
อธิบาย ยาเพร็พบริจาคเลือดได้ ให้กินเพื่อลดความเสี่ยงติดเอดส์
หน้าแรกTeeNee ข่าวร้อนโลกโซเชียล เป็นข่าว อธิบาย ยาเพร็พบริจาคเลือดได้ ให้กินเพื่อลดความเสี่ยงติดเอดส์

"อดีต ผอ.ศูนย์วิจัยโรคเอดส์" ยืนยัน คนกินยาเพร็พบริจาคเลือดได้ หลังโผล่หนุ่มโพสต์อวดจนถูกวิจารณ์ ย้ำเป็นการกินยาในผู้ที่ไม่ป่วยเพื่อลดความเสี่ยงติดโรคเอดส์
จากกรณีโลกออนไลน์วิจารณ์อย่างหนัก ภายหลังจากที่ปรากฏว่ามีชายหนุ่มรายหนึ่ง ได้โพสต์อวดสุดภูมิใจ เตรียมตัวไปบริจาคเลือดอีกครั้ง หลังกินยาต้านไวรัสยาวนาน 4 ปี ไม่พบเชื้อ ทั้งที่เจ้าตัวมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ป้องกัน จนกลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงนั้น
เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ล่าสุด ศ.กิตติคุณ นพ.ประพันธ์ ภานุภาค อดีตผู้อำนวยการศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย ได้ไขข้อข้องใจกับ "เดลินิวส์ออนไลน์" เผยว่า
การกินยาเพร็พ (PrEP) นั้น "เป็นการทานยาของผู้ที่ยังไม่ติดเชื้อ HIV" เพื่อป้องกันก่อนการติดเชื้อในผู้ที่รักสุขภาพตนเอง หรือผู้ที่มีความเสี่ยง ที่ต้องการป้องกันการได้รับเชื้อดังกล่าวมาโดยไม่ตั้งใจ ซึ่งหากมีการทานยาดังกล่าวก็จะมีการไปตรวจเลือดเป็นประจำทุก 3 เดือนว่าติดหรือไม่ติดเชื้ออย่างไร อีกทั้งการทานยาดังกล่าวร่วมกับการตรวจหาเชื้ออยู่เป็นประจำก็จะยิ่งลดความเสี่ยงที่จะกลายเป็นผู้ป่วยโรคเอดส์ได้
สำหรับการบริจาคเลือดนั้น โดยปกติแล้วธนาคารเลือดทุกแห่งจะต้องเอาเลือดที่รับบริจาคไปตรวจหาเชื้อ HIV อย่างดีที่สุด เพราะไม่มีทางทราบได้อย่างแน่นอนว่าคนไหนติดหรือไม่ติดเชื้อ เพื่อให้เกิดความมั่นใจที่สุดว่า เลือดทุกขวดมีความปลอดภัยถึงจะสามารถนำไปใช้งานได้ ซึ่งขั้นตอนการตรวจหาปริมาณเชื้อไวรัส เป็นการตรวจ HIV RNA ว่าเชื้อมีมากน้อยเพียงใด แม้แต่คนที่ทานยาต้านไวรัสจนเชื้อในเลือดน้อยมากเพียงใดก็ตาม ก็จะทำให้ทราบว่ามีเชื้อ HIV หรือไม่
อย่างไรก็ตาม เมื่อเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา องค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา (US FDA) ได้ออกมาให้ข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางการบริจาคเลือด (Blood Donation Guideline) ไม่ว่าชายหรือหญิง "หากกินยาเพร็พอยู่และไปตรวจเลือดเป็นประจำทุก 3 เดือนแล้วไม่ติดเชื้อ ก็สามารถบริจาคเลือดได้"
ตราบใดที่ยังไม่มีการระบุว่า การทานยาชนิดใด ที่จะส่งผลต่อผู้ที่ได้รับบริจาคเลือด โดยเฉพาะช่วงการระบาดของไวรัสโควิด-19 ทั่วโลกเช่นนี้ ยิ่งต้องมีการบริจาคเพื่อช่วยเหลือผู้อื่นอีกด้วย...
ขอบคุณภาพจาก @หอประวัติศาสตร์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จากกรณีโลกออนไลน์วิจารณ์อย่างหนัก ภายหลังจากที่ปรากฏว่ามีชายหนุ่มรายหนึ่ง ได้โพสต์อวดสุดภูมิใจ เตรียมตัวไปบริจาคเลือดอีกครั้ง หลังกินยาต้านไวรัสยาวนาน 4 ปี ไม่พบเชื้อ ทั้งที่เจ้าตัวมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ป้องกัน จนกลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงนั้น
เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ล่าสุด ศ.กิตติคุณ นพ.ประพันธ์ ภานุภาค อดีตผู้อำนวยการศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย ได้ไขข้อข้องใจกับ "เดลินิวส์ออนไลน์" เผยว่า
การกินยาเพร็พ (PrEP) นั้น "เป็นการทานยาของผู้ที่ยังไม่ติดเชื้อ HIV" เพื่อป้องกันก่อนการติดเชื้อในผู้ที่รักสุขภาพตนเอง หรือผู้ที่มีความเสี่ยง ที่ต้องการป้องกันการได้รับเชื้อดังกล่าวมาโดยไม่ตั้งใจ ซึ่งหากมีการทานยาดังกล่าวก็จะมีการไปตรวจเลือดเป็นประจำทุก 3 เดือนว่าติดหรือไม่ติดเชื้ออย่างไร อีกทั้งการทานยาดังกล่าวร่วมกับการตรวจหาเชื้ออยู่เป็นประจำก็จะยิ่งลดความเสี่ยงที่จะกลายเป็นผู้ป่วยโรคเอดส์ได้
สำหรับการบริจาคเลือดนั้น โดยปกติแล้วธนาคารเลือดทุกแห่งจะต้องเอาเลือดที่รับบริจาคไปตรวจหาเชื้อ HIV อย่างดีที่สุด เพราะไม่มีทางทราบได้อย่างแน่นอนว่าคนไหนติดหรือไม่ติดเชื้อ เพื่อให้เกิดความมั่นใจที่สุดว่า เลือดทุกขวดมีความปลอดภัยถึงจะสามารถนำไปใช้งานได้ ซึ่งขั้นตอนการตรวจหาปริมาณเชื้อไวรัส เป็นการตรวจ HIV RNA ว่าเชื้อมีมากน้อยเพียงใด แม้แต่คนที่ทานยาต้านไวรัสจนเชื้อในเลือดน้อยมากเพียงใดก็ตาม ก็จะทำให้ทราบว่ามีเชื้อ HIV หรือไม่
อย่างไรก็ตาม เมื่อเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา องค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา (US FDA) ได้ออกมาให้ข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางการบริจาคเลือด (Blood Donation Guideline) ไม่ว่าชายหรือหญิง "หากกินยาเพร็พอยู่และไปตรวจเลือดเป็นประจำทุก 3 เดือนแล้วไม่ติดเชื้อ ก็สามารถบริจาคเลือดได้"
ตราบใดที่ยังไม่มีการระบุว่า การทานยาชนิดใด ที่จะส่งผลต่อผู้ที่ได้รับบริจาคเลือด โดยเฉพาะช่วงการระบาดของไวรัสโควิด-19 ทั่วโลกเช่นนี้ ยิ่งต้องมีการบริจาคเพื่อช่วยเหลือผู้อื่นอีกด้วย...
ขอบคุณภาพจาก @หอประวัติศาสตร์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Love Attack เทศกาลความรักแบบนี้ บอกอ้อมๆให้เขารู้กัน
Chocolate Dreams สาวชั่งฝันและช็อคโกแลต กับหนุ่มหล่อ ไม่แน่คุณอาจจะได้เจอแบบนี้ก็ได้
Love You Like Crazy เพลงเพราะๆ ที่ถ้าส่งให้คนที่เรารัก โลกนี้ก็สีชมพูกันทีเดียว