หยุดแชร์! รูปย่าโมปลอม-เผยเหตุคนสมัยก่อนไม่กล้าถ่ายรูป
ต่อมาเพจ "โบราณนานมาก" ได้แชร์ภาพดังกล่าวพร้อมทั้งวอนให้ทุกคนหยุดแชร์ ระบุใจความว่า ...ภาพนี้ไม่ใช่ ! ท้าวสุรนารี (ย่าโม) แต่เป็น "ท้าววรจันทร์"
โพสต์นี้กดไลก์ ๒.๙ พันไลก์ กดแชร์ ๑.๑ หมื่นแชร์ ซึ่งสร้างความเข้าใจผิดและสับสน ต่อคนที่พบเห็นเป็นจำนวนมาก
ผู้ที่นำ "กล้องถ่ายรูป" เข้ามาในประเทศสยามครั้งแรก คือ "พระสังฆราชปาลเลอกัว" บาทหลวงคาทอลิคชาวฝรั่งเศส ที่เดินทางมาเผยแพร่ศาสนาคริสต์ที่ประเทศสยาม เมื่อปี ๒๓๘๘ ตรงกับปลายรัชกาลที่ ๓ ส่วน "ท้าวสุรนารี (ย่าโม)" ท่านเกิดปี ๒๓๑๔ ในสมัยกรุงธนบุรี และมีชีวิตเรื่อยมาจนถึงแก่อสัญกรรมในปี ๒๓๙๕ คือช่วงต้นรัชกาลที่ ๔ พอดี ซึ่ง ณ เวลานั้นกล้องถ่ายรูปเข้ามาแล้วก็จริง แต่ ! ไม่เป็นที่แพร่หลายในสยาม เนื่องด้วยคนไทยในสมัยนั้นมีความเชื่อว่าการปั้นหุ่น การวาดรูป การถ่ายรูป จะมีอายุสั้น หรือจะถูกนำไปทำร้ายด้วยวิธีทางไสยศาสตร์ คนสมัยนั้นจึงไม่กล้าที่จะถ่ายรูปกัน
เมื่อเทียบจากช่วงเวลาที่ "กล้องถ่ายรูป" ได้รับความนิยม และปีที่ถึงแก่อสัญกรรมแล้ว จึงเป็นไปไม่ได้เลยที่จะมีภาพถ่ายจริง ๆ ของ "ท้าวสุรนารี (ย่าโม)"
ส่วนบุคคลในภาพ คือ "ท้าววรจันทร์" หรือ เจ้าจอมมารดาวาด ในรัชกาลที่ ๔ มีพระราชโอรส ๑ พระองค์ คือ "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสณบัณฑิต กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา" เป็นต้นราชสกุล "โสณกุล".... ท่ามกลางชาวเน็ตเข้ามาขอบคุณที่บอกข้อเท็จจริง ไม่งั้นคงข้าใจผิดแบบนี้ไปอีกนาน