อ.เจษ ชี้วัดเครื่องอุณหภูมิที่ฝ่ามือ ได้ผลน้อยไม่เจอคนมีไข้


อ.เจษ ชี้วัดเครื่องอุณหภูมิที่ฝ่ามือ ได้ผลน้อยไม่เจอคนมีไข้

"รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์" อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้แสดงความเห็นผ่านแฟนเพจ@อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์

ระบุว่า "เครื่องวัดอุณหภูมิ ไม่ควรเอาไปวัดที่ฝ่ามือ" ตอนนี้ มีร้านสะดวกซื้อบ้างแห่ง ได้ใช้วิธีเอาพวกเครื่องวัดอุณหภูมิแบบยิงแสงอินฟราเรด ซึ่งปรกติจะให้พนักงานคอยยืนวัดอุณหภูมิลูกค้าที่เข้ามาในร้าน เอามาติดตั้งแบบให้ลูกค้าเป็นคนเข้าไปสแกนเองประเด็นน่าคิดคือ เครื่องรุ่นที่เห็นนี้

แม้ว่าจะเป็นรุ่นที่ใช้ในการวัดอุณหภูมิบุคคลได้ดี เพราะมีระดับความแม่นยำอยู่ในเกณฑ์ที่รับได้ คือมีค่าความผิดพลาดน้อยที่สุดไม่เกิน 0.1 0.2% (ไม่เหมือนก่อนนี้ ที่มีการเอาเครื่องวัดสำหรับงานอุตสาหกรรมมาใช้ ซึ่งระดับความละเอียดต่ำกว่า และมีค่าความผิดพลาดสูง) แต่มันเหมาะจะนำมาใช้วัดที่ฝ่ามือหรือ?

โดยทั่วไปเครื่องสแกนพวกนี้ เหมาะกับการใช้วัดที่หน้าผาก โดยมีการปรับค่ามาให้คำนวณอุณหภูมิที่พื้นผิว (surface temperature) ของหน้าผาก แล้วประเมินเป็นอุณหภูมิแกนกลาง (coretemperature) ของตัวบุคคลได้ "โดยค่าอุณหภูมิที่วัดได้นี้ ต้องคำนึงถึงอุณหภูมิสิ่งแวดล้อมด้วย" เพราะจะมีผลต่ออุณหภูมิที่วัดได้ เช่น ถ้าอยู่ท่ามกลางแดดร้อนมาก่อน หรือ ออกมาจากห้องแอร์ใหม่ๆ จะทำให้วัดคลาดเคลื่อนเป็นสูงหรือต่ำกว่าความเป็นจริงได้ ตามลำดับ ...


นอกจากนี้ กิจกรรมที่ทำไปก่อนการวัดก็มีผลต่ออุณหภูมิที่วัดได้เช่นกัน เช่น ถ้าวิ่งมาก่อนวัด อัตราการเผาผลาญพลังงานในร่างกายจะสูง ทำให้วัดอุณหภูมิสูงตามไปด้วย แต่เมื่อนำเอาเครื่องมาวัดอุณหภูมิในส่วนอื่นๆ ของร่างกาย เช่น ถูกนำมาปรับจูนการคำนวณใหม่เพื่อใช้วัดอุณหภูมิที่ฝ่ามือนั้น มีข้อน่ากังวลว่าจะเกิดความคลาดเคลื่อนในการวัดขึ้นได้ ตัวอย่างเช่น ถ้ามือลูกค้าถือแก้วน้ำเย็นหรือแก้วน้ำร้อนมา ก็จะมีผลให้ค่าอุณหภูมิที่วัดได้ที่พื้นผิวฝ่ามือ ผิดไปจากค่าอุณหภูมิแกนกลางของร่างกายเป็นอย่างมาก

ปรกติในทางการแพทย์แล้ว ก็จะไม่แนะนำให้ใช้วิธีสแกนวัดที่บริเวณอื่น ที่ไม่ใช่หน้าผาก ดังเช่นที่เคยมีการตอบคำถามในการแถลงของ ศบค. เมื่อ 29 เม.ย. 2563 

นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกฯ ตอบคำถามเรื่องการตรวจวัดอุณหภูมิ ว่าวัดที่ข้อมือได้หรือไม่ 

นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า "มือในห้องแอร์จะเย็นกว่าปกติ ส่วนกลางหน้าผากยังอุ่นอยู่ ถ้าวัดอุณหภูมิที่ข้อมืออาจได้ตัวเลขต่ำกว่าหน้าผาก เวลาคนมีไข้ หมอจะมาแตะหน้าผาก เพราะเป็นส่วนกลางของลำตัว คงอุณหภูมิได้ดีที่สุด แต่ปลายมือเส้นเลือดเล็กๆ อากาศหนาวๆ หน่อย เส้นเลือดไม่ไปเลี้ยงที่ปลายมือ มือเราก็เย็น ถ้าใช้ข้อมือวัดจะไม่ได้เจอคนที่มีไข้เลย หรือเจอก็น้อยมาก ถ้าวัดที่หน้าผากก็จะได้อุณหภูมิใกล้เคียงความเป็นจริงมากกว่า"

อ.เจษ ชี้วัดเครื่องอุณหภูมิที่ฝ่ามือ ได้ผลน้อยไม่เจอคนมีไข้

หรือพูดง่ายๆ คือ เวลาที่ร่างกายของคนเรามีไข้นั้น ไม่จำเป็นว่าทุกส่วนของร่างกายจะต้องร้อนเท่ากันหมด บริเวณศีรษะ ลำตัว และแขนขาอาจจะร้อน แต่บริเวณฝ่ามือฝ่าเท้า อาจจะเย็นก็ได้ 

"ดังนั้น โดยสรุปแล้ว การพยายามปรับปรุงวิธีการตรวจวัดอุณหภูมิของลูกค้าที่เข้าร้าน โดยให้ลูกค้าเป็นผู้วัดเองกับเครื่องวัด แม้ว่าจะเป็นเวลาที่ดี ช่วยประหยัดแรงงาน .. แต่ก็ควรจะให้วัดที่หน้าผากมากกว่า จะได้ค่าอุณหภูมิที่แม่นยำกว่าวัดที่ฝ่ามือครับ"...

เครดิตแหล่งข้อมูล : FB @อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง
เรียบเรียง : ทีมงาน Teenee.com

อ.เจษ ชี้วัดเครื่องอุณหภูมิที่ฝ่ามือ ได้ผลน้อยไม่เจอคนมีไข้

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
คุณ : u1401538063
สถานะ : บุคคลทั่วไป
IP : 103.58.148.23

103.58.148.23,,host23.148.thvps.com ความคิดเห็นที่ 1 [อ้างอิง]
ขอขอบคุณสำหรับข้อมูล


[ วันเสาร์ ที่ 18 มีนาคม 2566 เวลา 01:48 น. ]
ดูดวง เลขบัตรประชาชน คลิ๊กเลย ++
กระทู้เด็ดน่าแชร์