#สมรสเท่าเทียม สู่ปมแก้ ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ฯ
หน้าแรกTeeNee ข่าวร้อนโลกโซเชียล เป็นข่าว #สมรสเท่าเทียม สู่ปมแก้ ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ฯ
#สมรสเท่าเทียม ติดเทรนด์ทวิตเตอร์ไทย ท่ามกลางการเชิญชวนให้ประชาชนร่วมแสดงความเห็นเกี่ยวกับร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เพื่อนำไปสู่การปรับแก้ให้เกิด #สมรสเท่าเทียม ล่าสุด มีผู้แสดงความเห็นแล้วกว่า 13,000 คน
วันนี้ (6 ก.ค.2563) #สมรสเท่าเทียม กลายเป็นแฮชแท็กยอดนิยมในเทรนด์ทวิตเตอร์ไทยอันดับ 6 โดยผู้ใช้ทวิตเตอร์หลายคนต่างทวีตข้อความเชิญชวนให้ชาวโซเชียลร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการแก้ไขกฎหมายสมรสเพื่อให้บุคคลธรรมดาทั้งเพศเดียวกันและต่างเพศ สามารถทำการหมั้นและสมรสกันได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ทั้งเสนอให้มีการปรับถ้อยคำชาย และ หญิง เป็นผู้หมั้น ผู้รับหมั้น หรือการใช้คำว่าสามีภริยา เป็นความสัมพันธ์ระหว่างคู่สมรส เพื่อผลักดันความเท่าเทียมในการสมรสของคนทุกเพศ
วันนี้ (6 ก.ค.2563) #สมรสเท่าเทียม กลายเป็นแฮชแท็กยอดนิยมในเทรนด์ทวิตเตอร์ไทยอันดับ 6 โดยผู้ใช้ทวิตเตอร์หลายคนต่างทวีตข้อความเชิญชวนให้ชาวโซเชียลร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการแก้ไขกฎหมายสมรสเพื่อให้บุคคลธรรมดาทั้งเพศเดียวกันและต่างเพศ สามารถทำการหมั้นและสมรสกันได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ทั้งเสนอให้มีการปรับถ้อยคำชาย และ หญิง เป็นผู้หมั้น ผู้รับหมั้น หรือการใช้คำว่าสามีภริยา เป็นความสัมพันธ์ระหว่างคู่สมรส เพื่อผลักดันความเท่าเทียมในการสมรสของคนทุกเพศ
----
หลังสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เปิดรับความคิดเห็น ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ที่ นายธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกับคณะ เป็นผู้เสนอ เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 1 หลักทั่วไป บรรพ 5 ครอบครัวและบรรพ 6 มรดก สาระสำคัญหลักของร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ การเสนอขอแก้ไขเพื่อให้บุคคลธรรมดาทั้งเพศเดียวกันและต่างเพศ สามารถทำการหมั้นและสมรสกันได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งเมื่อบุคคลธรรมดาได้หมั้นหรือสมรสกันอย่างถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ก็ให้มีสิทธิและหน้าที่ระหว่างคู่สมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในเรื่องต่างๆ ซึ่งเดิมกำหนดไว้ว่า "ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา" เป็น "ความสัมพันธ์ระหว่างคู่สมรส"
ส่วนทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา เป็น "ทรัพย์สินระหว่างคู่สมรส" รวมถึงการแบ่งมรดกของผู้ตายที่มีคู่สมรส โดยได้ขอแก้ไขถ้อยคำในหลายมาตราที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติว่า "สามีและภรรยา" เป็น "คู่สมรส" และการหมั้น ให้บุคคลเพศเดียวกันหรือต่างเพศซึ่งมีอายุ 17 ปีบริบูรณ์ทำการกันได้ และเสนอกำหนดคำศัพท์ขึ้นใหม่เป็น "ผู้หมั้น" และ "ผู้รับหมั้น" แทนคำว่า "ชาย" และ "หญิง" และแบบของการหมั้นให้ผู้หมั้นส่งมอบหรือโอนทรัพย์สินให้กับผู้รับหมั้น ในส่วนของเรื่องสิทธิและหน้าที่ระหว่างคู่หมั้นยังคงตามหลักการเดิมเพียงแต่ปรับถ้อยคำเป็น "ผู้หมั้น" และ "ผู้รับหมั้น"
สำหรับการสมรส ให้บุคคลเพศเดียวกันหรือต่างเพศซึ่งมีอายุ 18 ปีบริบูรณ์ สามารถสมรสกันได้ หรือหากมีเหตุอันสมควรศาลอาจอนุญาตให้ทำการสมรสก่อนนั้นได้ สำหรับเงื่อนไขการสมรสยังคงหลักการเดิม แต่มีการปรับถ้อยคำจากคำว่า "ชาย" หรือ "หญิง" เป็น "บุคคล"เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการสมรสระหว่างบุคคล เช่น-บุคคลซึ่งเป็นญาติสืบสายโลหิตโดยตรงขึ้นไปหรือลงมาจะทำการสมรสกันมิได้
-บุคคลจะทำการสมรสในขณะที่ตนมีคู่สมรสไม่ได้
-การสมรสจะทำได้ต่อเมื่อบุคคลทั้งสองยินยอมเป็นคู่สมรส
-คู่สมรสต้องอยู่กินกันฉันคู่สมรสและช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูตามความสามารถและฐานะของตน
-การจัดการทรัพย์สิน หนี้สินของคู่สมรส สัญญาที่เกี่ยวกับทรัพย์สินระหว่างคู่สมรส
-การหย่า เหตุหย่า การฟ้องหย่าระหว่างคู่สมรส สิทธิได้รับค่าทดแทน การแบ่งสินสมรส
-การเป็นผู้อนุบาลคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งกรณีศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ
-การรับบุตรบุญธรรม
-การรับมรดก กรณีผู้ตายมีคู่สมรส ต้องมีการแบ่งทรัพย์สินระหว่างผู้ตายกับคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ โดยให้นำเรื่องส่วนแบ่งทรัพย์สิน
-ระหว่างคู่สมรส และคู่สมรสที่ร้างกันหรือแยกกันอยู่โดยยังมิได้หย่ากันตามกฎหมายยังคงมีสิทธิโดยธรรมในการสืบมรดกซึ่งกันและกัน
หลังสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เปิดรับความคิดเห็น ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ที่ นายธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกับคณะ เป็นผู้เสนอ เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 1 หลักทั่วไป บรรพ 5 ครอบครัวและบรรพ 6 มรดก สาระสำคัญหลักของร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ การเสนอขอแก้ไขเพื่อให้บุคคลธรรมดาทั้งเพศเดียวกันและต่างเพศ สามารถทำการหมั้นและสมรสกันได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งเมื่อบุคคลธรรมดาได้หมั้นหรือสมรสกันอย่างถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ก็ให้มีสิทธิและหน้าที่ระหว่างคู่สมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในเรื่องต่างๆ ซึ่งเดิมกำหนดไว้ว่า "ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา" เป็น "ความสัมพันธ์ระหว่างคู่สมรส"
ส่วนทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา เป็น "ทรัพย์สินระหว่างคู่สมรส" รวมถึงการแบ่งมรดกของผู้ตายที่มีคู่สมรส โดยได้ขอแก้ไขถ้อยคำในหลายมาตราที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติว่า "สามีและภรรยา" เป็น "คู่สมรส" และการหมั้น ให้บุคคลเพศเดียวกันหรือต่างเพศซึ่งมีอายุ 17 ปีบริบูรณ์ทำการกันได้ และเสนอกำหนดคำศัพท์ขึ้นใหม่เป็น "ผู้หมั้น" และ "ผู้รับหมั้น" แทนคำว่า "ชาย" และ "หญิง" และแบบของการหมั้นให้ผู้หมั้นส่งมอบหรือโอนทรัพย์สินให้กับผู้รับหมั้น ในส่วนของเรื่องสิทธิและหน้าที่ระหว่างคู่หมั้นยังคงตามหลักการเดิมเพียงแต่ปรับถ้อยคำเป็น "ผู้หมั้น" และ "ผู้รับหมั้น"
สำหรับการสมรส ให้บุคคลเพศเดียวกันหรือต่างเพศซึ่งมีอายุ 18 ปีบริบูรณ์ สามารถสมรสกันได้ หรือหากมีเหตุอันสมควรศาลอาจอนุญาตให้ทำการสมรสก่อนนั้นได้ สำหรับเงื่อนไขการสมรสยังคงหลักการเดิม แต่มีการปรับถ้อยคำจากคำว่า "ชาย" หรือ "หญิง" เป็น "บุคคล"เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการสมรสระหว่างบุคคล เช่น-บุคคลซึ่งเป็นญาติสืบสายโลหิตโดยตรงขึ้นไปหรือลงมาจะทำการสมรสกันมิได้
-บุคคลจะทำการสมรสในขณะที่ตนมีคู่สมรสไม่ได้
-การสมรสจะทำได้ต่อเมื่อบุคคลทั้งสองยินยอมเป็นคู่สมรส
-คู่สมรสต้องอยู่กินกันฉันคู่สมรสและช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูตามความสามารถและฐานะของตน
-การจัดการทรัพย์สิน หนี้สินของคู่สมรส สัญญาที่เกี่ยวกับทรัพย์สินระหว่างคู่สมรส
-การหย่า เหตุหย่า การฟ้องหย่าระหว่างคู่สมรส สิทธิได้รับค่าทดแทน การแบ่งสินสมรส
-การเป็นผู้อนุบาลคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งกรณีศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ
-การรับบุตรบุญธรรม
-การรับมรดก กรณีผู้ตายมีคู่สมรส ต้องมีการแบ่งทรัพย์สินระหว่างผู้ตายกับคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ โดยให้นำเรื่องส่วนแบ่งทรัพย์สิน
-ระหว่างคู่สมรส และคู่สมรสที่ร้างกันหรือแยกกันอยู่โดยยังมิได้หย่ากันตามกฎหมายยังคงมีสิทธิโดยธรรมในการสืบมรดกซึ่งกันและกัน
สำหรับประเด็นในการรับฟังความคิดเห็นนั้น ประกอบด้วย
-ควรแก้ไขให้บุคคลไม่ว่าจะเป็น "เพศเดียวกัน" และ "ต่างเพศ" สามารถทำการหมั้นกันได้หรือไม่
-ควรแก้ไขให้บุคคลไม่ว่าจะเป็น "เพศเดียวกัน" หรือ "ต่างเพศ" สามารถสมรสกันได้ ตามกฎหมายหรือไม่
-ควรแก้ไขอายุบุคคลที่จะทำการสมรสกันได้ต้องมีอายุ 18 ปีขึ้นไป หรือไม่
-ควรแก้ไขให้คู่สมรสทั้งที่เป็นเพศเดียวกันและต่างเพศมีสิทธิ หน้าที่ ความสัมพันธระหว่างกันเหมือนสิทธิ หน้าที่ และความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยาหรือไม่
-ควรแก้ไขให้บุคคลไม่ว่าจะเป็น "เพศเดียวกัน" และ "ต่างเพศ" สามารถทำการหมั้นกันได้หรือไม่
-ควรแก้ไขให้บุคคลไม่ว่าจะเป็น "เพศเดียวกัน" หรือ "ต่างเพศ" สามารถสมรสกันได้ ตามกฎหมายหรือไม่
-ควรแก้ไขอายุบุคคลที่จะทำการสมรสกันได้ต้องมีอายุ 18 ปีขึ้นไป หรือไม่
-ควรแก้ไขให้คู่สมรสทั้งที่เป็นเพศเดียวกันและต่างเพศมีสิทธิ หน้าที่ ความสัมพันธระหว่างกันเหมือนสิทธิ หน้าที่ และความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยาหรือไม่
ผู้ที่สนใจสามารถตอบแบบสอบถามความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติ ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้ผ่านทางเว็บไซต์ https://www.parliament.go.th/section77/survey_detail.php?id=94
ล่าสุด เวลา 14.00 น. มีผู้แสดงความคิดเห็นแล้ว 13,036 คน
เครดิตแหล่งข้อมูล : news.thaipbs
ล่าสุด เวลา 14.00 น. มีผู้แสดงความคิดเห็นแล้ว 13,036 คน
เครดิตแหล่งข้อมูล : news.thaipbs
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!" ประกาศ "
ร่วมแสดงความคิดเห็น