เผยเหตุผลทำไม? พระครูบาบุญชุ่ม จึงเป็นความหวังช่วย 13 ชีวิต หลังทำพิธีที่ถ้ำหลวง 2 วันซ้อน (มีคลิป)

พระครูบาบุญชุ่ม ญาณสํวโร อรัญวาสีภิกขุ แห่งวัดพระธาตุดอนเรือง เมืองพง รัฐฉาน หลังเดินทางมาถึง ถ้ำหลวง เมื่อค่ำคืนวันที่ 29 มิ.ย. ที่ผ่านมา เพื่อทำพิธี ถอนขึด ช่วย 13 ชีวิตกลับบ้าน พร้อมบอกว่า เด็กๆ ยังมีชีวิตอยู่ อีก 2-3 วัน จะได้เจอ ล่าสุด ช่วงบ่ายวันนี้ (30 มิ.ย.) พระครูบาบุญชุ่ม ได้เดินทางมาอีกครั้ง ทำพิธีเปิดตา และ แผ่เมตตา ก่อนทำพิธีสำคัญ เป็นการภายใน

เผยเหตุผลทำไม? พระครูบาบุญชุ่ม จึงเป็นความหวังช่วย 13 ชีวิต หลังทำพิธีที่ถ้ำหลวง 2 วันซ้อน (มีคลิป)


เผยเหตุผลทำไม? พระครูบาบุญชุ่ม จึงเป็นความหวังช่วย 13 ชีวิต หลังทำพิธีที่ถ้ำหลวง 2 วันซ้อน (มีคลิป)

หลายคนอาจสงสัย ทำไม พระครูบาบุญชุ่ม จึงเป็นความหวังของ พ่อแม่ผู้ปกครอง ของ ทั้ง 13 ชีวิต ทีมนักเตะเยาวชนหมูป่าอคาเดมี

ลองอ่าน จากบทความ "ตัวใครตัวมันทางศาสนา" ของ อ.นิธิ เอียวศรีวงศ์ คอลัมนิสต์ประจำหนังสือพิมพ์มติชน เผยแพร่ครั้งแรกในมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 24 - 30 พฤศจิกายน 2560 ที่ผ่านมา ดังนี้


รับชมวิดีโอได้ที่นี่
VVVV
VVV
VV
V


"วันหนึ่งทีวีออกข่าวว่าพระภิกษุรูปหนึ่ง ออกจากถ้ำหลังจากเข้าไปทำสมาธิภาวนาอยู่รูปเดียว โดยไม่ติดต่อกับใครนานถึง 3 ปี แน่นอนว่า เมื่อออกจากถ้ำย่อมมีผมยาวคลุมไหล่และหนวดเครารุงรัง ข่าวทีวีฉายให้เห็นลูกศิษย์ลูกหาพากันไปต้อนรับท่านอยู่เนืองแน่น

ระหว่างดูข่าวผมนึกว่า เรื่องพระเข้าถ้ำเพื่อบำเพ็ญเพียรเป็นปีๆ อย่างนี้ ผมเคยได้รู้มาก่อน แต่เป็นใครที่ไหน เมื่อไร ผมจำไม่ได้ โชคดีที่ผมกองหนังสือเกี่ยวกับพุทธศาสนาไทยปัจจุบันไว้ด้วยกัน เพราะอยากจะทำความเข้าใจเรื่องนี้ใหม่ จึงทำให้ได้พบเรื่องของ "ครูบาบุญชุ่ม ญาณสํวโร" ซึ่งเป็นบทความทางมานุษยวิทยา ซึ่งเขียนโดย อาจารย์อัมพร จิรัฏฐิกร แห่งภาควิชาสังคมวิทยา-มานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และของ อาจารย์ทัตสุกิ กาตาโอกะ ในหนังสือ Charismatic Monks of Lanna Buddhism ซึ่ง Paul T. Cohen เป็นบรรณาธิการ

ผมอ่านหนังสือเล่มนี้อย่างผ่านๆ และคงข้ามสองบทความนั้นไป แต่มีเรื่องของครูบาบุญชุ่มถูกอ้างถึงในบทความอื่น ซึ่งผมไม่ใส่ใจมาก่อน ทำให้ผมแทบไม่รู้อะไรเกี่ยวกับท่านเลยนอกจากเข้าถ้ำ

กลับมาอ่านสองบทความนั้น ร่วมกับค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับท่านจากศิษยานุศิษย์ที่ "พี่กู" บอกให้ จึงพบว่าตัวท่านก็น่าสนใจอย่างมาก บทความของอาจารย์อัมพรก็น่าสนใจอย่างมากเหมือนกัน

ตําแหน่งครูบาไม่ใช่สมณศักดิ์ของคณะสงฆ์ไทย แต่เป็นสถานะที่ได้รับการยกย่องจากประชาชนตามประเพณีของพุทธศาสนาแบบ "ยวน" หรือแบบชาวเหนือ อันเป็นประเพณีทางศาสนาที่แผ่ไพศาลไปไกล คือทางตะวันตกถึงรัฐชานตะวันออก ทางเหนือไปถึงสิบสองปันนา และทางตะวันออกคงแทรกซึมอยู่ในพุทธศาสนาตามประเพณีลาวด้วย โดยสรุปคือข้ามเส้นเขตแดนของรัฐต่างๆ ในปัจจุบันไปไกลทุกทิศทุกทาง


พระภิกษุที่ได้รับยกย่องเป็นครูบานั้น คือพระภิกษุที่ทรงคุณพิเศษบางอย่าง โดยเฉพาะด้านวิปัสสนากัมมัฏฐาน (ซึ่งทำให้เกิดฤทธิ์บางอย่าง) แต่ประชาชนที่ศรัทธาครูบาบุญชุ่ม โดยเฉพาะชาวเหนือ, ชาวชาน, ชาวเขาบางเผ่า, ไปจนถึงชาวลื้อชาวเขิน ต่างเชื่อว่าท่านเป็น "ตนบุญ" ด้วย อย่างเดียวกับที่เคยศรัทธาต่อครูบาศรีวิชัยว่าเป็น "ตนบุญ" เช่นกัน

ความหมายของ "ตนบุญ" นั้นย่อให้ถึงแก่นคือพระโพธิสัตว์ ซึ่งจะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต กิจกรรมของพระโพธิสัตว์ในเชิงรูปธรรมที่มองเห็นได้ก็คือ การลงมาช่วยให้ชาวบ้านร้านช่องได้ "บุญ" ด้วยการเป็นแกนระดมกำลังในการก่อสร้างหรือบูรณะแหล่งศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนา เช่น พระธาตุ (พระเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ), วัดเก่าที่ร้างหรือเสื่อมโทรม และอาจมีสาธารณูปโภคที่เป็นประโยชน์แก่ส่วนรวมด้วย

ขอให้สังเกตว่า "ตนบุญ" หรือพระโพธิสัตว์ในประเพณีพุทธศาสนาแบบ "ยวน" แตกต่างจากพระอรหันต์ ซึ่งได้บำเพ็ญเพียรจนตนเองพ้นทุกข์ แต่ไม่ได้เป็นสะพานเชื่อมโยงให้ชาวบ้านเข้าถึง "บุญ" ไม่ได้ฟื้นฟูพระศาสนาที่เสื่อมโทรมให้กลับมาดีเหมือนเก่า

คุณวิเศษของครูบาบุญชุ่มก็คือศิษยานุศิษย์ของท่านไม่ได้มีแต่เฉพาะชาวเหนือในประเทศไทยเท่านั้น แต่เพราะท่านเคยไปจำพรรษาอยู่ที่เมืองพงในพม่า (อยู่เหนือท่าขี้เหล็กขึ้นไป) เป็นเวลาร่วม 20 ปี ทั้งเคยเดินทางไประดมกำลังสร้างหรือบูรณะพระเจดีย์วิหารในรัฐชานอีกหลายรัฐ เลยไปถึงสิบสองปันนาในประเทศจีน จึงเป็นที่นับถือศรัทธาของชาวไทใหญ่, ชาวเขิน, ชาวลื้อ และชาวเขาบางกลุ่ม เช่น ดาระอั้ง (ปะหล่อง), ลาหู่ และกะเหรี่ยงด้วย ทั้งที่อยู่ในพม่าและที่อพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทย ซ้ำยังเลยไปถึงเนปาลและภูฏาน ท่านก็เคยไปปฏิบัติธรรมที่นั่น จนมีทั้งผู้อุปถัมภ์และศิษยานุศิษย์



เผยเหตุผลทำไม? พระครูบาบุญชุ่ม จึงเป็นความหวังช่วย 13 ชีวิต หลังทำพิธีที่ถ้ำหลวง 2 วันซ้อน (มีคลิป)

ยิ่งกว่านั้น ใน ค.ศ.2004 ท่านถูกรัฐบาลทหารพม่าขับออกจากประเทศ ท่านจึงกลับมาอยู่ในประเทศไทย บุรณะและสร้างวัดในที่ต่างๆ หลายแห่ง รวมทั้งดอยเวียงแก้ว อำเภอแม่สาย เชียงราย ซึ่งใช้เป็นที่อยู่ค่อนข้างประจำของท่าน เข้าถ้ำบำเพ็ญเพียรที่ลำปาง 3 ปี 3 เดือน และ 3 วัน จนเป็นที่เลื่องลือ ได้รับความนิยมศรัทธาอย่างกว้างขวางทั้งคนเมือง, คนใหญ่คนโตจากกรุงเทพฯ และคนชั้นกลางในเมืองของไทยอีกมาก

อาจารย์อัมพร ซึ่งทำงานวิจัยภาคสนามกับชาวไทใหญ่ในเขตรัฐชาน และในประเทศไทยมานาน ได้ไปร่วมในวาระงานวันเกิดของท่านซึ่งจัดขึ้นที่เชียงราย และวาระที่ท่านครูบาบุญชุ่มครบกำหนดออกจากถ้ำที่ลำปาง เพื่อเก็บข้อมูลทัศนะความรู้สึกของชาวไทใหญ่ที่สู้เดินทางมากราบไหว้ รวมทั้งทัศนะความรู้สึกของคนชั้นกลางในเมืองของไทย ซึ่งได้ยินกิตติศัพท์ของครูบาจากสื่อออนไลน์ พากันเดินทางมาอีกจำนวนมาก

พวกสานุศิษย์ซึ่งเป็นผู้ดีกรุงเทพฯ ออกจะมีอภิสิทธิ์กว่าพวกอื่นหน่อย ตรงที่หลังจากที่ท่านออกมาต้อนรับผู้เข้ามากราบไหว้บนเสลี่ยงด้วยผมยาวและหนวดเครารุงรังแล้ว ท่านก็กลับเข้าถ้ำเพื่อปลงผม พวกผู้ดีชาวกรุงมีสิทธิพิเศษที่ได้ตามเข้าไปในถ้ำได้ ทั้งนี้เพราะพวกผู้ดีอยากจะเก็บผมของท่านไว้เป็น "สิ่งศักดิ์สิทธิ์" ของตัว และก็สมปรารถนา เพราะไม่มีใครกล่าวถึงผมที่ท่านปลงเลย

ส่วนพวกคนชั้นกลางจากในเมือง มาพร้อมกับเครื่องมือวิเศษคือโทรศัพท์มือถือ เพื่อถ่ายภาพท่านเมื่อออกจากถ้ำ หรือตอนที่ได้เข้านั่งกราบใกล้ชิด หรือแม้แต่ได้รับพรจากท่าน แล้วต่างก็รีบส่งภาพและข้อความลงมือถือเพื่อเอาไปโชว์ในเฟซบุ๊ก หรือยูทูบ ทั้งนี้เพราะคนชั้นกลางไทยเชื่อหรือถูกทำให้เชื่อว่าท่านได้สำเร็จอรหัตผลแล้ว เนื่องจากตรงกับลัทธิพิธี (cult) พระอรหันต์ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมแพร่หลายในหมู่คนชั้นกลางไทย

ชาวบ้านในภาคเหนือ, ชาวไทใหญ่ และชาวเขา ก็ไม่รู้สึกอะไรที่พวกตนไม่ได้มีโอกาสเหมือนสองพวกข้างต้น ชาวไทใหญ่เข้าร่วม "พิธีกรรม" ทางศาสนามากกว่าเข้ามาหา "สิ่งศักดิ์สิทธิ์" หรือมาถ่ายรูปร่วมกับพระอรหันต์ พวกเขาตั้งใจมานอนกลางดินกินกลางทราย นำอาหารมาปรุงเพื่ออยู่รอจนกว่าครูบาบุญชุ่มจะกลับเข้าถ้ำอีกครั้ง เพราะท่านมักจำพรรษาด้วยการเข้าบำเพ็ญเพียรในที่วิเวกเช่นถ้ำอยู่องค์เดียวเป็นเวลาตลอดพรรษาทุกปี ชาวไทใหญ่อยู่รอกว่าท่านจะกลับเข้าถ้ำอีกครั้งหนึ่ง จึงกลับบ้าน การมารับท่านออกจากถ้ำและส่งท่านกลับเข้าถ้ำ ด้วยการยอมกินอยู่หลับนอนอย่างยากลำบากเป็นเวลาสามวัน คือการปฏิบัติศาสนาอย่างหนึ่ง


ประเพณีพุทธศาสนาแบบ "ยวน" ส่งเสริมให้ฆราวาสละทิ้งชีวิตปรกติ เพื่อจาริกแสวงบุญและบำเพ็ญภาวนาในระหว่างเดินทางและในศาสนสถานที่มุ่งไปแสวงบุญ (เช่น ถ้ำเชียงดาว) ในฐานะที่ท่านครูบาบุญชุ่มเป็น "ตนบุญ" นี่คือโอกาสที่ได้ร่วมทำบุญกับผู้ที่จะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในภายหน้า

ชาวไทใหญ่และชาวเขาบางคน ได้เห็นครูบาบนเสลี่ยงตอนออกจากถ้ำครั้งแรก ถึงกับน้ำตาไหล เพราะเห็นท่านซูบผอมไปมาก พวกเขาอธิบายว่าที่ร้องไห้ก็เพราะได้เห็นว่าท่านยอมรับทุกข์เพื่อปลดปล่อยพวกเขาจากทุกข์หนักที่ต้องเผชิญอยู่ในชีวิต

นี่เป็นอารมณ์ความรู้สึกทางศาสนานะครับ (ซึ่งให้ความเข้าใจปรากฏการณ์อื่นๆ ได้อีก) อันเป็นสิ่งที่ผมเข้าใจว่า ไม่เกิดกับวัตถุ , บุคคล , หรือสถาบันทางศาสนาในหมู่คนชั้นกลางไทยเสียแล้ว แต่ครั้งหนึ่งนับเป็นเนื้อหาสำคัญทางศาสนาของทุกศาสนาในโลก

อาจารย์อัมพรให้ข้อสรุปที่น่าตื่นตะลึงแก่ผมมากว่า "ปรากฏการณ์ครูบาบุญชุ่ม เผยให้เห็นว่า ศาสนาในทุกวันนี้ไม่ได้จำกัดอยู่ในแดน "ศักดิ์สิทธิ์" ตามที่เชื่อกันมาตามประเพณีอีกแล้ว แต่กลายเป็นอะไรที่คล้ายสัญญะที่ลื่นไหล ซึ่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในสัญญะนั้นจะถูกบริโภค สร้างขึ้นใหม่ และนิยามใหม่โดยสาวกต่างกลุ่ม [ต่างทัศนะ] กัน"

ความเข้าใจเช่นนี้เป็นเงื่อนไขที่ขาดไม่ได้เลยในการทำความเข้าใจการนับถือศาสนาของคนในสังคมสมัยใหม่ สิ่งศักดิ์สิทธิ์มีความหมายต่างกันแก่คนที่มีวิถีชีวิตต่างกัน หรืออาจจะพูดได้ว่าต่างชนชั้นต่างมีศาสนาพุทธ (หรือศาสนาอื่นๆ) ของตนเอง ซึ่งอาจมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์อันเดียวกัน แต่มีความหมายต่างกัน

ผู้ดีบางกอกและคนชั้นกลางไทย ที่พากันไปนมัสการครูบาบุญชุ่มตอนออกจากถ้ำ ก็กำลังปฏิบัติศาสนาไม่ต่างจากชาวไทใหญ่และคนเมือง เพียงแต่ด้วยวิถีปฏิบัติที่แตกต่างเท่านั้น ทุกฝ่ายต่างได้ประสบการณ์ทางศาสนาโดยตรง ปีติ ปลาบปลื้ม โสมนัสด้วยความศรัทธาเหมือนกันหมด แต่ด้วยเหตุผลที่ต่างกัน

และผมคิดว่า เราไม่น่าจะมีสิทธิ์ไปประณามหรือปรามาสการปฏิบัติศาสนาของคนในชนชั้นหรือสถานภาพที่แตกต่างจากเรา มีเหตุผลที่เข้าใจได้ว่า การบูชาพระเกจิเพื่อขอหวย เป็นการปฏิบัติศาสนาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับคนในชนชั้นหนึ่งๆ หรือในสถานภาพหนึ่งๆ

ศาสนาซึ่งหมายถึงหลักความเชื่ออันเดียว, หลักปฏิบัติอันเดียว, อารมณ์ความรู้สึกทางศาสนาแบบเดียว, คัมภีร์เล่มเดียวกัน ฯลฯ เป็นความคิดทางศาสนาที่เพิ่งเกิดมีในโลกไม่เกิน 300 ปีมานี้เอง และกลายเป็นลักษณะสามัญของศาสนาทั้งโลก เมื่อศาสนาถูกนำมาใช้เพื่อสนับสนุนรัฐชาติ หรือรัฐสมัยใหม่ที่มีอำนาจรวมศูนย์

แต่บทบาททางการเมืองของศาสนาในโลกปัจจุบันลดน้อยลงในหลายรัฐ แม้แต่ในรัฐที่ยังใช้ศาสนาเป็นเครื่องมือทางอำนาจของผู้ปกครองอยู่ ก็ไม่สามารถใช้ศาสนาเป็นตัวควบคุมความคิดเห็นของประชากรได้อย่างแต่ก่อน ศาสนาจึงกลับไปเหมือนศาสนาในสมัยโบราณ นั่นคือมีความหมายแก่คนต่างกลุ่มต่างกัน ต่างกลุ่มต่างใช้ประโยชน์จากศาสนาตามความเชื่อที่มีความหมายในวิถีชีวิตของกลุ่มเขา ดังกรณีของครูบาบุญชุ่ม ซึ่งมีสานุศิษย์ต่างชาติพันธุ์, ต่างวัฒนธรรม และเป็นพลเมืองของต่างชาติต่อกันแสดงให้เห็น (ผมยังไม่ได้เล่าถึงความหมายของตนบุญครูบาบุญชุ่มในกลุ่มชาวลาหู่ ตามที่ อาจารย์ทัตสุกิ อากาโตกะ ได้ศึกษาไว้ ซึ่งแตกต่างเป็นคนละเรื่องไปไกลกว่านี้อีกมาก)


สภาพเช่นนี้ไม่เป็นปัญหาทั้งแก่ศาสนิกและสิ่งที่ถือว่า "ศักดิ์สิทธิ์" ในศาสนา แต่เป็นปัญหามากขึ้นเรื่อยๆ แก่องค์กรศาสนาที่ตกค้างมาจากโบราณ และพยายามจะรักษาความหมายเดียวของศาสนาไว้ให้ได้ แม้มีอาญาสิทธิ์จะทำเช่นนั้นได้ แต่ก็ไม่เคยบังเกิดผลอะไรในความเป็นจริงเลย

ไม่แต่เพียงองค์กรคณะสงฆ์ไทยเท่านั้น ที่สั่งห้ามพระซึ่งสังกัดองค์กรบ้วนน้ำมนต์ พ่นน้ำหมาก, รักษาโรค, ทายหมอดู, เข้าทรง, แสดงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ต่างๆ มาเกิน 100 ปีแล้ว ก็ไม่เคยประสบผลสำเร็จในความเป็นจริงเลย ยังมีองค์กรสงฆ์ และองค์กรศาสนาอื่นๆ ซึ่งออกคำสั่งห้ามโน่นห้ามนี่ แล้วก็ไม่ได้ผลเหมือนกับที่เราเห็นในเมืองไทยอีกมาก

ศาสนาของคนปัจจุบัน อาจไม่ต้องการ "อาญาสิทธิ์" ไม่ว่ามาจากรัฐหรือจากองค์กรศาสนาใดๆ คอยกำกับอีกแล้ว"


ที่มา : ลูกครูบาพ่อบุญชุ่ม ญาณสํวโร, มติชน, Striker - Blogger


เครดิต :

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
คุณ : u381135676
สถานะ : บุคคลทั่วไป
IP : 103.58.148.23

103.58.148.23,,host23.148.thvps.com ความคิดเห็นที่ 1 [อ้างอิง]
ขอขอบคุณสำหรับข้อมูล


[ วันเสาร์ ที่ 18 มีนาคม 2566 เวลา 01:41 น. ]
เช็คเบอร์มือถือ คลิ๊กเลย ++
กระทู้เด็ดน่าแชร์