เริ่มแล้วเก็บซากกระทง! กทม.ขีดเส้น 6 โมงเช้าต้องจบ
เจ้าหน้าที่กรุงเทพมหานคร ได้เริ่มออกสตาร์ทจัดเก็บกระทงในแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณท่าเรือสะพานพุทธยอดฟ้า เขตพระนคร แล้วตั้งแต่เวลาประมาณ 21.00น.ของวันที่ 22 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา โดยมีกำหนดเสร็จสิ้นในเวลา 6.00น. ของวันนี้(23 พฤศจิกายน 2561)
สำนักสิ่งแวดล้อมได้จัดเจ้าหน้าที่ประจำจุดคอยเก็บกระทงบนผิวน้ำตั้งแต่บริเวณใต้สะพานพระราม 7 ไปจะถึงบริเวณวัดโยธินประดิษฐ์ เขตบางนา ระยะทางประมาณ 34 กิโลเมตร (กม.) โดยแบ่งพื้นที่ออกเป็น 3 โซน ได้แก่ สะพานพระราม 7ถึงสะพานพุทธ สะพานพุทธฯ ถึงสะพานกรุงเทพฯ และสะพานกรุงเทพถึงสุดเขตบางนา โดยจัดเจ้าหน้าที่ในการจัดเก็บกระทง จำนวน 213 คน พร้อมใช้เรือในการจัดเก็บกระทงและเรือตรวจการณ์ จำนวน 40 ลำ และใช้รถบรรทุกเก็บขนมูลฝอยจำนวน 9 คัน ในการลำเลียงกระทงไปส่งที่สถานีขนถ่ายมูลฝอย โดยจะใช้จุดลำเลียง 2 จุด ได้แก่ บริเวณปากคลองโอ่งอ่าง สะพานพุทธฯ เขตพระนคร และท่าคลังสินค้า กระทรวงพาณิชย์ เขตราษฎร์บูรณะ
ทั้งนี้กรุงเทพมหานครจะเริ่มดำเนินการจัดเก็บกระทงตั้งแต่เวลา 20.00 น. ของวันที่ 22 พ.ย.61 เป็นต้นไป และจะเร่งจัดเก็บให้แล้วเสร็จในทุกพื้นที่ภายในเวลา 06.00 น. ของวันรุ่งขึ้น สำหรับกระทงที่จัดเก็บได้จะเข้าสู่กระบวนการแยกประเภทและนับจำนวนเพื่อเก็บสถิติ ก่อนที่กระทงจากวัสดุธรรมชาติและย่อยสลายง่ายจะถูกส่งไปเข้าโรงงานผลิตปุ๋ยอินทรีย์ (หนองแขม) ส่วนกระทงโฟมจะถูกส่งไปฝังกลบเพื่อรอการย่อยสลายต่อไป
จากสถิติในปี 2560 กรุงเทพมหานครจัดเก็บกระทงได้จำนวน 811,945 ใบ เป็นกระทงจากวัสดุธรรมชาติ จำนวน 760,019 ใบ คิดเป็นร้อยละ 93.6 กระทงโฟม จำนวน 51,926 ใบ คิดเป็นร้อยละ 6.4 เมื่อเทียบกับปี 2559 พบว่าปริมาณกระทงเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.7 และแนวโน้มปริมาณกระทงที่ทำจากวัสดุธรรมชาติ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ในขณะที่การใช้กระทงโฟมมีปริมาณลดลง เนื่องจากกรุงเทพมหานครได้มีการรณรงค์ประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องให้ประชาชนหันมาใช้กระทงที่ทำจากวัสดุธรรมชาติ หรือวัสดุที่ย่อยสลายได้ง่าย เช่น กระทงที่ทำจากหยวกกล้วยและใบตอง แป้งมันสำปะหลัง ชานอ้อย
ซึ่งจะเป็นการช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอีกทางหนึ่งด้วย และได้ขอความร่วมมือเขตแจ้งสถานประกอบการที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาและคลองในพื้นที่ที่มีการลอยกระทงงดใช้กระทงโฟม
รวมทั้งรณรงค์ขอความร่วมมือให้ลอยกระทงด้วยกัน ในรูปแบบ 1 ครอบครัว 1 กระทง, 1 คู่รัก 1 กระทง, 1 กลุ่ม 1 กระทง หรือลอยกระทงออนไลน์#
สำนักสิ่งแวดล้อมได้จัดเจ้าหน้าที่ประจำจุดคอยเก็บกระทงบนผิวน้ำตั้งแต่บริเวณใต้สะพานพระราม 7 ไปจะถึงบริเวณวัดโยธินประดิษฐ์ เขตบางนา ระยะทางประมาณ 34 กิโลเมตร (กม.) โดยแบ่งพื้นที่ออกเป็น 3 โซน ได้แก่ สะพานพระราม 7ถึงสะพานพุทธ สะพานพุทธฯ ถึงสะพานกรุงเทพฯ และสะพานกรุงเทพถึงสุดเขตบางนา โดยจัดเจ้าหน้าที่ในการจัดเก็บกระทง จำนวน 213 คน พร้อมใช้เรือในการจัดเก็บกระทงและเรือตรวจการณ์ จำนวน 40 ลำ และใช้รถบรรทุกเก็บขนมูลฝอยจำนวน 9 คัน ในการลำเลียงกระทงไปส่งที่สถานีขนถ่ายมูลฝอย โดยจะใช้จุดลำเลียง 2 จุด ได้แก่ บริเวณปากคลองโอ่งอ่าง สะพานพุทธฯ เขตพระนคร และท่าคลังสินค้า กระทรวงพาณิชย์ เขตราษฎร์บูรณะ
ทั้งนี้กรุงเทพมหานครจะเริ่มดำเนินการจัดเก็บกระทงตั้งแต่เวลา 20.00 น. ของวันที่ 22 พ.ย.61 เป็นต้นไป และจะเร่งจัดเก็บให้แล้วเสร็จในทุกพื้นที่ภายในเวลา 06.00 น. ของวันรุ่งขึ้น สำหรับกระทงที่จัดเก็บได้จะเข้าสู่กระบวนการแยกประเภทและนับจำนวนเพื่อเก็บสถิติ ก่อนที่กระทงจากวัสดุธรรมชาติและย่อยสลายง่ายจะถูกส่งไปเข้าโรงงานผลิตปุ๋ยอินทรีย์ (หนองแขม) ส่วนกระทงโฟมจะถูกส่งไปฝังกลบเพื่อรอการย่อยสลายต่อไป
จากสถิติในปี 2560 กรุงเทพมหานครจัดเก็บกระทงได้จำนวน 811,945 ใบ เป็นกระทงจากวัสดุธรรมชาติ จำนวน 760,019 ใบ คิดเป็นร้อยละ 93.6 กระทงโฟม จำนวน 51,926 ใบ คิดเป็นร้อยละ 6.4 เมื่อเทียบกับปี 2559 พบว่าปริมาณกระทงเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.7 และแนวโน้มปริมาณกระทงที่ทำจากวัสดุธรรมชาติ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ในขณะที่การใช้กระทงโฟมมีปริมาณลดลง เนื่องจากกรุงเทพมหานครได้มีการรณรงค์ประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องให้ประชาชนหันมาใช้กระทงที่ทำจากวัสดุธรรมชาติ หรือวัสดุที่ย่อยสลายได้ง่าย เช่น กระทงที่ทำจากหยวกกล้วยและใบตอง แป้งมันสำปะหลัง ชานอ้อย
ซึ่งจะเป็นการช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอีกทางหนึ่งด้วย และได้ขอความร่วมมือเขตแจ้งสถานประกอบการที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาและคลองในพื้นที่ที่มีการลอยกระทงงดใช้กระทงโฟม
รวมทั้งรณรงค์ขอความร่วมมือให้ลอยกระทงด้วยกัน ในรูปแบบ 1 ครอบครัว 1 กระทง, 1 คู่รัก 1 กระทง, 1 กลุ่ม 1 กระทง หรือลอยกระทงออนไลน์#
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!" ประกาศ "
ร่วมแสดงความคิดเห็น