"จุก" เวลาพูดถึงเด็กไทยสมัยโบราณ คิดว่าภาพแรกที่แว่บเข้ามาในหัว คือเด็กน้อยมีผมจุกอยู่กลางหัว วิ่งเล่นขี้ม้าก้านกล้วยใต้ถุนบ้าน ครื้นเครงกันไป ต่อไปนี้คือเรื่องของ "จุก" การไว้จุกของเด็กไทยโบราณนี้เกิดขึ้นจากความเชื่อของคนในสมัยก่อนที่ว่า เด็กที่เจ็บออดๆ แอดๆ หรือเลี้ยงยาก ถ้าไว้ผมจุก ผมเปียจะหายเจ็บไข้ได้ป่วย กลับมาแข็งแรง เลี้ยงง่าย และ สันนิษฐานว่าน่าจะมาจากคติของพราหมณ์ที่ว่าบรรดาเทพเจ้านั้นมักจะเกล้าผมขึ้นไว้กลางศีรษะ วิธีการทำผมจุกในสมัยโบราณที่ไม่มีเจล มูส หรืออะไรต่างๆที่ทำให้ผมคงรูปนั้น
ความเชื่อของ พราหมณ์ ที่ว่า เด็กไทย สมัยก่อนต้องไว้ผมจุก
ขั้นแรกก็จะจัดการเอาขี้ผึ้งใส่ผมให้ผมเป็นรูป จัดง่ายเสียก่อน จากนั้นจึงปั้นให้เป็นกลมๆขมวดไว้ แล้วใช้ปิ่นปักหรือสวมพวงมาลัย ถ้ามีผมขึ้นโดยรอบที่ไว้จุก ก็ต้องจัดการกันไรผมให้เรียบร้อยด้วย ถ้าเด็กวิ่งเล่นซะจนจุกที่ขมวดไว้หลุด ก็ต้องมาเกล้าจุกใหม่
เมื่อถึงวัยที่เด็กจะโตเป็นหนุ่มหรือเป็นสาว ก็จะจัดการโกนจุก โดยรายละเอียดพิธีก็จะมีความอลังการต่างไปตามฐานะ ถ้าเป็นเจ้านายชั้นสูงก็จะต้องจัดพระราชพิธีโสกันต์ สร้างเขาไกรลาสขนาดใหญ่โต จัดพิธีสามวันอย่างครึกครื้น ถ้าเป็นหม่อมเจ้าก็ไม่ต้องมีเขาไกรลาศ เรียกว่าเกศากันต์ ส่วนถ้าเป็นสามัญชนก็อาจจะมีทำบุญเลี้ยงพระ ตามที่เราเห็นแม่พลอยแม่ช้อยในเรื่องสี่แผ่นดินการไว้จุกเริ่มเสื่อมความนิยมลงในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 และเมื่อเจ้านายไม่ทรงไว้จุกแล้ว บรรดาพระราชพิธีที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของจุกก็ถูกยกเลิกไปโดยปริยาย
ที่มา : จับเข่าเล่าประวัติศาสตร์
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!