“การต้านภัยโควิด-19 แบบยั่งยืน”


 “การต้านภัยโควิด-19 แบบยั่งยืน”

ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ได้เผยโพสต์ผ่านเฟ้ชบุ้กส่วนตัว ถึงสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทย

 ระบุว่า

“การต้านภัยโควิด-19 แบบยั่งยืน”

จากพี่หมอ ชำนาญ ภู่เอี่ยม

  มีข้อความอยู่ 2 ประโยค ที่จะมอบพี่น้องคนไทยให้ช่วยคิดกัน ณ.เวลานี้

1.”เพราะโลกเปลี่ยนเราจึงเปลี่ยนตาม”
(The world change and we change with it.)
หรือ เพราะประเทศเราเปลี่ยน คนไทยจึงเปลี่ยนตาม
หรือ เพราะโควิดเปลี่ยนประเทศไทย คนไทยจึงต้องเปลี่ยน

2.”เพราะเราเปลี่ยน โลกจึงเปลี่ยน”
(When we change the world change.)
หรือ เพราะคนไทยเปลี่ยน ประเทศไทยจึงเปลี่ยน...

เปลี่ยนตามข้อแรก เขาเรียกว่าถูกกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกพัดพาไป คือถูกบังคับให้เปลี่ยน ซึ่งเหตุการณ์ขณะนี้คือถูกโควิด บังคับให้เปลี่ยน พวกเราต้องถูกพัดพาไปในจุดที่เราไม่ถนัด ต้องพากันหลบซ่อนตัวที่เรียกโก้ๆว่า Stay Home หรือ Stay at Home และพากันมีพฤติกรรมรักสันโดษขึ้นมาอย่างกระทัน และ เกิดพฤติกรรม AntiSocial กันทั้งสังคมโลก ที่พูดให้ฟังดูดีว่า..รักษาระยะห่างทางสังคม(Social Distancing)... ขณะที่บางรายตกเป็นเหยื่อ บางรายก็กลายเป็นแนวร่วมช่วยโควิดแพร่เชื้ออยู่ทั่วไป

การเปลี่ยนที่2 “เพราะคนไทยเปลี่ยน ประเทศชาติจึงเปลี่ยน”ฟังดูดี แต่ฟังดูเหมือนแค่วาทะกรรมที่เลื่อนลอย ฟังดูเหมือนเป็นความฝัน แต่ถ้ามองในแง่ความเป็นไปได้  ก็ต้องบอกว่ามีความเป็นไปได้ถ้าคนไทยส่วนใหญ่เปลี่ยนตนเอง และ ช่วงเวลานี้ยิ่งมีความเป็นไปได้สูงมาก ส่วนจะเป็นไปได้อย่างไรนั้น ขออธิบายดังนี้..

1.โควิดนั้นไม่สามารถปฏิบัติการแบบ Standaloneได้ คือ มันไม่สามารถขยายพันธ์ุ แพร่เชื้อได้ด้วยตัวของมันเอง มันต้องใช้ร่างมนุษย์เป็นแนวร่วมในการขยายพันธุ์ และแพร่เชื้อ 

ดังนั้น ถ้าคนไทยทุกคนไม่ยอมร่วมมือกับมัน ป้องกันตัวไม่ยอมให้ให้มันอาศัยร่างเรา มันก็ไม่สามารถแพร่พันธุ์ หรือ ทำอะไรเราได้ 

เพียงแค่คนไทยทุกคนต้องรู้จักดูแลตนเองและควบคุมวินัยตนเองอย่างเคร่งครัด(Selfcontrol) คือต้องมีวินัย รู้จักหน้าที่ที่พึงทำและมีจิตสำนึกต่อส่วนรวมอย่างเคร่งครัดตลอดเวลา เราก็จะไม่ตกเป็นเหยื่อ หรือ เป็นแนวร่วมช่วยโควิดแพร่เชื้อได้

2.ช่วงนี้ประเทศชาติของเราอยู่ในช่วงที่กำลังได้รับความสนับจากประชาชนสูงขึ้นเรื่อยๆ ประกอบพบผู้ติดเชื้อโควิดรายใหม่น้อยลงมาก ทำให้เกิดกำลังใจ และมีบรรยากาศแห่งความร่วมมือจากประชาชนสูง

3.โควิด-19 เป็นภัยใกล้ตัวของทุกคนโดยไม่เลือกฐานะ โดยไม่เลือกพวก ไม่เลือกฝ่าย

4.การที่จัดการกับโควิดได้อย่างจีรังยั่งยืน ต้องถือเป็นหน้าที่ของทุกคน (ไม่ใช่แค่ขอความร่วมมือ) เพราะ ทุกคนตกอยู่ในอันตรายเท่าเทียมกัน

5.คนไทยเริ่มมีการเรียกร้องให้ผ่อนคลายมาตรการต่างๆมากขึ้นทั้งๆยังไม่น่าไว้วางใจ บอกตรงๆ น่าเป็นห่วงมาก เพราะยังไม่มีหลักประกันด้านวินัย และ หน้าที่ความรับผิดชอบของประชาชน ถ้าพลาดไปจนเกิดการระบาดคลื่นที่2 จะรุนแรงกว่าคลื่นลูกแรกหลายเท่ตัว ขอให้ดูประเทศสิงคโปร์เป็นแบบอย่าง

6.ถึงแม้การระบาดของโควิด-19 จะผ่านไป การระบาดของโรคลักษณะนี้ในอนาคตก็อาจขึ้นมาเมื่อไรก็ได้ ถ้าเราไม่ปลูกฝังวินัยด้านสุขภาพแก่ประชาชนให้อยู่ในสายเลือดจนกลายเป็นวัฒนธรรม เราอาจจะไม่สามารถรับมือกับการระบาดลักษณะนี้ได้อย่างมีประสิทธภาพในอนาคต

7.มีตัวอย่างที่ดีถึงความเป็นไปได้จากประเทศเกาหลีใต้ หลังที่เกาหลีใต้เพรี่ยงพร้ำโควิดจนเกือบเอาตัวไม่รอด เมื่อเร็วๆนี้ ประชาชนพร้อมใจกันมีวินัยด้านสุขภาพอย่างเคร่งครัดกันทั้งประเทศ ชั่วระยะเวลาไม่นานก็สามารถดึงตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิดรายใหม่กลับลงมาได้อย่างมากมาย จนบางวันไม่มีผู้ติดเชื้อรายใหม่เลย ซึ่งทำให้พวกเขามีกำลังใจทำหน้าที่มีวินัยกันใหญ่...

การที่ทำให้คนไทยการปรับตัวได้เร็วหรือช้า ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น อายุ เพศ พื้นฐานการศึกษา เศรษฐานะ ความเชื่อ ศรัทธา ศาสนา และ พื้นฐานทางจิตใจ

วิธีการปลูกฝังให้คนในชาติมีวินัย และรู้จักหน้าที่เพื่อสู้กับภัยโควิดโดยพร้อมเพรียงกันนั้น อาจกระทำได้หลายช่องทาง...เช่น

1.กระทรวงสาธารณสุข ผ่านไปทาง สาธารณสุขจังหวัด อาสาสมัครสาธารณสุข
2.มหาดไทย ผ่านผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน
3.ศูนย์แถลงข่าวโควิด-19ของรัฐบาล(โดยการสอดแทรกตามโอกาสสมควร)
4.บรรจุเป็นวาระแห่งชาติ (เพื่อสร้างวินัยสู้ภัยโควิดของคนในชาติ)
5.สื่อสารทางสังคมโลกออนไลน์
6.จัดตั้งกลุ่ม ชมรมปลูกฝังวินัยต้านภัยโควิดทางสังคมโลกออนไลน์
7.ส่วนราชการต่างๆที่เกี่ยวข้อง

มีคำถามว่า 
1.เราจะรอวัคซีน และยาที่รักษาโควิด-19โดยตรง กันไปถึงไหน?
2.เรารู้ว่า โควิด”ใช้คนของเรา”แพร่เชื้อ ทำไมเราไม่ดูแลคนของเราไม่ให้เป็นแนวร่วมกับโควิด?
3.ทำไมเราไม่รีบสร้างภูมิต้านทานทางวินัย ให้คนไทยรู้เท่าทันโควิดกันอย่างจริงจังกันทั้งประเทศเสียเลย?
4.คนไทยทุกคนมีสิทธิ์ที่จะได้รับอันตรายจากโดวิดเท่าเทียมกัน เพราะฉะนั้นการป้องกันการระบาดของโควิดจึง “ไม่ใช่การขอความร่วมมือกัน” แต่ “เป็นหน้าที่ของคนไทยทุกคน”ไม่ใช่หรือ?
5.การมีวินัยด้านสุขภาพที่จริงจังถ้าไม่เริ่มทำกันตั้งแต่วันนี้แล้วเมื่อไรจะเริ่ม?

เรื่องการปลูกฝังวินัยของคนในชาติด้านสุขภาพนั้น ดูเหมือนจะเป็นนามธรรมที่จับต้องไม่ได้ และ บางท่านอาจคิดว่าคนไทยอาจทำไม่ได้ แต่อย่าลืมว่าสังคมไทยนั้นเป็นสังคมที่อ่อนตัว(Soft Culture)และ เป็นสังคมที่พร้อมจะปรับตัว(Adaptive Culture) และที่สำคัญก็คือ ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่ใช้สื่อออนไลน์สูงมาก เพราะฉะนั้นถ้าท่านผู้เกี่ยวข้องรู้จักการสื่อสารออนไลน์อย่างมีคุณภาพจนติดเป็นกระแส คิดว่างานนี้คงสำเร็จได้ในไม่ช้า อาจสำเร็จก่อนจะมียา มีวัคซีนใช้อย่างแน่นอน

การเกิดโรคระบาดในลักษณะนี้ อาจมิใช่การจะเกิดครั้งสุดท้าย ยังมีโอกาสจะเกิดจะยังมีอีกในอนาคต การมีวัฒนธรรมด้านวินัยสุขภาพ หรือ สุขอนามัยนี้จะช่วยให้ประเทศไทยสามารถรับมือกับการระบาดของโรคครั้งต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ...

สรุป:
การสร้างภูมิต้านทานทางวินัยด้านสุขภาพให้แก่คนในชาติ คือหนทางที่จะต้านภัยโควิด-19  ณ.ช่วงเวลานี้ และ รับมือการระบาดของโลกในลักษณะนี้ในอนาคต
และเมื่อคนไทยทุกคนมีภูมิต้านทานด้านสุขภาพ รู้จักหน้าที่ มีวินัย จะทำอะไรก็ง่ายไปหมด จะคลายล็อค ปลดล็อค อย่างไร เมื่อไร ย่อมได้ทุกเมื่อ...

“ความมีวินัย คือ สะพานเชื่อมระหว่างเป้าหมาย กับ ผลสำเร็จ”
(Discipline is the bridge between goals and accomplishment.)...

Chamnan._
4/04/63   
 09:00
(ด้วยความปรารถนาดีจาก
นายแพทย์ ชำนาญ ภู่เอี่ยม)


เครดิตแหล่งข้อมูล : FB ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha

 “การต้านภัยโควิด-19 แบบยั่งยืน”

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
คุณ : u1946627115
สถานะ : บุคคลทั่วไป
IP : 103.58.148.23

103.58.148.23,,host23.148.thvps.com ความคิดเห็นที่ 1 [อ้างอิง]
ขอขอบคุณสำหรับข้อมูล


[ วันเสาร์ ที่ 18 มีนาคม 2566 เวลา 01:47 น. ]
ตามข่าวteenee.com จาก LineToday เข้าไปคลิ๊กกดติดตามได้เลย
กระทู้เด็ดน่าแชร์