เมื่อ “อาจารย์ ม.เกษตร” ดูบุพเพฯ ตอนอวสาน ชี้!! บางฉากก็ “คล้ายก่อนรัฐประหารปี 57 !!”

เมื่อ “อาจารย์ ม.เกษตร” ดูบุพเพฯ ตอนอวสาน ชี้!! บางฉากก็ “คล้ายก่อนรัฐประหารปี 57 !!”

ละครดังที่ติดกันทั้งบ้านทั้งเมืองอย่าง บุพเพสันนิวาส ออกอากาศอีกครั้งเมื่อวานนี้ และวันนี้จนถึงสัปดาห์หน้า ก้จะแถม "ตอนพิเศษ" มาให้ถึงสามตอน จนฟินทะลุกันเข้าไปในจอเลยทีเดียว

จากฉากเมื่อวาน ที่มีการทำรัฐประหารขุนหลวงนารายณ์ (หรือ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช) ซึ่งนำโดย พระเพทราชา และหลวงสรศักดิ์ มีการมีข้อคิดเห็นน่าสนใจจาก ดร. หัวหน้าภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่โพสต์ข้อความลงเฟสบุ๊ก Decharut Sukkumnoed โดยระบุว่า

"บุพเพสันนิวาสตอนสุดท้าย ตอนศึกชิงบัลลังก์ มีประเด็นน่าสนใจมากขอรับ
ในละครได้แสดงให้เราเห็นถึงความร่วมมือกันของพระเพทราชา (และหลวงสรศักดิ์) กับขุนนางและพระสงฆ์ ตามที่มีการบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์


แต่สิ่งที่ละครกล่าวถึงน้อยมาก แม้จะมีการบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ด้วยเช่นกัน คือ การลุกฮือของประชาชนและพระสงฆ์ และไม่ใช่ลุกฮือธรรมดา แต่ลุกฮือแบบถืออาวุธเสียด้วย

บาทหลวงชาวฝรั่งเศสบันทึกไว้ชัดเจนมากว่า "ทั้งอยุธยาและละโว้เต็มไปปด้วยประชาชนที่ถืออาวุธเข้ายึดเมือง"

จนมีคำกล่าวว่า การรัฐประหารของพระเพทราชาเป็นหน้าประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นน้อยครั้งมากๆๆ ในสมัยอยุธยา นั่นคือ การชิงบัลลังก์โดยมีฐานมวลชนสนับสนุน

ดังนั้น จึงเป็นเรื่องน่าเสียดายมากๆๆ ที่ละครไม่ได้กล่าวถึงหน้าประวัติศาสตร์นี้เลย

เหตุที่พระเพทราชาสามารถปลุกกระแสประชาชนได้มาจากความไม่สบายใจของประชาชนและพระสงฆ์ ที่ออกญาวิชาเยนทร์มีการสึกพระสงฆ์ไปเกณฑ์แรงงานสร้างป้อมปราการ และความกังวลใจที่พระปีย์ (ที่อาจจะขึ้นเป็นขุนหลวงองค์ถัดไป) จะเปลี่ยนไปนับถือศาสนาคริสต์


และเครื่องมือสำคัญในการสร้างกระแสในยุคนั้นก็คือ "เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา"

เพลงพยากรณ์กรุงศรีอยุธยาเป็นกลอนยาวที่พยายามจะสื่อสารว่า ขุนหลวงนารายณ์ไม่มีทศพิศราชธรรม และจะนำพาความวิบัติมาสู่กรุงศรีอยุธยา ดังเช่นกลอนท่อนหนึ่งที่กล่าวว่า

"คือเดือนดาวดินฟ้าจะเพต อุบัติเหตุเกิดทั่วทุกทิศมา
มหาเมฆจะลุกเป็นเพลิงกาล เกิดนิมิตพิศดาาทุกบ้านเมือง
พระคงคาจะแดงเดือดดั่งเลือดนก อกแผ่นดินเป็นบ้าฟ้าจะเหลือง
ผีป่าก็จะวิ่งเข้าสิงเมือง ผีเมืองนั้นจะออกไปอยู่ไพร"
ปรากฎว่า เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยากลายเป็นกลอนไวรอลแห่งยุคนั้นเลยทีเดียว

อย่างไรก็ดี แม้ว่าประชาชนจะเป็นฐานกำลังสำคัญในการเปลี่ยนแปลงครั้งนั้น แต่ภายหลังการได้อำนาจของพระเพทราชา ทุกอย่างสำหรับประชาชนก็ยังเป็นเหมือนเดิม เหมือนกับที่อ.นิธิ เอียวศรีวงศ์ได้สรุปในหนังสือการเมืองไทยในสมัยพระนารายณ์ ว่า

พระเพทราชาอาจใช้ประชาชนช่วยเปิดประตูวัง และก้าวสู่บัลลังก์ แต่เมื่อได้นั่งบัลลังก์แล้ว ประตูวังก็ปิดลงเหมือนเดิม และกั้นพระองค์ออกจากประชาชนเฉกเช่นที่เป็นมา

หมายเหตุ


เหตุการณ์ที่คล้ายคลึงกันนี้ได้เกิดขึ้นอีกครั้งใน 325 ปีถัดมา (พ.ศ.2557) ที่มีการระดมผู้คนปิดล้อมกรุงเทพฯ ด้วยคำอธิบายในท่อนฮุคว่า "ปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง" จนในที่สุดก็มีขุนทหารกลุ่มหนึ่งฉวยโอกาสนั้นเข้ายึดอำนาจ และเมื่อยึดอำนาจได้แล้ว ประตูการปฏิรูปที่คยวาดหวังกันไว้ก็ปิดลงตามเดิม พร้อมๆ กับประตูการเลือกตั้งที่ถูกปิดลงด้วย

นี่เราไม่เคยเรียนรู้ประวัติศาสตร์

หรือว่า พระเพทราชาจะเป็นใครสักคนในยุคนี้ที่ย้อนยุค (พร้อมๆ กับเกศสุรางค์ที่ไปใช้ร่างแม่การะเกด) เพื่อกลับไปทำรัฐประหารในครั้งกระโน้น 5555

ที่มา : FB@Decharut Sukkumnoed, ข่าวสด

เครดิต :

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
คุณ : u52682903
สถานะ : บุคคลทั่วไป
IP : 103.58.148.23

103.58.148.23,,host23.148.thvps.com ความคิดเห็นที่ 1 [อ้างอิง]
ขอขอบคุณสำหรับข้อมูล


[ วันเสาร์ ที่ 18 มีนาคม 2566 เวลา 01:40 น. ]
เช็คเบอร์มือถือ คลิ๊กเลย ++
กระทู้เด็ดน่าแชร์