เลือดข้นกว่าน้ำ! ย้อนคดีดัง “ห้างทอง ธรรมวัฒนะ” เหมือนหรือต่างกับละคร “เลือดข้นคนจาง”
คดีนี้พนักงานสอบสวนชุดแรกที่เข้าคลี่คลายคดีสรุปความเห็นว่าการเสียชีวิตของนายห้างทอง เป็นการฆ่าตัวตาย ต่อมามีการรื้อคดีโดยกองปราบปราม ใช้เวลารวบรวมพยานหลักฐาน 4 ปีเศษ จนกระทั่งบุกเข้าจับกุมนายนพดล ธรรมวัฒนะ น้องชายนายห้างทอง เมื่อวันที่ 31 ต.ค. 46 และแจ้งข้อหา "ร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา" โดยพยานหลักฐานของตำรวจกองปราบปรามระบุว่า นายนพดลกับนายห้างทอง ซึ่งเป็นพี่ชายมีความขัดแย้งถึงขนาดจะฆ่ากันมาก่อน และช่วงเวลาที่เกิดเหตุก็อยู่ด้วยกันในห้องเกิดเหตุเพียงสองต่อสอง ก่อนที่ห้างทองจะสิ้นชีพ คดีนี้นายนพดล ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหาและต่อสู้คดีมาโดยตลอด
-28 ก.ย. 2547 ศาลสืบพยานโจทก์กลุ่มแรก ญาติพี่น้อง โดย "ณฤมล มังกรพานิชย์" น้องสาวคนที่ 7 เบิกความเป็นปากแรก ชี้ปมมรดกหมื่นล้านนำมาซึ่งความขัดแย้งภายในตระกูล หลังมารดาเสียชีวิต ปัญหาพินัยกรรมทำให้พี่-น้องแตกเป็น 2 ฝ่าย
-ต่อจากนั้น ศาลสืบพยานโจทก์เรื่อยมา อาทิ ปริญญา-ฐานิยา-คนึงนิตย์- นงนุช รวมทั้ง รปภ.ที่ดูแลบ้านธรรมวัฒนะ สรุปคำเบิกความสอดคล้องกันในประเด็นมรดก และปัญหาพินัยกรรม และเหตุการณ์วันเกิดเหตุ
-27- 28 ม.ค. 2548 ศาลสืบพยานโจทก์กลุ่มแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ พ.ญ.คุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ เบิกความ ให้ความเห็นประเด็นหลักฐานด้านนิติวิทยาศาสตร์ สรุปว่าการเสียชีวิตของห้างทองเกิดจากการฆาตกรรม มีการจัดฉากโดยให้เหตุผลลักษณะการไหลของคราบเลือดที่ขัดแย้งกับทฤษฎีแรงโน้มถ่วงของโลก ลายพิมพ์นิ้วมือที่ผิดปกติที่ปรากฏในภาพถ่ายของศพ การกระเด็นของคราบเลือด และยกความเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านนิติวิทยาศาสตร์จาก 4 ประเทศ ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญด้านอาวุธปืน ผู้เชี่ยวชาญด้านคราบเลือด และนิติวิทยาศาสตร์ ต่างลงความเห็นว่า การตายของห้างทอง ไม่ใช่ฆ่าตัวตาย แต่เกิดจากฆาตกรรม
-6 ก.ย. 2548 ฝ่าย ปริญญา-ณฤมล ยืนยันจะเผาศพพี่ชายโดยทำหนังสือถึงสำนักพระราชวัง ขอพระราชทานเพลิงศพ แต่ฝ่ายนพดล ค้านหัวชนฝา ยื่นคำร้องต่อศาล คัดค้านการเผาศพ อ้างคดียังไม่ถึงที่สุดเผาไม่ได้ ในเมื่อศึกชิงศพขึ้นสู่ชั้นศาลอีกครั้ง สำนักพระราชวังจึงต้องแจ้งงดการพระราชทานเพลิงศพ โดยให้เหตุผลว่าเนื่องจากการตายของห้างทองยังไม่สามารถชี้ชัดได้ว่าเป็นการฆ่าตัวตาย หรือฆาตกรรม
-5 ก.ย. 2548 "นพดล" เฮ! เมื่อศาลมีคำสั่งอายัดศพ "ห้างทอง" จนกว่าคดีจะสิ้นสุด ตามการร้องขอ ให้เหตุผลว่าศพยังเป็นวัตถุพยานสำคัญ อาจเป็นประโยชน์และเพื่อความเป็นธรรมต่อจำเลยเนื่องจากคดียังไม่สิ้นสุด
-10 ต.ค. 2548 "นพดล" ยื่นคำร้องต่อศาลขอผ่าพิสูจน์ศพ "ห้างทอง" เป็นครั้งที่ 3 อ้างเพื่อความเป็นธรรมและประโยชน์ในการต่อสู้คดีของจำเลย พร้อมกับยื่นคำร้องคัดค้านจ่ายค่ารักษาศพพี่ชาย แฉหลักฐานยัน ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ตามที่ฝ่ายปริญญากล่าวอ้าง
-28 พ.ย. 2548 ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ผ่าศพห้างทองเป็นครั้งที่ 3 ตามการร้องขอของ "นพดล" ได้ เนื่องจากเห็นว่า ที่ผ่านมาระหว่างการสืบพยานโจทก์ ฝ่ายจำเลยคัดค้านมาโดยตลอดเกี่ยวกับกระบวนการพิสูจน์ความผิดของจำเลยว่ายังไม่ถูกต้องครบถ้วน ดังนั้น เพื่อเป็นการให้โอกาสจำเลยต่อสู้คดีอย่างเต็มที่ ศาลจึงมีคำสั่งอนุญาตให้ดำเนินการผ่าชันสูตรพลิกศพนายห้างทองครั้งที่ 3
-14 ธ.ค.2548 ศาลนัดพร้อมคู่ความแถลงรายละเอียดผ่าศพห้างทอง โดยจำเลยเสนอชื่อแพทย์ผ่าศพเพียบ และเลือกสถาบันนิติเวชวิทยา รพ.ตำรวจ รวมทั้งร้องขอกำหนดประเด็นตรวจพิสูจน์อย่างละเอียด ขณะที่อัยการคัดค้าน ระบุว่าไม่จำเป็นต้องใช้หมอมากไป และขอตรวจสอบรายชื่อแพทย์เพื่อคัดเลือกให้เหลือเพียง 3 คน รวมทั้งสถานที่ผ่าพิสูจน์ศพว่ามีความพร้อมจริงหรือไม่ ศาลจึงนัดพร้อมคู่ความอีกครั้ง 27 ธ.ค. 48 เพื่อแถลงรายละเอียดการผ่าพิสูจน์ศ
หลังสิ้นสุดคดีฆาตกรรมนายห้างทอง ธรรมวัฒนะ ยังมีคดีฟ้องร้องของคนในตระกูลธรรมวัฒนะ อย่างต่อเนื่องบางคดีสามารถเจรจาตกลงกันได้ ตลอดระยะเวลากว่า 14 ปี ที่คดีความของคนในตระกูลธรรมวัฒนะ ถูกนำเข้าสู่กระบวนการของศาล มีบางคดีที่ต้องใช้คำพิพากษาของศาลตัดสิน จนกระทั้ง 29 ก.ค.2557 ศาลอาญาได้มีการนัดไกล่เกลี่ย คดีที่ นายวิกรม ธรรมวัฒนะ เป็นโจทก์ฟ้อง นางสาวคนึงนิตย์ ธรรมวัฒนะ นางนฤมล มังกรพานิชย์ และนายนรินทร์ วงศ์ไทย ในความผิดฐานเบิกความเท็จ นำสืบหรือแสดงหลักฐานอันเป็นเท็จ จนในที่สุดความขัดแย้งของพี่น้องทั้งสองฝ่ายก็จบลงได้ด้วยดี หลังจากนั้นเรื่องราวของตระกูลธรรมวัฒนะ ก็เงียบหายไป พี่น้องในตระกูลธรรมวัฒนะ ก็หันไปทุ่มเทกับการดูแลธุรกิจของแต่ละคนกันตามปกติ