พระนางศุภยาลัต ประสูติ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2402 สิ้นพระชนม์ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 พระราชินีองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์อลองพญา ประสูติแด่พระเจ้ามินดง กับพระนางชินพยูมาชิน (Hsinbyumashin ; นางพญาช้างขาว) หรือที่รู้จักกันในนามพระนางอเลนันดอ ด้วยความทะเยอทะยานของพระนางศุภยาลัต พระองค์จึงได้เป็นพระราชินีในพระเจ้าธีบอกษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งพม่า
พระประวัติ
พระ นางศุภยลัต เป็นราชบุตรีของพระเจ้ามินดง กับมเหสีรองคือพระนางอเลนันดอ พระนางศุภยาลัตมีพระเชษฐภคินีคือ พระนางศุภยาคยี และมีพระขนิษฐาคือเจ้าหญิงศุภยากเล อุปนิสัยของพระนางศุภยลัตมี ลักษณะเหมือนพระราชมารดา คือ มีความทะเยอทะยาน เจ้ากลอุบาย ใจร้าย ขี้หึง อาจเป็นเพราะเชื้อสายดั้งเดิมเนื่องจากยายของพระนางเป็นแม่ค้าขายของในตลาด มาก่อน ซึ่งมีนิสัยที่มิใช่กุลสตรีในวังหลวง โดยพระเจ้าบาจีดอ (พระเจ้าจักกายแมง) เก็บเอามาเป็นนางสนมตั้งแต่ครั้งพระเจ้าบาจีดอยังดำรงพระยศเป็นเจ้าชาย พระ เจ้ามินดง พระราชบิดาของพระนาง มีเจ้าฟ้านยองยาน กับเจ้าฟ้านยองโอ๊กที่พอจะมีความสามารถขึ้นครองราชย์ เพราะทั้งสองพระองค์เรียนจบโรงเรียนฝรั่ง มีความฉลาดและเข้มแข็งพอสมควรแต่ พระนางอเลนันดอและขุนนางเห็นว่าจะคุมได้ยาก จึงเลือกเจ้าชายสีป่อที่อ่อนแอกว่า โดยบวชเป็นพระมาตลอด นิสัยเชื่องช้า หัวอ่อน และพระเจ้ามินดงเองก็เกรงพระทัยมเหสีรอง จึงไม่ได้ตั้งเจ้าฟ้าพระองค์ใดเป็นรัชทายาทโดยเด็ดขาด
การยึดอำนาจ
เมื่อ พระเจ้ามินดงทรงพระประชวรหนัก พระนางอเลนันดอจึงเรียกพวกเสนาบดีประชุมในที่รโหฐานและประกาศตั้งเจ้าฟ้าสี ป่อเป็นรัชทายาท ไล่จับกุมบรรดาเจ้าฟ้าและขุนนางในฝ่ายอื่นๆที่ไม่ใช่ของตัวเองใส่คุกไปมากมายเมื่อพระเจ้ามินดงสวรรคตแล้ว ก็ให้เจ้าฟ้าสีป่อขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งกรุงพม่า พอขึ้นครองราชย์ได้พระมเหสีและมารดากับกลุ่มขุนนางก็จัดการสังหารบรรดาพี่ น้องตัวเอง และบริวารรวมกันถึงราว 500 กว่าคนเจ้าชายองค์ใดถูกปลง พระชนม์ เจ้าจอมมารดา พระญาติและบรรดาลูกๆ รวมทั้งเจ้าน้ององค์หญิงเจ้าชายองค์นั้น ซึ่งมีทั้งผู้เฒ่าชราและแม้แต่เด็กจนถึงทารกไร้เดียงสาก็ถูกสังหารจนสิ้น ด้วย สารพัดวิธีอันหฤโหด ขุนนางที่เคยรับใช้หรือญาติทางฝ่ายจอมมารดาก็จับฆ่าเสียสิ้นเหมือนกัน ด้วยพิธีที่พิสดาร และตามแต่เพชฌฆาตจะเห็นสนุก การสังหารหมู่ดัง กล่าวใช้เวลาอยู่สามวันจึงสังหารได้หมดเพราะต้องฆ่าที่วังแต่เวลากลางคืน เพื่อไม่ให้พวกชาวเมืองรู้ ที่เลือดเย็นกว่านั้นคือ พระนางศุภยาลัตทรงให้จัดงานปอยตลอดสามวันนั้น ให้ชาวเมืองเที่ยวงาน ให้สนุก พระเจ้าธีบอก็จัดให้ดื่มน้ำจัณฑ์จนเมามายเพื่อไม่ให้สนใจการสังหารครั้งนั้น เมื่อสังหารแล้วก็จับโยนใส่หลุมใหญ่ข้างวังรวมกัน แล้วเอาดินกลบ
แต่ พอพ้นสามวัน ศพเหล่านั้นเริ่มขึ้นอืดจนเนินหลุมที่ฝังพูนขึ้น ก็เอาช้างหลวงมาเหยียบย่ำให้ดินที่นูนขึ้นมานั้นแบนราบลง แต่สุดท้ายก็ไม่สามารถปิดบังหลุมใหญ่นั้นได้ เพราะจำนวนศพมีมากจนดันเนินดินให้นูนขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า สุดท้ายก็ต้องให้ขุดศพใส่เกวียนไปฝังบ้าง ทิ้งน้ำบ้าง จนเป็นเรื่อง ที่มีการเล่าขานมากที่สุดคือการสำเร็จโทษเหล่าพระบรมวงศ์สานุวงศ์น้อยใหญ่ เป็นเวลา 3 คืน เล่ากันว่าคืนนั้นสุนัขเห่าหอนทั้งคืน จนชาวเมืองผวาไม่เป็นอันหลับอันนอน พระนางจัดให้เอาวงดนตรีปี่พาทย์ การแสดงต่าง ๆ มาบรรเลงในวังตลอดเวลาที่ทำการสำเร็จโทษพวกเจ้านาย เพื่อให้เสียงดนตรีปี่กลองกลบเสียงกรีดร้องขอชีวิต หากดังไม่พอ เสียงฮาจะช่วยได้มาก พระนางตรัสให้คนร้องร้องดังขึ้น เล่นตลกให้ดังขึ้น และพระสรวลดังๆ แต่บางครั้งมีเสียงหวีดมาแต่ไกล พระเจ้าสีป่อจึงหันไปทางต้นเสียง พระนางศุภยาลัตก็หันมาถลึงพระเนตร กับปี่พาทย์ ส่วนนางพนักงานก็รินน้ำจัณฑ์ใส่ถ้วยทองถวายถึงพระหัตถ์พระเจ้าสีป่อ แต่ขณะเดียวกันในประวัติศาสตร์พม่านั้นเชื่อว่าพระนางอเลนันดอ และเกงหวุ่นเมงจีอยู่เบื้องหลังการสั่งฆ่าโอรสธิดา
การสูญสิ้นอำนาจ
พระ นางศุภยาลัต และแตงดาวุ่นกี้ไม่พอใจที่อังกฤษให้ค่าสัมปทานป่าไม้น้อย และฝรั่งเศสทำท่าจะเข้ามาเสนอให้มากกว่าประกอบกับมีการกล่าวหาว่าอังกฤษลอบ ตัดไม้เกินกว่าที่ได้รับสัมปทาน พม่าเลยสั่งปรับอย่างหนักถึง 1 ล้านรูปี อังกฤษ ก็ไม่พอใจยื่นประท้วง แต่พม่าไม่ยอม ตอนนั้นพระนางศุภยาลัตคิดว่าตัวเองมีฝรั่งเศสหนุนหลัง แต่ต่อมาเกิดเรื่องเข้าจริงๆ ฝรั่งเศสก็วางตัวเป็นกลาง วันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2428 อังกฤษก็เริ่มส่งข้อเรียกร้องขั้นเด็ดขาด และพม่ายอมไม่ได้ เช่น ให้อังกฤษเป็นคนควบคุมนโยบายการค้าการเดินเรือของพม่าทั้งหมดฯลฯ มิฉะนั้นจะรบกับพม่า ซึ่งขณะนั้นอังกฤษได้ยึดพม่าได้ทางใต้ได้แล้วจากสนธิสัญญายันดาโบ พระ นางศุภยาลัตประกาศรบอังกฤษด้วยความหยิ่งยะโสโอหังว่าพม่านั้นเป็นชาติมหา อำนาจในเอเชียอาคเนย์ เคยชนะมาแล้วแม้แต่จีน หลงละเมอเพ้อพกอยู่กับอดีตอันยิ่งใหญ่ของพม่า โดยไม่เคยสนใจความก้าว หน้าของโลก โดยเฉพาะประเทศอภิมหาอำนาจแห่งยุคนั้นอย่างอังกฤษที่มีอาณานิคมทั่วโลกและ เข้มแข็งทางการทหารอย่างยิ่ง พระเจ้าธีบอตามพระทัยมเหสีจึงสั่งให้ เตรียมพลไปรบ อังกฤษก็ให้นายพลแฮร์รี เพนเดอร์กาส นำทหารทั้งฝรั่งและอินเดียเคลื่อนพลเข้ารบ จากย่างกุ้งบุกไปตามลำน้ำอิรวดีถึงมัณฑะเลย์อย่างสบาย ใช้เวลาแค่ 14 วันก็ยึดเมืองหลวงได้
นักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ให้ความเห็นว่า นอกเหนือจากอาวุธที่ดีกว่าอย่างเทียบไม่ติด แต่เหตุผลสำคัญที่สุดคือราษฎรไม่คิดจะต่อสู้เพราะไม่รู้จะสู้ไปเพื่ออะไร เนื่องจากรัฐบาลของพระเจ้าธีบอโดยพระนางศุภยาลัต กดขี่พวกเขามาตลอด บ้านเมืองจึงขาดความสามัคคีขนาดหนัก เนื่องจากกษัตริย์และมเหสีไม่ เคยทำตนให้เป็นที่รักของประชาชนพม่าของพระองค์เอง พระเจ้าธีบอ และพระนางศุภยาลัตจึงถูกเชิญให้ไปยังเมืองรัตนคีรี ซึ่งเป็นการสิ้นสุดเอกราชของพม่า และการปกครองโดยราชวงศ์อลองพญาที่มีอย่างยาวนาน
พระธิดา(พระนาม)
1.เจ้าหญิงเมียะพยาจี ประสูติ พ.ศ. 2423 สิ้นพระชนม์ พ.ศ. 2490 เจ้าหญิงทรงอภิเษกสมรสกับนายทหารอินเดียที่พระราชวังธีบอในรัตนคีรี
2.เจ้า หญิงเมียะพยาลัต ประสูติ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2426 สิ้นพระชนม์ 4 เมษายน พ.ศ. 2499 เจ้าหญิงทรงอภิเษกสมรสกับข้าราชสำนักชาวพม่าที่พระราชวังธีบอในรัตนคีรี เจ้าหญิงมยะพะยาลัต ได้รับเลือกให้เป็นรัชทายาทในราชบัลลังก์พม่า เมื่อพระเจ้าธีบอถูกโค่นล้มราชบัลลังก์ และทรงได้เป็นผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์และเป็นประมุขแห่งราชวงศ์พม่าเมื่อ พระราชบิดาสวรรคต พระองค์สื้นพระชนม์ที่เมืองกาลิมปง ประเทศอินเดีย
3.เจ้า หญิงเมียะพยา ประสูติ 7 มีนาคม พ.ศ. 2429 สิ้นพระชนม์ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2505 เจ้าหญิงทรงเสด็จกลับพม่าพร้อมพระราชมารดา และในปีพ.ศ. 2465 ทรงอภิเษกสมรสครั้งแรกกับโกเดา กยี เนียง พระนัดดาในเจ้าชายคะนอง ซึ่งมีศักดิ์เป็นพระอัยกาของเจ้าหญิง และเจ้าชายคะนองทรงเป็นพระเชษฐาในพระเจ้ามินดง และทรงหย่ากันในปี พ.ศ. 2472 เจ้าหญิงอภิเษกสมรสครั้งที่สองกับอู มะยา อู นักกฎหมาย พระโอรสองค์ที่สองของเจ้าหญิงที่ประสูติแต่พระสวามีองค์แรก คือ เจ้าตอ พะยาทรงเป็นผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์องค์ปัจจุบัน สืบต่อจากเจ้าหญิงเมียะพยาลัต
4.เจ้าหญิงเมียะพยากเล ประสูติ พ.ศ. 2430 สิ้นพระชนม์ พ.ศ. 2478 เจ้าหญิงมีความชำนาญในภาษาอังกฤษอย่างมากและทรงดำรงเป็นโฆษกประจำพระราชวงศ์ พม่า เจ้าหญิงทรงอภิเษกสมรสกับนักกฎหมาย และทรงถูกรัฐบาลอาณานิคมส่งออกไปประทับที่เมาะลำเลิง จนกระทั่งสิ้นพระชนม์ที่นั่น
ราชวงศ์ ที่พระนางศุภยาลัตถือกำเนิดเป็นราชวงค์ใหม่ ไม่ใช่ราชวงศ์เดียวกับบุเรงนองผู้เก่งฉกาจ พระนางศุภยาลัตเป็นธิดา ของ พระเจ้ามินดง กับพระนางอเลนันดอ เมือพระเจ้ามินดงสวรรคต ทำให้เมียที่แสนร้ายกาจที่เคยถูกปกปิด ไว้เผยโฉมออกมา นั่นคือพระนางอเลนันดอ ซึ่งเป็นพระมารดาของพระนางศุภยาลัต พระเจ้ามินดง กับพระนางอเลนันดอมีบุตรด้วยกัน 3 องค์คือ ศุภยาคยี ศุภยาลัต และ ศุภยากเล ต่างก็ร้ายๆ กันทั้งนั้น แต่ไม่มีใครเทียบพระนางศุภยาลัตได้เลย นางทั้งเป็นคนเจ้ายศเจ้าอย่าง ทะเยอทะยาน สมองเพียบพร้อมไปด้วยกลอุบาย
สอง แม่ลูกคู่นี้จึงถูกกล่าวหาว่าเป็นคู่แม่ลูก คู่ร้ายของประวัติศาตร์พม่า พอถึงตอนที่พระเจ้ามินดงเสด็จสวรรค์คต พระนางอเลนันดอมองเห็นทางขึ้นเป็นใหญ่ โดยที่ไม่ต้องเปลืองแรง จึงทรงทูลขอตำแหน่งพระมเหสีเอกทันที่ แต่ว่าเส้นทางพระองค์กลับมีขวากหนาม เพราะถูกพระญาติพระวงค์ทูลห้ามเอาไว้ พระนางอเลนันดอ คงมีวาสนาได้เป็นแค่ นางพญาพังเผือ การที่ถูกหักหน้าอย่างนี้ทำให้ความแค้นเคืองใหกับพระนางอเลนันดอเหลือจะ กล่าวความแค้นนี้ยังแผ่ลงไปถึงเจ้าหญิงศุภยาลัต อย่างช่วยไม่ได้ สองแม่ลูกจึงช่วยวางแผนสมรู้ร่วมคิดกับอำมาตย์แตงดา จนมีอำนาจยิ่งใหญ่ แผนการสู่อำนาจอันยิ่งใหญ่ก็เริ่มขึ้น พระนางอเลนันดอ และเจ้าหญิงศุภยาลัต หลอกเจ้านายชั้นสูงมาเข้าเฝ้า และให้อำมาตย์แตงดา จับไปขังไว้ที่คุกท้ายวัง
เวลานั้นพระนางอเลนันดอหาทางขึ้นครองราชย์ แต่กฎของพม่า ผู้หญิงจะขึ้นนำหน้าไม่ได้ทำให้พระนางต้องหากษัตริย์มาเป็นหุ่นเชิด จึงให้ลูกสาวศุภยาคยี และศุภยาลัต แต่งงานกับพระเจ้าธีบอ ซึ่งเป็นราชวงค์ชั้นหางแถว โดยให้ศุภยาคยีเป็นพระมเหสีเอก และศุภยาลัต เป็นพระมเหสีรอง จึงสร้างความไม่พอใจให้กับศุภยาลัต เป็นอันมาก พระเจ้าธีบอจึงตกอยู่ในวงล้อมของเมียและแม่ยายที่แสนร้ายกาจพอๆ กัน เปลี่ยนแผ่นดินใหม่แล้วแต่ประชาชนพม่ายังไม่รู้หรอกว่ากษัตริย์ที่ขึ้นครอง ราชย์แทนพระเจ้ามินดงเป็นใคร ซึ่งเรื่องนี้กลับสร้างความประหลาดใจให้กับประชาชนที่ขบวนพระบรมศพใหญ่โตปาน นั้นกลับไม่มีบรรดาเจ้านาย ตามเสด็จเลยสักคน พระนางอเลนันดอกับพระนางศุภยาลัตจึงคิดแผนขึ้นมาโดยจัดให้มีการเล่นละครที่ หน้าวังเพื่อดึงดูความสนใจของพระเจ้าธีบอ แต่ที่ท้ายวังกลับให้มีการฆ่าเจ้านายชั้นสูงขึ้นไม่เว้นแม้แต่ลูกเด็กเล็ก แดง แล้วให้นำศพไปฝังรวมกันที่ท้ายวังมัณฑะเลย์
แต่ทว่าศพมีจำนวน มากพออืดขึ้นก็โผล่ดินออกมา ว่ากันว่าพระนางศุภยาลัตให้นำช้างมาเหยียบเพื่อให้ดินยุบลงไป แต่ไม่นานศพก็โผล่ขึ้นมาอีก จนต้องสั่งให้ทหารขุดศพเหล่านั้นใส่เกวียนแล้วนำไปทิ้ง หลังจากนั้นพระนางศุภยาลัตก็หาทางกำจัดพระนางศุภยาคยีเพื่อหาทางขึ้นเป็นพระ มเหสีเอกโดยหาว่าพระนางศุภยาคยีทำเสน่ห์ใส่พระเจ้าธีบอจนต้องถูกเนรเทศออกไป จากวัง ครั้งพอได้อำนาจขึ้นเป็นพระมเหสีเอกแล้ว ก็ใช้อำนาจจนใครๆ ต่างก็กลัวเกรง ซึ่งเป็นที่รู้กันว่าพระนางศุภยาลัตเป็นคนที่ชอบเครื่องเพชรมาก จนนำเงินจากท้องพระคลังมาซื้อจนหมด
หนทางสุดท้ายก็คือคิดจะทำการยึด โรงงานของอังกฤษ ซึ่งความคิดนี้เองเป็นเหตุให้พม่าต้องเสียเมือง เนื่องจากอังกฤษยกกองทัพมาทำการสู้รบกับพม่า จนพม่าแตกพ่ายและก็ทำการยึดอำนาจ จากนั้นอังกฤษเพียงแค่ต้องการจะปลด พระเจ้าธีบอ และ พระนางศุภยาลัตออกจากตำแหน่งแล้วหาเจ้านายคนใหม่มาดำรงตำแหน่งแทน แต่เจ้านายทั้งหมดถูกฆ่าไปหมดแล้ว ทางประเทศอังกฤษเลยยกเลิกระบบกษัตริย์ โดยอังกฤษได้ทำการเนรเทศ พระเจ้าธีบอ และ พระนางศุภยาลัต ไปประเทศอินเดียทางใต้ เมืองบอมเบย์ ชีวิตไร้บัลลังก์ของพระเจ้าธีบอ และพระนางศุภยาลัต ในดินแดนอินเดียค่อนข้างลุ่ม ๆ ดอน ๆ ซึ่งหาความสุขในชีวิตไม่ได้เลย สุดท้ายพระนางศุภยาลัต ก็สิ้นพระชนม์ไปตามยถากรรม