หมอศิริราช เตือนด่วน! สิ่งที่ ผู้ปกครองทีมหมูป่า ห้ามทำเด็ดขาด! หลังออกมาจากถ้ำแล้ว (คลิป)

หลังมีข่าวดีว่าพบน้องๆ ทีมหมูป่า อะคาเดมีและโค้ชทั้ง 13 คน ห่างจากพัทยาบีชไปประมาณ 400 เมตร โดยทุกคนปลอดภัยดี ท่ามกลางความยินดีของคนทั้งประเทศและทีมกู้ภัยรวมถึงเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ที่ได้ร่วมปฏิบัติภารกิจในครั้งนี้

และสืบเนื่องจากกรณีดังกล่าว ที่เพจเฟซบุ๊กของ นพ.กัมปนาท ตันสิถบุตรกุล ล่าสุดได้ออกมาเผยข้อความวิงวอน ฝากไปถึงผู้ปกครองของเด็กๆ ด้วยความเป็นห่วง ระบุว่า

 

เชิญรับชมคลิปวิดีโอ

VVVV

VVV

VV

V


หมอศิริราช เตือนด่วน! สิ่งที่ ผู้ปกครองทีมหมูป่า ห้ามทำเด็ดขาด! หลังออกมาจากถ้ำแล้ว (คลิป)

" พ่อ แม่ ผู้ปกครอง และญาติของทีมหมูป่าอะคาเดมี่ทั้ง 13 ท่าน โปรดทราบครับ หลังจากวันนี้เป็นต้นไป งดการให้บุตรหลานของท่าน หรือผู้ประสบภัยในถ้ำทั้ง 13 คน ให้สัมภาษณ์สื่ออย่างเด็ดขาด ด้วยเหตุผลทางด้านจิตวิทยา " 

พร้อมทั้งได้เผยข้อความจาก ผศ.นพ.พนม เกตุมาน ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ที่ได้มีการพูดถึง อาการ Post-Traumatic Stress Disorder และ Acute Stress Disorder ว่า

หมอศิริราช เตือนด่วน! สิ่งที่ ผู้ปกครองทีมหมูป่า ห้ามทำเด็ดขาด! หลังออกมาจากถ้ำแล้ว (คลิป)

หลังเหตุการณ์ที่คุกคามชีวิต จิตใจเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และรุนแรง ปฏิกิริยาแตกต่างกันตามวัย มีการเปลี่ยนแปลงของร่างกายที่ ทำให้อาการของความเครียดต่อเนื่อง ไม่สงบลงด้วยตัวเอง จนเกิดเป็นอาการต่างๆหลายระบบได้ดังนี้

· ช็อคทางจิตใจ เงียบเฉย งง ขาดการตอบสนอง สับสน อารมณ์เฉยชาไม่แจ่มใสร่าเริงเหมือนเดิม อาการนี้มักเกิดในวันแรกๆ

· ตกใจและหวาดกลัว (Hyperarousal) เกิดจากความกลัวเหตุการณ์นั้นวิตกกังวลง่าย กังวลแม้แต่เรื่องเล็กน้อย ตกใจง่ายจากเสียงดัง หรือเสียงคลื่น ขาดสมาธิ ย้ำคิดย้ำทำ คิดวนเวียนเรื่องที่วิตกกังวลซ้ำๆ ถามพ่อแม่ถึงความปลอดภัยซ้ำๆ อาจมีอาการอารมณ์แปรปรวน ร้องไห้ไม่สามารถควบคุมตนเอง

ความกังวลอาจเกิดจากเหตุการณ์ที่เกิดตามมา เช่น พ่อแม่พลัดหลง การเผชิญสถานการณ์ตามลำพังกลัวจากการสูญเสีย ในการค้นหาผู้รอดชีวิต


หมอศิริราช เตือนด่วน! สิ่งที่ ผู้ปกครองทีมหมูป่า ห้ามทำเด็ดขาด! หลังออกมาจากถ้ำแล้ว (คลิป)

· รู้สึกเหมือนอยู่ในเหตุการณ์นั้นอีก (Reexperiencing) คิดถึงเหตุการณ์นั้นซ้ำๆ ตกใจขึ้นมาเองเหมือนตัวเองอยู่ในเหตุการณ์นั้นเมื่อมีสิ่งเร้าเพียงเล็กน้อย เช่นได้ยินเสียงคลื่น เสียงน้ำ เสียงคนร้องตะโกนดังๆ คิดซ้ำๆถึงเหตุการณ์นั้น ฝันร้ายว่าอยู่ในเหตุการณ์นั้นอีก รู้สึกเหมือนอยู่ในเหตุการณ์นั้นขึ้นมาเองและตกใจกลัว (Flash back) เกิดอาการทางร่างกายของความวิตกกังวลรุนแรง เช่น ใจสั่นมือสั่น เหงื่อออกมาก ในเด็กโตหรือวัยรุ่นบางคน

 

· กลัวและหลีกเลี่ยง (Avoidance) กลัวสถานที่หรือสถานการณ์ที่ประสบเหตุ หวาดกลัวสิ่งเร้าที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ และหลีกเลี่ยงไม่กล้าเผชิญกับสิ่งเร้านั้นๆ เช่น กลัวคลื่น กลัวเสียงคลื่น กลัวทะเล กลัวชายหาด ไม่กล้ากลับเข้าบ้านหรือไปที่ชายหาด กลัวสิ่งที่คล้ายๆสิ่งกระตุ้นภัยพิบัติ เช่นกลัวน้ำจากฝักบัว กลัวสระว่ายน้ำ ไม่กล้าว่ายน้ำ หรืออาบน้ำจากฝักบัว


หมอศิริราช เตือนด่วน! สิ่งที่ ผู้ปกครองทีมหมูป่า ห้ามทำเด็ดขาด! หลังออกมาจากถ้ำแล้ว (คลิป)

อาการต่างๆเหล่านี้เกิดขึ้นได้ ร้อยละ 15-40 ของผู้ประสบภัย ถ้าเกิดขึ้นใน 4 สัปดาห์แรกหลังเหตุการณ์ เรียกว่า Acute Stress Disorder อาการเหล่านั้นมักหายได้เอง

หลัง 4 สัปดาห์แล้วยังมีอาการเหล่านี้อยู่ หรืออาการเหล่านั้นเกิดขึ้นในภายหลังเรียกว่า Post-Traumatic Stress Disorder (PTSD)

อาการที่พบร่วมด้วย ได้แก่


หมอศิริราช เตือนด่วน! สิ่งที่ ผู้ปกครองทีมหมูป่า ห้ามทำเด็ดขาด! หลังออกมาจากถ้ำแล้ว (คลิป)

· ซึมเศร้าจากการสูญเสีย (Grief Reaction) เกิดจากการสูญเสียพ่อแม่พี่น้อง หรือบ้านเรือนทรัพย์สิน หมดหวัง ท้อแท้ รู้สึกไม่สามารถควบคุมเหตุการณ์ใดๆได้

· พฤติกรรมถดถอย (Regression) เป็นเด็กลงไปกว่าวัย มักพบในเด็ก มีอาการถดถอยลงไปเป็นเด็กกว่าวัย เช่น ช่วยตัวเองไม่ได้ เรียกร้องเอาแต่ใจตัว หงุดหงิดงอแง ไม่ช่วยตัวเอง กังวลต่อการพลัดพรากจากพ่อแม่หรือคนใกล้ชิด ติดพ่อแม่หรือผู้ใหญ่มากขึ้นไม่ยอมไปโรงเรียน ไม่ยอมอยู่ห่างพ่อแม่ ร้องไห้เวลาพ่อแม่ไปส่งที่โรงเรียน

· ซึมเศร้าและฆ่าตัวตาย (Depression and Suicide) อาการซึมเศร้าอาจเกิดต่อเนื่องมาจากเหตุการณ์ สัปดาห์แรก หรือเริ่มเกิดภายหลัง อาการซึมเศร้ามักประกอบด้วยอาการหลายอย่างได้แก่ อารมณ์ไม่สดชื่นร่าเริงแจ่มใส เบื่อหน่ายท้อแท้ ขาดความสุข เบื่ออาหาร น้ำหนักลด นอนไม่หลับ หรือหลับได้ตอนหัวค่ำ แต่จะตื่นตอนตอนดึกๆ แล้วหลับต่อได้ยาก สมาธิสั้นวอกแวกง่าย ความจำเสีย หมดแรงเหนื่อยหน่าย คิดว่าตนเองเป็นภาระให้ผู้อื่นลำบาก รู้สึกผิด ที่ตนเองรอดชีวิตมาได้ หรือไม่สามารถช่วยเหลือคนอื่นได้ บางคนอาจคิดว่าตนเองเป็นสาเหตุ เช่น เป็นคนชักชวนให้ไปเที่ยวที่นั่น หรือตัวเองช่วยเหลือคนอื่นช้าไป คิดว่าตนเองไร้ค่า อาการซึมเศร้าอาจรุนแรงมากจนคิดว่าตนเองผิด เบื่อชีวิต คิดอยากตาย คิดฆ่าตัวตายได้

 


หมอศิริราช เตือนด่วน! สิ่งที่ ผู้ปกครองทีมหมูป่า ห้ามทำเด็ดขาด! หลังออกมาจากถ้ำแล้ว (คลิป)

อาการซึมเศร้าข้างต้นนี้ ถ้ามีมาก และรุนแรงถึงเบื่อชีวิต คิดอยากตาย เรียกว่า โรคซึมเศร้า (Major Depressive Disorder)

อาการซึมเศร้าอาจมีไม่รุนแรงนัก เป็นอาการซึมเศร้าจากภาวะการปรับตัวผิดปกติที่มีอารมณ์เศร้า (Adjustment Disorder with Depressed Mood)

ในเด็กบางทีอาการเศร้าอาจเห็นไม่ชัดเจนบางครั้งแสดงออกเป็นพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป เช่น ซึมเฉย ไม่ร่าเริง ไม่เล่น ไม่พูดคุยเหมือนเดิม ในวัยรุ่นอาการอาจมีเพียงหงุดหงิดฉุนเฉียว อารมณ์แปรปรวนแตกต่างไปจากเดิม ซึ่งถ้าไม่ได้รับการรักษาอาจมีผลต่อการเรียน หรือพัฒนาการบุคลิกภาพในระยะยาว

· อาการกลัวหรือโรคกลัว(Phobias) เช่นกลัวทะเล กลัวคลื่น กลัวความมืด กลัวอยู่คนเดียว กลัวบ้านหรือสถานที่ที่เกิดเหตุ มักจะมีอาการหลบเลี่ยงหลีกเลี่ยงไม่เผชิญสิ่งที่กลัว (Phobic avoidance) ซึ่งถ้าปล่อยทิ้งไว้อาจมีผลต่อจิตใจระยะยาว เช่นขาดความมั่นใจตนเอง ไม่สามารถทำหน้าที่ได้เหมือนเดิมหรือเหมือนเด็กอื่น อาจกลายเป็นโรคกลัวเรื้อรังรักษายาก


หมอศิริราช เตือนด่วน! สิ่งที่ ผู้ปกครองทีมหมูป่า ห้ามทำเด็ดขาด! หลังออกมาจากถ้ำแล้ว (คลิป)

· อาการวิตกกังวล เด็กบางคนจะมีความวิตกกังวลมากขึ้น กังวลในเรื่องเล็กน้อยที่ไม่น่ากังวล เครียดง่าย หงุดหงิดง่าย นอนไม่หลับ หลับๆตื่นๆ ตื่นแล้วหลับต่อยาก

· อาการของสมาธิและความจำ สมาธิความจำลดลงจนอาจมีผลเสียต่อการเรียน ขาดความมั่นใจตนเอง ไม่กล้าแสดงออก อาการเหล่านี้อาจมีมากขึ้นจากเดิม จนรบกวนการเรียน หรือการดำเนินชีวิต เด็กที่ขี้กังวลอยู่แล้วอาจมีมากขึ้นกว่าเดิม

· ปัญหาการเรียน สมาธิที่ลดลงทำให้เรียนไม่รู้เรื่อง ขาดความสนใจการเรียน การเรียนตกลงจากเดิม ไม่สนใจการเรียน

· พฤติกรรม เด็กบางคนมีพฤติกรรมถดถอยกลับไปเป็นเด็กกว่าวัย ( ดูดนิ้ว ปัสสาวะรดที่นอน ติดพ่อแม่ ไม่ยอมไปโรงเรียน ) หรือหงุดหงิดก้าวร้าว ไม่รับผิดชอบตนเองเหมือนเดิม ไม่สนใจชีวิต ขาดแรงจูงใจที่จะทำอะไรเหมือนเดิม

· พัฒนาการของบุคลิกภาพ จาการขาดความมั่นใจตนเอง หลบเลี่ยงปัญหา บางคนถูกตามใจเอาใจมากเกินไป จนกลายเป็นคนเอาแต่ใจ เรียกร้อง ไม่โต ขาดวุฒิภาวะ บางคนก้าวร้าวเกเร และอาจต่อเนื่องจนกลายเป็นปัญหาบุคลิกภาพ

· การใช้สุรา ยาเสพติด (Substance Use Disorders) มีการใช้เหล้าและยาเสพติดเพิ่มขึ้น เพื่อลดอาการทางจิตใจอารมณ์ ใช้บ่อยขึ้นจนเป็นโรคติดเหล้าหรือติดยาเสพติด


หมอศิริราช เตือนด่วน! สิ่งที่ ผู้ปกครองทีมหมูป่า ห้ามทำเด็ดขาด! หลังออกมาจากถ้ำแล้ว (คลิป)

โรคทางจิตเวชที่เฝ้าระวังหลังภัยพิบัติ

1. Post-Traumatic Stress Disorder

2. Major Depressive Disorder and Suicide

3. Substance Use Disorder


หมอศิริราช เตือนด่วน! สิ่งที่ ผู้ปกครองทีมหมูป่า ห้ามทำเด็ดขาด! หลังออกมาจากถ้ำแล้ว (คลิป)

... มีอาการที่แสดงว่าได้กลับไปเผชิญเหตุการณ์นั้นอีก (re-experience) อย่างน้อย 1 ข้อ ใน 5 ข้อ ต่อไปนี้

1. คิดวนเวียนถึง

2. ฝันร้าย

3. รู้สึกว่ากลับไปอยู่ในเหตุการณ์นั้นอีก

4. รู้สึกเครียดเวลานึกถึง พูดถึง หรือเผชิญสิ่งเร้าที่ทำให้นึกถึงเหตุการณ์

5. มีอาการทางร่างกายตอบสนองเวลาเผชิญเหตุการณ์นั้นจริง หรือคิดถึง

มี พฤติกรรมหลีกเลี่ยงส่งกระตุ้น ที่เกี่ยวกับเหตุการณ์นั้น อย่างน้อย 3 ข้อ ใน 7 ข้อต่อไปนี้

1. หลีกเลี่ยงการคิด ความรู้สึก การสนทนา ที่เกี่ยวกับเหตุการณ์

2. หลีกเลี่ยงกิจกรรม สถานที่ คน ที่ทำให้นึกถึงเหตุการณ์

3. ไม่สามารถระลึกถึงจุดสำคัญของเหตุการณ์ภัยพิบัติที่ประสบมา

4. ไม่สนใจร่วมกิจกรรมที่สำคัญ

5. อารมณ์เฉยชาต่อผู้อื่น

6. ไร้อารมณ์ตอบสนอง

7. ไม่สนใจอนาคต ไม่คิดว่าจะต้องทำอะไรต่อไป

อาการของความตื่นตัว มีอย่างน้อย 2 ข้อใน 5 ข้อต่อไปนี้

1. หลับยาก หรือตื่นง่าย

2. หงุดหงิดง่าย โกรธง่าย

3. ขาดสมาธิ

4. จับจ้องระวังภัย

5. อาการหวาดกลัวมากต่อสิ่งกระตุ้นเพียงเล็กน้อย

อาการนานเกิน 1 เดือน

และอาการทำให้เกิดปัญหาในการปรับตัวอย่างมาก ชัดเจน ต่อ สังคม อาชีพ และหน้าที่สำคัญของชีวิต

ประเภทของ PTSD

· เฉียบพลัน Acute : อาการน้อยกว่า 3 เดือน

· เรื้อรัง Chronic : อาการมากกว่า 3 เดือน

· อาการเกิดช้า With delayed onset : การเกิดอาการหลังเหตุภัยพิบัติ มากกว่า 6 เดือน... ตรงจุดนี้ เราควรงดการกระตุ้นหรือพูดถึงซ้ำๆ โดยอาจจะต้องรอไปก่อนนานหลายเดือนนะครับ

..... การประเมินสภาพจิตใจ การรักษาและดูแล ขอให้เป็นหน้าที่ทีมจิตแพทย์จาก รพ.เชียงรายประชานุเคราะห์และรพ.สวนปรุง จ.เชียงใหม่เท่านั้นครับ งดการแย่งซีนกันจากแหล่งอื่นนะครับ ขอให้สงสารเด็กๆเถอะครับ


หมอศิริราช เตือนด่วน! สิ่งที่ ผู้ปกครองทีมหมูป่า ห้ามทำเด็ดขาด! หลังออกมาจากถ้ำแล้ว (คลิป)

************************************************

... หากสื่อมวลชนต้องการข่าว ให้สัมภาษณ์จากคุณพ่อคุณแม่หรือญาติที่เกี่ยวข้องเป็นคนเล่าแทน

.... เพราะหลังจากวันนี้เป็นต้นไป ผู้ประสบภัยทั้ง 13 คนจะต้องได้รับการฟื้นฟูสภาพจิตใจและไม่ควรมีการถามซ้ำๆ เกี่ยวกับ ความทุกข์ ช่วงที่ประสบภัยเหล่านั้นเพื่อลดการตอกย้ำ หรือการบาดเจ็บทางด้านจิตใจ (retraumatization)​ ซ้ำๆอีก ครับ.

***********************************************

... และนี่คือคำตอบสำหรับนักข่าวของสถานีโทรทัศน์ช่องหนึ่งที่ถามว่า

.... หลังจากเหตุการณ์วันนี้ไปแล้วน้องๆจะมีความเข้มแข็งทางด้านจิตใจมากขึ้นหรือเปล่า.... คำตอบอยู่ข้างบนนะครับทุกสิ่งทุกอย่าง... เรื่องของจิตใจเป็นเรื่องละเอียดอ่อนอย่าประมาทครับ.... ความเข้มแข็งของจิตใจจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อได้ผ่านพ้นช่วงเวลาของการปรับตัวกับภาวะวิกฤตที่เกิดขึ้นในชีวิตนั้นได้อย่างดีเสียก่อนซึ่งแต่ละคนจะมีปัจจัยในตัวของเขาเองว่า จะมีความเข้มแข็งหรือปรับตัวได้ดีขนาดไหนซึ่งเป็นหน้าที่ของบุคลากรทางด้านจิตวิทยาที่จะเข้ามาช่วยประเมินและดูแลต่อไปครับ.

และ... เวลา... คืออีกหนึ่งปัจจัยที่มีความสำคัญ...

ถ้าท่านสงสารน้องๆ อยากเห็นน้องๆมีอนาคตที่สดใส... ขอให้อดทน อดใจ ให้น้องๆ ได้ฟื้นฟูสภาพจิตใจก่อนนะครับ.


หมอศิริราช เตือนด่วน! สิ่งที่ ผู้ปกครองทีมหมูป่า ห้ามทำเด็ดขาด! หลังออกมาจากถ้ำแล้ว (คลิป)

เครดิต :

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
คุณ : ต๋อง
สถานะ : บุคคลทั่วไป
IP : 202.29.243.230

202.29.243.230,,202.29.243.230 ความคิดเห็นที่ 1 [อ้างอิง]
สิ่งสำคัญคือสื่อนั่นแหละ


[ วันอังคาร ที่ 3 กรกฎาคม 2561 เวลา 12:45 น. ]
คุณ : u1924814202
สถานะ : บุคคลทั่วไป
IP : 103.58.148.23

103.58.148.23,,host23.148.thvps.com ความคิดเห็นที่ 2 [อ้างอิง]
ขอขอบคุณสำหรับข้อมูล


[ วันเสาร์ ที่ 18 มีนาคม 2566 เวลา 01:41 น. ]
ดูดวง เลขบัตรประชาชน คลิ๊กเลย ++
กระทู้เด็ดน่าแชร์