ให้กระจ่าง! ความแตกต่างระหว่าง โขนไทย & ลคอนโขลกัมพูชา
เฟซบุ๊กเพจ ASEAN “มอง” ไทย ได้โพสต์ข้อมูลกพร้อมภาพ อธิบายความแตกต่างระหว่าง โขนไทย & ลคอนโขลกัมพูชา โดยระบุข้อความว่า
ความแตกต่าง โขนไทย & ลคอนโขลกัมพูชา
- โขนไทย หรือ "Khon" จดทะเบียนกับ IHC UNESCO 2018 ในนามว่า "Khon masked dance drama in Thailand" คือการแสดงโขนโดยครอบคลุมทั้งหมด อยู่ในสภาวะปกติ (RL) หมายถึง Representative List of the Intangible Cultural Heritage of Humanity.
- ลคอนโขลกัมพูชา หรือ Lkhon Khol Wat Svay Andet (ลคอนโขลวัดสวายอันเดท) จดทะเบียนกับ IHC UNESCO 2018 ในปีเดียวกับไทย แต่กัมพูชาจดทะเบียนเสร็จก่อน 1 วัน เนื่องจากลคอนโขลกัมพูชาอยู่ในหมวด 10.a มีเพียง 7 ประเทศ เป็นหมวดของวัฒนธรรมใกล้ตายหรือใกล้สูญหาย ควรรีบเร่งในการเก็บรักษาและป้องกัน อยู่ในสภาวะอันตราย (USL) หมายถึง Intangible Cultural Heritage in Need of Urgent Safeguarding. จากข้อมูลรายงานว่ากัมพูชาเหลือครูลคอนโขลเพียง 5-10 คนเท่านั้น และทุกท่านเป็นผู้สูงอายุ
อีกหนึ่งข้อมูลระบุว่า : คณะโขลวัดสวายอันเดทเรียนมาจากขนบโขนไทยโบราณ ในราชสำนักกัมพูชาที่นักองค์ด้วงขอมาจากราชสำนักกรุงเทพ เป็นโขนชายล้วน ซึ่งต่อมาของไทยขาดผู้สืบทอดไปซึ่งคณะนี้เป็นคณะเชลยศักดิ์ ต่อมาสิ้นองค์ด้วงแล้วคณะผู้ชายหมดความนิยมลง ในราชสำนักเขมรจึงเลิกเล่นโขนผู้ชายเหมือนกรุงเทพ พวกมหาดเล็กเก่าเอาของในวังมาเล่นกันต่อนอกวัง จึงเหลือเวอร์ชั่นชายที่วัดสวายอันเดท
ต่อมาลคอนโขลเขมรเจอพิษภัยสงคราม ครูละครดีๆหายไปเกือบหมด คณะวัดสวายรอดมาได้เพียงคณะเดียว แต่เพราะเป็นคณะเชลยศักดิ์ เครื่องแต่งกายหัวโขนต่างๆเป็นของพื้นบ้าน ปัจจุบันจึงเพี้ยนไปหมด (ทั้งยังนิยมเล่นตอนกุมภกรรณทดน้ำเป็นหลัก)
ดังนั้นการจดทะเบียนของกัมพูชาล่าสุดได้ระบุว่า ลคอนโขลเป็นพิธีกรรม ใช้แสดงเพื่อขอฝนหรือเล่นเพื่อการเฉลิมฉลอง ฯลฯ
ลคอนโขลกัมพูชา ปัจจุบันแยกได้ 2 ชนิด คือ
1. ลคอนโขลวัดสวาย - Lkhon Khol Wat Svay Andet 2018 ที่พึ่งจดทะเบียนไปล่าสุดพร้อมไทย
2. ลคอนโขลราชสำนักกัมพูชา - ในส่วนนี้ไม่ได้จดทะเบียนในนามโขลแต่อย่างใด เมื่อปี 2008 มีการจดทะเบียนรวมว่า Royal ballet of Cambodia 2008 คือการแสดงทุกอย่างของราชสำนักกัมพูชา ไม่ว่าจะเป็นระบำอัปสรา, รำถวาย, รำดอกไม้, รำนก รวมถึงระบำที่เจ้าหญิงบุพผาเทวีได้ทรงประดิษฐ์คิดค้น ฯลฯ โดยในนั้นมีลคอนโขลอยู่ด้วย โดยการจดทะเบียนอ้างอิงแต่เพียงการร่ายรำ การจับ การวางท่า ไม่ได้เจาะจงว่าเป็นการแสดงอะไร ในเอกสารมีภาพแกะสลักบนปราสาทหิน เช่น พระนารายณ์ร่ายรำ, พระวิษณุร่ายรำ, พระอิศวรร่ายรำ ไปจนถึงนางอัปสรานครวัดร่ายรำ หรือแม้แต่เทพฮินดูแสดงปาฏิหาริโดยการร่ายรำ ดังนั้นในหัวข้อ Royal ballet of Cambodia 2008 คือการขึ้นทะเบียนศิลปะการร่ายรำของราชสำนักกัมพูชา
ที่มา FB : ASEAN “มอง” ไทย
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!" ประกาศ "
ร่วมแสดงความคิดเห็น