“วินทร์ เลียววาริณ” ร่ายยาว ซัดปมยกเลิกอัญเชิญพระเกี้ยว
หน้าแรกTeeNee ข่าวร้อนโลกโซเชียล โพสของคนดัง “วินทร์ เลียววาริณ” ร่ายยาว ซัดปมยกเลิกอัญเชิญพระเกี้ยว
หนึ่งประเด็นที่กำลังเป็นดราม่าระอุ สืบเนื่องจากองค์การบริหารสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (อบจ.) ออกแถลงการณ์คณะกรรมการบริหารสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง ยกเลิกกิจกรรมขบวนอัญเชิญพระเกี้ยวในงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ - ธรรมศาสตร์ เพื่อยุติการผลิตซ้ำธรรมเนียมปฏิบัติที่สะท้อนถึงความไม่เท่าเทียม ไปเมื่อวานนี้ (23 ต.ค. 64)
ในโลกโซเชียลมีการวิพากษ์วิจารณ์เรื่องนี้กันมากมาย มีทั้งผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับแถลงการณ์
รวมทั้ง "วินทร์ เลียววาริณ" อดีตนิสิตจุฬาและศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ได้แสดงความเห็นถึงเรื่องนี้ ว่า
ช่วงหลังนี้ผมได้ยินข่าวเกี่ยวกับจุฬาฯหลายเรื่องซึ่งชวนอึดอัด ทั้งหมดฟังดูดี มีหลักการ ใช้คำพูดสวยหรู แต่อ่านระหว่างบรรทัดแล้ว ก็อดไม่ได้ต้องคิดว่ามันเป็นการ 'ตีวัวกระทบคราด' และ 'โยนหินถามทาง' และ 'กวาดทิ้งความเข้าใจ' ตามคำของ จอร์จ ออร์เวลล์ ข้างต้นหรือไม่
ผมเป็นเด็กต่างจังหวัด เข้ามาเรียนต่อที่กรุงเทพฯในชั้น ม.ศ. 4 ที่โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) เช่นเดียวกับโรงเรียนทั่วไป เครื่องแบบนักเรียนปักอักษรย่อ บ.ด. บนหน้าอก แต่ต่างจากโรงเรียนส่วนใหญ่ เรากลัดตราสีทองชิ้นหนึ่งเหนืออักษรย่อ
เข็มกลัดนั้นเรียกว่า พระเกี้ยว
หลังจากเรียนจบ ม.ศ. 5 ผมมีโอกาสเข้าเรียนในสถาบันที่ใช้ตราพระเกี้ยวอีกครั้ง คือจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย (ในสมัยผมเข้าเรียน ไม่มีการันต์เหนือ ณ) คราวนี้พบว่าเน็กไทที่เด็กปี 1 ใส่ปักตราพระเกี้ยว ชุดนิสิตหญิงก็มีตรานี้เช่นกัน ทั้งที่กลัดบนเสื้อและหัวเข็มขัด
พระเกี้ยวคืออะไรกันแน่?
พระเกี้ยวหรือจุลมงกุฎเป็นสัญลักษณ์และพิจิตรเลขาประจำรัชกาลในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มันมีความเชื่อมต่อกับรัชกาลที่ 4 ด้วย
เช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยทั่วโลกซึ่งล้วนใช้ตราที่มีความหมาย จุฬาฯก็เช่นกัน ในเมื่อรัชกาลที่ 5 ทรงริเริ่มโครงการสร้างมหาวิทยาลัยแห่งนี้ พระนามของพระองค์ก็เป็นที่มาของนามมหาวิทยาลัย และใช้สัญลักษณ์พระเกี้ยวประจำมหาวิทยาลัย
ย้ำ - สัญลักษณ์พระเกี้ยว ไม่ใช่ว่าวจุฬาฯ
สถาบันการศึกษาต่างๆ ที่มีรากฐานเดียวกันนี้ ล้วนใช้ตราพระเกี้ยว ไม่ว่าจะเป็นจุฬาฯ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา บดินทรเดชาฯ หอวัง และอีกหลายๆ โรงเรียน
พระเกี้ยวก็คือที่ระลึกชิ้นเล็กๆ ที่เชื่อมนักเรียนและนิสิตกับพระองค์ มันเป็นรากของเรา
เมื่อเข้าใจประวัติศาสตร์ที่มา ก็จะรู้ว่าพระเกี้ยวไม่ใช่และไม่เคยเป็นสัญลักษณ์ของความไม่เสมอภาค ตรงกันข้าม มันเป็นสัญลักษณ์ของความเสมอภาคทางการศึกษา ไม่ว่าคนฐานะใดก็ได้เล่าเรียนเท่ากัน มันยังเป็นสัญลักษณ์ของผู้ริเริ่มสร้างมหาวิทยาลัย มันเป็นสัญลักษณ์ของความรู้ และมันเป็นสัญลักษณ์ของความกตัญญู
ชาวจุฬาฯไม่ว่ารุ่นไหน อย่าลืมเป็นอันขาดว่าปราศจากเจ้าของตราพระเกี้ยวนี้ ก็ไม่มีเรา ไม่มีเราก็ไม่มีอนาคตของเรา
ใครก็ตามที่ชอบอ้างถึงอนาคตที่ดีกว่าโดยละทิ้งอดีต พึงสำนึกเสมอว่าอนาคตที่ไร้รากแห่งอดีตก็เหมือนคนที่ไร้เงา "ปฏิเสธและกวาดทิ้งความเข้าใจของพวกเขาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของพวกเขาเอง"
คุณค่าของมนุษย์เราอยู่ที่ความกตัญญูกตเวทิตา มีคุณให้ทดแทน และหากไม่ทดแทน อย่างน้อยก็ไม่เนรคุณ
วินทร์ เลียววาริณ
รากปี 2516
24 ตุลาคม 2564
ในโลกโซเชียลมีการวิพากษ์วิจารณ์เรื่องนี้กันมากมาย มีทั้งผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับแถลงการณ์
รวมทั้ง "วินทร์ เลียววาริณ" อดีตนิสิตจุฬาและศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ได้แสดงความเห็นถึงเรื่องนี้ ว่า
ช่วงหลังนี้ผมได้ยินข่าวเกี่ยวกับจุฬาฯหลายเรื่องซึ่งชวนอึดอัด ทั้งหมดฟังดูดี มีหลักการ ใช้คำพูดสวยหรู แต่อ่านระหว่างบรรทัดแล้ว ก็อดไม่ได้ต้องคิดว่ามันเป็นการ 'ตีวัวกระทบคราด' และ 'โยนหินถามทาง' และ 'กวาดทิ้งความเข้าใจ' ตามคำของ จอร์จ ออร์เวลล์ ข้างต้นหรือไม่
ผมเป็นเด็กต่างจังหวัด เข้ามาเรียนต่อที่กรุงเทพฯในชั้น ม.ศ. 4 ที่โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) เช่นเดียวกับโรงเรียนทั่วไป เครื่องแบบนักเรียนปักอักษรย่อ บ.ด. บนหน้าอก แต่ต่างจากโรงเรียนส่วนใหญ่ เรากลัดตราสีทองชิ้นหนึ่งเหนืออักษรย่อ
เข็มกลัดนั้นเรียกว่า พระเกี้ยว
หลังจากเรียนจบ ม.ศ. 5 ผมมีโอกาสเข้าเรียนในสถาบันที่ใช้ตราพระเกี้ยวอีกครั้ง คือจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย (ในสมัยผมเข้าเรียน ไม่มีการันต์เหนือ ณ) คราวนี้พบว่าเน็กไทที่เด็กปี 1 ใส่ปักตราพระเกี้ยว ชุดนิสิตหญิงก็มีตรานี้เช่นกัน ทั้งที่กลัดบนเสื้อและหัวเข็มขัด
พระเกี้ยวคืออะไรกันแน่?
พระเกี้ยวหรือจุลมงกุฎเป็นสัญลักษณ์และพิจิตรเลขาประจำรัชกาลในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มันมีความเชื่อมต่อกับรัชกาลที่ 4 ด้วย
เช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยทั่วโลกซึ่งล้วนใช้ตราที่มีความหมาย จุฬาฯก็เช่นกัน ในเมื่อรัชกาลที่ 5 ทรงริเริ่มโครงการสร้างมหาวิทยาลัยแห่งนี้ พระนามของพระองค์ก็เป็นที่มาของนามมหาวิทยาลัย และใช้สัญลักษณ์พระเกี้ยวประจำมหาวิทยาลัย
ย้ำ - สัญลักษณ์พระเกี้ยว ไม่ใช่ว่าวจุฬาฯ
สถาบันการศึกษาต่างๆ ที่มีรากฐานเดียวกันนี้ ล้วนใช้ตราพระเกี้ยว ไม่ว่าจะเป็นจุฬาฯ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา บดินทรเดชาฯ หอวัง และอีกหลายๆ โรงเรียน
พระเกี้ยวก็คือที่ระลึกชิ้นเล็กๆ ที่เชื่อมนักเรียนและนิสิตกับพระองค์ มันเป็นรากของเรา
เมื่อเข้าใจประวัติศาสตร์ที่มา ก็จะรู้ว่าพระเกี้ยวไม่ใช่และไม่เคยเป็นสัญลักษณ์ของความไม่เสมอภาค ตรงกันข้าม มันเป็นสัญลักษณ์ของความเสมอภาคทางการศึกษา ไม่ว่าคนฐานะใดก็ได้เล่าเรียนเท่ากัน มันยังเป็นสัญลักษณ์ของผู้ริเริ่มสร้างมหาวิทยาลัย มันเป็นสัญลักษณ์ของความรู้ และมันเป็นสัญลักษณ์ของความกตัญญู
ชาวจุฬาฯไม่ว่ารุ่นไหน อย่าลืมเป็นอันขาดว่าปราศจากเจ้าของตราพระเกี้ยวนี้ ก็ไม่มีเรา ไม่มีเราก็ไม่มีอนาคตของเรา
ใครก็ตามที่ชอบอ้างถึงอนาคตที่ดีกว่าโดยละทิ้งอดีต พึงสำนึกเสมอว่าอนาคตที่ไร้รากแห่งอดีตก็เหมือนคนที่ไร้เงา "ปฏิเสธและกวาดทิ้งความเข้าใจของพวกเขาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของพวกเขาเอง"
คุณค่าของมนุษย์เราอยู่ที่ความกตัญญูกตเวทิตา มีคุณให้ทดแทน และหากไม่ทดแทน อย่างน้อยก็ไม่เนรคุณ
วินทร์ เลียววาริณ
รากปี 2516
24 ตุลาคม 2564
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!" ประกาศ "
ร่วมแสดงความคิดเห็น