และกรุงเก่า
จากนั้นได้เปิดการเดินรถต่อไปอีกเป็นระยะๆ จากอยุธยา ถึง แก่งคอย, มวกเหล็ก, ปากช่อง
เมื่อการก่อสร้างทางรถไฟสายแรกสำเร็จลงตามพระราชประสงค์แล้ว ทรงพิจารณาสร้างทางรถไฟสายอื่นๆต่อไป
ที่มา : ข่าวสด