เพจดังไขความกระจ่าง เหตุใดตำรวจฮ่องกง ถึงใช้น้ำสีฟ้า สลายผู้ชุมนุม


 เพจดังไขความกระจ่าง เหตุใดตำรวจฮ่องกง ถึงใช้น้ำสีฟ้า สลายผู้ชุมนุม

จากเหตุการณ์ที่เจ้าหน้าที่ตำรวจฮ่องกง ฉีดน้ำสีฟ้า เป็นอีกหนึ่งวิธีที่เจ้าหน้าที่เริ่มใช้เพื่อควบคุมการประท้วงที่เกิดขึ้น

ล่าสุด เพจเฟซบุ๊ก เคมีฟิสิกส์ของสิ่งทอ อาหาร และของรอบตัว ได้มีการโพสต์ข้อความอธิบายถึงสาเหตุของวิธีการของเจ้าหน้าที่ตำรวจฮ่องกง โดยระบุว่า 

"จากข่าววันเสาร์ที่ผ่านมา (31-08-2019) ที่ทางการของฮ่องกงได้มีการใช้งานสีย้อมสีน้ำเงินละลายน้ำแล้วฉีดใส่ผู้ชุมนุมประท้วงเพื่อเป็นการยืนยันตัวตนของผู้ชุมนุมได้แบบที่เรียกว่าเป็นหลักฐานติดตัวอย่างน้อย 3-7 วันได้เลย จากลิงก์นี้นะครับ https://twitter.com/jasonyng/status/1167754810851876866?s=21



ซึ่งแอดเห็นสีที่ละลายน้ำที่เป็นสีน้ำเงิน (Blue) / แต่คราบสีที่ติดบนผิวหนังที่เป็นสีฟ้าอมเขียว (Greenish blue) บนร่างกายของผู้ชุมนุมนั้น แอดคาดว่าสีที่ว่านั้นน่าจะคือ "เมธิลลีนบลู" (Methylene Blue) หรือไม่ก็สีในกลุ่มของ Azure A, B, C หรืออาจจะเป็นสีของ "Thionine" (Lauth's violet) ก็ได้นะครับ

โดยสีทั้งหมดในซีรีส์นี้ต่างก็เป็นสีย้อมที่มีโครงสร้างส่วนให้สี (Chromophore) เป็น "ไธอะซีน" (Thiazines) ที่มีประจุบวก (cationic dyes) ที่สามารถติดบนวัสดุโปรตีน (Protein material) ทั้งผิวหนังคน เชื้อแบคทีเรีย รวมไปถึงเส้นใยไหมและขนสัตว์ได้ดี แม้ที่อุณหภูมิห้องนะครับ

และเมื่อทางการของฮ่องกงได้นำมาใช้ในการละลายน้ำฉีดใส่ผู้ชุมนุมนั้น ก็สามารถที่จะทำให้สีนั้นสามารถติดบนผิวหนังได้ตามระยะเวลาประมาณ 3-7 วัน ตามแต่ความเข้มและความสามารถในการขัดล้างของผู้ที่โดนฉีดสีเหล่านี้ (ตามอายุของขี้ไคลและหนังกำพร้าที่เกาะอยู่บนผู้เปื้อนสี) นะครับ

หลายๆคนก็คงสงสัยว่า อ้าว!! แล้วสีในกลุ่มนี้จะขัดไม่ออกเลยรึ??

สีกลุ่มนี้มีสภาพประจุบวกที่แรงมากๆที่สามารถติดบนวัสดุที่มีประจุลบทั้งๆที่มีคราบไขมัน รวมไปถึงเกิดพันธะไอออนิกกับหมู่ "คาร์บอกซิเลต" (Carboxylate : -COO⁻) ของโปรตีนได้ดีมาก จึงทำให้การชำระล้างด้วยสารซักล้างธรรมดานั้นแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยนะครับ เว้นแต่ว่าจะขัดคราบขี้ไคลหรือหนังกำพร้าออกจนหมด ซึ่งก็แทบจะเป็นไปไม่ได้เลย (ถ้าใครเคยทำ Gram staining หรือ biological staining ด้วยสีเหล่านี้ จะซาบซึ้งถึงความยากลำบากในการขัดออกมากๆเลยนะครับ)

แม้ว่าสีเหล่านี้จะสามารถถูกรีดักชั่น (Reduction) ด้วยกลูโคสในสภาวะเบสแก่จน "สีหาย" ได้ แต่เมื่อทิ้งไว้สักพักในบรรยากาศที่มีออกซิเจนนั้น สีก็จะกลับกลายมายิ้มโชว์ความฟ้าอย่างชัดเจนอยู่ดี (ลอง search keyword "Blue bottle experiment" ดูนะครับ) และสีกลุ่มนี้จะทนต่อสารฟอกขาวออกซิไดซ์ (oxidative bleaching agents) เช่น สารฟอกขาวคลอรีน และสารฟอกขาวเปอร์ออกไซด์ได้ดีมากๆเลยนะครับ คือ ได้แต่รอให้เวลาผ่านไปจนเกิดการผลัดเซลล์ผิวหนังนั่นแหละครับ ท่านผู้ชม!!

หลายๆคนก็คงสงสัยต่อว่า อ้าว แล้วสีกลุ่มนี้เมื่อรั่วไหลลงสู่สิ่งแวดล้อมจะทำให้เกิดมลภาวะหรือไม่??

สีในกลุ่มนี้มีความคงทนต่อแสง (Light fastness) ที่ต่ำมากๆ เรียกว่าเพียงแค่ 1 เดือนเมื่อเจอแดดค่อนข้างจัดๆนี่ สีก็หายไปเยอะมาก (จึงไม่นิยมนำมาทำเป็นสีย้อมผ้า เว้นแต่จะนำมาย้อมบนเส้นใยอะคริลิกที่จะอยู่นานสุดนะครับ) และยิ่งในสภาวะที่ละลายน้ำนั้นสีจะสลายตัวได้เร็วมากๆ และสามารถถูกดูดซับด้วยวัสดุดูดซับ (absorbent) ได้ง่ายมากๆด้วย

แต่อย่างไรก็ตาม สีในกลุ่มนี้จะสามารถกำจัดเชื้อจุลินทรีย์ได้หลายชนิดมากๆ ก็อาจจะทำให้สมดุลของเชื้อจุลินทรีย์ในท้องถิ่นธรรมชาตินั้นเปลี่ยนแปลงไปได้นะครับ และด้วยสีในกลุ่มนี้มีสมบัติในการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ จึงนิยมใช้ในการรักษาปลาจาก "โรคที่เกิดจากพยาธิ "อิ๊ค" (Ichthyopthirius sp.)" ได้ดีเลยเชียว!!"


 เพจดังไขความกระจ่าง เหตุใดตำรวจฮ่องกง ถึงใช้น้ำสีฟ้า สลายผู้ชุมนุม


เครดิตแหล่งข้อมูล : FB เคมีฟิสิกส์ของสิ่งทอ อาหาร และของรอบตัว

เรียบเรียง : ทีมงาน Teenee.com

 เพจดังไขความกระจ่าง เหตุใดตำรวจฮ่องกง ถึงใช้น้ำสีฟ้า สลายผู้ชุมนุม

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
คุณ : สู้ๆๆๆ
สถานะ : บุคคลทั่วไป
IP : 1.2.177.162

1.2.177.162,,node-9sy.pool-1-2.dynamic.totinternet.net ความคิดเห็นที่ 1 [อ้างอิง]
สู้ต่อไป ฮ่องกง


[ วันจันทร์ ที่ 2 กันยายน 2562 เวลา 16:41 น. ]
คุณ : u1847664037
สถานะ : บุคคลทั่วไป
IP : 103.58.148.23

103.58.148.23,,host23.148.thvps.com ความคิดเห็นที่ 2 [อ้างอิง]
ขอขอบคุณสำหรับข้อมูล


[ วันเสาร์ ที่ 18 มีนาคม 2566 เวลา 01:46 น. ]
ตามข่าวteenee.com จาก LineToday เข้าไปคลิ๊กกดติดตามได้เลย
กระทู้เด็ดน่าแชร์