สิ้นสุดการรอคอย! ‘โขนไทย’ เป็นมรดกโลก เปิดข้อแตกต่าง โขนไทย VS โขนเขมร!!


สิ้นสุดการรอคอย! ‘โขนไทย’ เป็นมรดกโลก เปิดข้อแตกต่าง โขนไทย VS โขนเขมร!!

ช่วงค่ำของวันที่ 29 พ.ย. 2561ตามเวลาในประเทศไทย ดร.ดร.อนุชา ทีรคานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันไทยคดีศึกษา เปิดเผยผ่านเฟซบุ๊กถึงการเข้าร่วมประชุม UNESCO เพื่อการพิจารณามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ ซึ่งประเทศไทยได้ยื่นขอขึ้นทะเบียนการแสดงโขนในการประชุมคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการสงวนรักษามรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ครั้งที่ 13 ณ เมือง Port Louis สาธารณรัฐมอริเชียส โดยโพสต์ข้อความระบุถึงการได้รับรองจากยูเนสโกเพียงสั้นๆ ว่า Adopted โดยก่อนหน้าที่การประกาศผล ดร.อนุชาได้โพสต์ภาพหลังเวที รวมถึงข้อความ ‘กราบครู และบูรพกษัตริย์'

ต่อมา กระทรวงวัฒนธรรมของไทย ได้ยืนยันอย่างเป็นทางการว่า ยูเนสโก ประกาศขึ้นบัญชี ‘Khon, masked dance drama in Thailand' (การแสดงโขนในประเทศไทย) ในรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ อย่างเป็นทางการ

นอกจากนี้ ทวิตเตอร์ ยูเนสโก ได้เผยแพร่ข่าวดังกล่าว พร้อมแสดงความยินดีกับโขนไทยอีกด้วย

ด้าน ดร.อนุชา ทีรคานนท์ ผอ.สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หนึ่งในผู้เข้าร่วมประชุม UNESCO เพื่อการพิจารณามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติครั้งนี้ ได้อธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับกรณีดังกล่าวโดยสังเขป ระบุถึงประเภทของการขึ้นทะเบียนตามอนุสัญญามรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ทั้ง 3 ประเภทซึ่ง "ลครโขลวัดสวายอันเด็ต" ของประเทศกัมพูชา กับ "โขนไทย" เป็นการขึ้นทะเบียนคนละประเภทกัน


รายละเอียดดังนี้

การขึ้นทะเบียนตามอนุสัญญามรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ มี 3 ประเภทคือ

1.บัญชีรายการตัวแทนมรดกทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ (representative list of intagible cultural heritage of humankind) 
2.รายการที่ต้องได้รับการส่งเสริมและรักษาอย่างเร่งด่วน (urgent list)
3.รายการมรดกทางวัฒนธรรมที่เป็นแบบอย่างที่ดีในการสงวนรักษา (good practice)

การขึ้นทะเบียนมีวัตถุประสงค์หลักคือการชื่นชมในการมีอยู่ของรายการมรดกทางวัฒนธรรมของประเทศภาคีสมาชิก

การขึ้นทะเบียน "ลครโขลของวัดสวายอันเด็ต" ของประเทศกัมพูชา เป็นการขึ้นทะเบียนในประเภทที่ 2 (urgent list) ซึ่งมีสาระสำคัญคือความเป็นโขนที่ชุมชนร่วมกันฟื้นฟูและอนุรักษ์

การขึ้นทะเบียน "โขนไทย" เป็นการขึ้นทะเบียนในประเภทที่ 1 มีสาระสำคัญคือเป็นการแสดงที่มีการปฏิบัติสืบทอดอยู่ทั่วประเทศ

รายละเอียดดังที่ ดร.อนุชากล่าวมา ชี้ชัดว่า โขนไทยและกัมพูชา ไม่ได้ประชันขันแข่งกันในลักษณะแพ้ชนะอย่างที่มักถูกเข้าใจผิดดังที่ก่อเกิดดราม่าอยู่บ่อยครั้ง

สิ้นสุดการรอคอย! ‘โขนไทย’ เป็นมรดกโลก เปิดข้อแตกต่าง โขนไทย VS โขนเขมร!!

นอกจากนี้ ผู้ใช้เฟซบุ๊ก chakrit sittirit ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้เดินทางเข้าร่วมงานดังกล่าว ก็ได้เผยแพร่รายละเอียดเกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนโขนไทยไว้อย่างน่าสนใจ และทำความเข้าใจได้ง่าย ชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างการขอขึ้นทะเบียนคนละประเภท กล่าวคือ โขนไทย ไม่ได้มีความจำเป็นต้องเสนอขึ้นบัญชี ‘เร่งด่วน' เพราะหวั่นสูญหายเหมือนกรณี ลคอนโขลวัดสวายอันเด็ต ของกัมพูชาเพราะโขนไทยมีการสืบทอดทั่วประเทศ

รายละเอียดดังนี้
1. ประเทศไทยขอขึ้นรายการโขนเป็นรายการตัวแทน เนื่องจากโขนบ้านเรามีการถือปฏิบัติและมีการสืบทอดทั่วไปทั้งประเทศ ดังนั้น จึงไม่จำเป็นต้องเสนอขึ้นบัญชีเป็นรายการเร่งด่วน ซึ่งอย่างหลังต้องแสดงให้เห็นถึงความเสี่ยงที่จะสูญหาย เช่น กลุ่มผู้สืบทอดน้อยราย มีการถือปฏิบัติน้อยรายหรือจำกัดพื้นที่ถือปฏิบัติ เป็นต้น นั่นแสดงว่าโขนที่เราขอขึ้นนั้นมีกระบวนการบริการจัดการภายในประเทศที่มีประสิทธิภาพในระดับหนึ่งเช่นกัน

2. กรณีละครโขนของกัมพูชาที่ได้รับขึ้นเป็นรายการเร่งด่วนเมื่อวานนั้น เป็นเพราะทางยูเนสโกได้ลำดับการพิจารณาจากรายการเร่งด่วนมาก่อน แล้วจึงค่อยพิจารณารายการตัวแทน ซึ่งจะเห็นได้ว่ารายการของกัมพูชามีการถือปฏิบัติเพียงเฉพาะพื้นที่ รวมถึงเสี่ยงต่อการสูญหายเนื่องจากกำลังขาดผู้สืบทอด จึงต้องเสนอเป็นรายการเร่งด่วน

ดังนั้น ในจุดนี้ทั้งสองประเทศจึงขอขึ้นรายการของตนเองในคนละประเภทกัน ตลอดจนในรายละเอียดรูปแบบ ศิลปะ การแต่งกาย การถือปฏิบัติ พิธีกรรม ก็มีความแตกต่างกัน ซึ่งหากจะขึ้นในประเภทเดียวกัน ก็จะสามารถกระทำได้เช่นเดียวกัน โดยหากเป็นเช่นนั้นจริง ยูเนสโกมักจะขอให้ขึ้นร่วมกันในอนาคต

3. ยูเนสโกจะพิจารณารายการเพื่อขึ้นบัญชีเพียงปีละ 50 รายการเท่านั้น และแต่ละประเทศจะเสนอได้เพียงปีละ 1 รายการเท่านั้น ดังนั้น แต่ละชาติก็ต้องรีบทำการบ้านเพื่อเตรียมเสนอให้ตนเองมีพื้นที่เหล่านั้นในแต่ละปี

สิ้นสุดการรอคอย! ‘โขนไทย’ เป็นมรดกโลก เปิดข้อแตกต่าง โขนไทย VS โขนเขมร!!

ชาคริต ยังปิดท้ายว่า รายการทุกรายการสมควรที่มนุษยชาติจะร่วมกันชื่นชมดังเจตนารมณ์ของอนุสัญญาสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้

ทั้งนี้ จากการตรวจสอบ คำประกาศขึ้นทะเบียน "ละคอนโขน วัดสวายอันเด็ต" ไม่ได้ปรากฏอยู่ในเว็บไซต์หลักของยูเนสโก ว่าด้วยการพิจารณาขึ้นทะเบียนมรดกโลกแต่อย่างใด แต่ปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ย่อยว่าด้วยมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ (Intangible Cultural Heritage) และเป็นการพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาแยกต่างหาก ที่เรียกว่า "คณะกรรมการระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้" (the Intergovernmental Committee for the Safeguarding of the Intangible Cultural Heritage) สมัยประชุมที่ 13 (13.COM) โดยมีนาย พฤทธิวิราชสิง รูปัน รัฐมนตรีกระทรวงศิลปะและวัฒนธรรม แห่ง มอริเชียส ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุม

สิ้นสุดการรอคอย! ‘โขนไทย’ เป็นมรดกโลก เปิดข้อแตกต่าง โขนไทย VS โขนเขมร!!


ในคำประกาศขึ้นทะเบียนครั้งนี้ คณะกรรมการฯ กล่าวถึง "ละคอนโขนวัดสวายเด็ต" ไว้ว่า เป็นการละเล่นของชุมชนซึ่งอยู่โดยรอบวัดแห่งนี้ ซึ่งตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง ห่างจากกรุงพนมเปญไปทางตะวันออกราว 10 กิโลเมตร เป็นการแสดงโดยผู้แสดงชายล้วน สวมหน้ากาก (หัวโขน) มีวงดนตรีดั้งเดิมบรรเลงประกอบ พร้อมขับคำร้องคลอตามทำนอง เป้าหมายเฉพาะของการแสดงนี้ เพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับ "เนียกทา" ซึ่งถือเป็นเทพอารักษ์ประจำพื้นที่และชุมชน เพื่อให้ปกป้องคุ้มครองและนำพาความรุ่งเรืองมาสู่ชุมชน ผืนแผ่นดินและการเก็บเกี่ยว

เมื่อมีการแสดงละคอนโขนนั้น จะมีคนทรงร่วมอยู่ด้วย ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางระหว่าง เนียกทา, ผู้แสดง และคนในชุมชน หากเทพอารักษ์พึงพอใจกับการแสดงชาวบ้านในชุมชนจะได้รับพร ไม่เช่นนั้นแล้ว ผู้แสดงจะหยุดการแสดง ดนตรีบรรเลงต่อไป และผู้ชมจะนิ่งเงียบเพื่อรับฟังสิ่งที่เทพอารักษ์สื่อออกมา

ยูเนสโกระบุว่า ละคอนโขน เป็นการแสดงซึ่งมีวัตถุประสงค์ในเชิงพิธีกรรม ส่วนใหญ่แล้วมักเชื่อมโยงอยู่กับวัฏจักรของการทำนาข้าวและความต้องการด้านต่างๆของชุมชนเกษตรกรรมดังกล่าว การละเล่นนี้ถ่ายทอดโดยปากเปล่าอยู่ภายในชุมชน เพิ่งจะมีเมื่อเร็วๆ นี้ที่เจ้าอาวาสวัดสวายฯ และครูใหญ่โรงเรียนประถมแห่งหนึ่ง เริ่มจัดทำบันทึกบทร้องบางตอนขึ้นไว้ และจัดให้มีชั้นเรียนการแสดงนี้ในวันหยุดสุดสัปดาห์

ในตอนท้าย ยูเนสโกระบุไว้ว่า
 หลังจากผ่านการสืบทอดมานานหลายชั่วอายุ ปัจจัยหลายๆ ด้านกำลังคุกคามการดำรงอยู่ของการแสดงนี้ รวมทั้งปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม, ทรัพยากรไม่เพียงพอ, การโยกย้ายออกจากชุมชนด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจ และการขาดการถ่ายทอดช่วงใหญ่ต่อเนื่องกันนานถึง 14 ปี ระหว่างปี 1970-1984 (พ.ศ. 2513-2527) สืบเนื่องจากสงครามและระบอบการปกครองเขมรแดง

สิ้นสุดการรอคอย! ‘โขนไทย’ เป็นมรดกโลก เปิดข้อแตกต่าง โขนไทย VS โขนเขมร!!


สิ้นสุดการรอคอย! ‘โขนไทย’ เป็นมรดกโลก เปิดข้อแตกต่าง โขนไทย VS โขนเขมร!!

Cr:: matichon.co.th

สิ้นสุดการรอคอย! ‘โขนไทย’ เป็นมรดกโลก เปิดข้อแตกต่าง โขนไทย VS โขนเขมร!!

เครดิต :

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
คุณ : อยู่ว่างๆ
สถานะ : บุคคลทั่วไป
IP : 1.47.167.133

1.47.167.133,,1.47.167.133 ความคิดเห็นที่ 1 [อ้างอิง]
สุดยอดมันต้องอย่างงี้


[ วันพฤหัสบดี ที่ 29 พฤศจิกายน 2561 เวลา 22:59 น. ]
คุณ : u1836803543
สถานะ : บุคคลทั่วไป
IP : 103.58.148.23

103.58.148.23,,host23.148.thvps.com ความคิดเห็นที่ 2 [อ้างอิง]
ขอขอบคุณสำหรับข้อมูล


[ วันเสาร์ ที่ 18 มีนาคม 2566 เวลา 01:43 น. ]
เช็คเบอร์มือถือ คลิ๊กเลย ++
กระทู้เด็ดน่าแชร์