ในพระราชบัญญัติธง พุทธศักราช ๒๔๗๙ มาตรา ๑๗-๒๐ บทบังคับทั่วไปได้กล่าวถึงระเบียบการชักธงชาติและข้อควรปฏิบัติต่อธงชาติ และในบทกำหนดโทษท้ายพระราชบัญญัติในมาตรา ๒๑-๒๓ ก็ได้กำหนดโทษของผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับมีทั้งปรับเป็นเงิน จำคุก หรือทั้งปรับทั้งจำ หนักเบาแล้วแต่ความผิดที่ได้กระทำ
ต่อมาได้มีระเบียบการชัดธงชาติออกบังคับใช้ตามลำดับ คือ
หมวด การทำความเคารพในขณะชักธงชาติ
๑. ทหาร ให้ปฏิบัติตามระเบียบและข้อบังคับของทหาร
๒. ให้ปฏิบัติตามระเบียบที่กระทรวงศึกษาธิการวางไว้ ดังนี้
(๑) การชักธงชาติขึ้นสู่เสาของสถานศึกษา ให้เชิญธงชาติขึ้นสู่เสาเวลา ๘.๐๐ นาฬิกา หรือเวลาเข้าเรียนในตอนเช้า ตามความเหมาะสม ส่วนการลดธงลงในตอนเย็น ให้ลดธงลงในเวลา ๑๘.๐๐ นาฬิกา
(๒) ให้นักเรียนร้องเพลงชาติในขณะชักธงชาติขึ้นสู่เสาด้วยตนเอง ห้ามใช้วิทยุหรือแผ่นเสียง แต่ถ้าสถานศึกษาจะใช้แตรวงบรรเลงประกอบการร้องของนักเรียนด้วยก็ให้กระทำได้
(๓) สำหรับการลดธงลงในตอนเย็นให้ฟังเสียงเพลงชาติจากสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย และให้จัดครูเวรสองคนแต่งกายแบบสุภาพเป็นผู้ลดธงลง
(๔) สำหรับการเชิญธงชาติขึ้นสู่เสาเฉพาะภายในกระทรวงศึกษาธิการ จะมีการชักธงชาติเวลา ๘.๐๐ นาฬิกา โยสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการจะจัดเวรข้าราชการรับผิดชอบการชักธงเป็นประจำ ข้าราชการดังกล่าวขอให้แต่งกายสุภาพ และข้าราชการที่ได้ยินเสียงร้องเพลงชาติ หรือได้เห็นการชักธงชาติจะต้องหยุดทำความเคารพด้วย แม้กำลังนั่งอยู่ในรถก็ตาม การชักธงลงในตอนเย็นใช้เวลา ๑๘.๐๐ นาฬิกา
สำหรับกรมพละศึกษาและกรมศิลปากร ให้ดำเนินการเช่นเดียวกัน(1)
๓. บุคคลนอกจากที่กล่าวไว้ในข้อ ๑ และ ๒ ที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงที่ชักธง หรือเห็นหรือได้ยินสัญญาณการชักธง ให้แสดงความเคารพตามระเบียบการเคารพประเพณีนิยม จนเสร็จการชักธงชาติ
บทกำหนดโทษ
๑.ผู้ใดกระทำการฝ่าฝืนบทบัญญัติในข้อบังคับ ๑-๕ ผู้นั้นมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน ๕๐๐ บาท จำคุกไม่เกิน ๓ เดือน หรือทั้งปรับทั้งจำ
๒.ผู้ใดชักธงชาติหรือแสดงธงอย่างในอย่างหนึ่งในพระราชบัญญัติ โดยไม่มีสิทธิ ผู้นั้นมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน ๕๐๐ บาท จำคุกไม่เกิน ๒ เดือน หรือทั้งปรับทั้งจำ
๓.ผู้ใดกระทำการฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งข้อ ๗ ผู้นั้นมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน ๒๐๐ บาท หรือจำคุกไม่เกิน ๑ เดือน หรือทั้งปรับทั้งจำ