เพจดัง แนะรัฐ 12 ข้อ สร้างความเชื่อมั่น หลังกดดันให้ชวนฉีดวัคซีน
#ว่าด้วยเรื่องการสื่อสารถึงวัคซีน หมอได้รับหลังไมค์จากหน่วยงาน และผู้ใหญ่หลายท่าน ส่งมาบอกว่า "หมอช่วยเขียนเชิญชวนให้คนมาฉีดวัคซีนหน่อย เพราะคนเค้าเชื่อถือคุณหมอ" เอิ่มมม
เค้าอาจจะเชื่อถือหมอเรื่องข้อมูลการเลี้ยงลูกอยู่บ้างนะคะ แต่การจะทำให้คนเชื่อถือแล้วตัดสินใจมาฉีดวัคซีน น่าจะเป็นหน้าที่ของรัฐ ไม่ใช่ของคนที่ก็ไม่ได้รู้มากจริง (แบบหมออะนะ)
หมอไม่ได้เชี่ยวชาญเรื่องวัคซีน เลยอยากแลกเปลี่ยนเรื่องการสื่อสารเผื่อเราจะได้ช่วยๆ กันนะคะ
2. รัฐต้องเชื่อก่อนว่าปัจจุบันประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลที่หลากหลาย ไม่ใช่รัฐบอกอะไร ก็เชื่อไปตามนั้น คนที่รู้ลึก รู้จริง มีข้อมูลเชื่อถือได้ และสื่อสารได้เข้าใจง่าย มีอยู่เต็มไปหมด
3. เลี่ยงการตีตรา "พวกเล่นการเมือง" "ไม่ฉีดวัคซีนคือพวกชังชาติ" ฯลฯ การโบ้ยปัญหาไปสิ่งที่ไม่ใช่ต้นตอแท้จริงของปัญหา ยิ่งสร้างความไม่น่าเชื่อถือ การตีตรา ยิ่งทำให้แบ่งฝักฝ่าย และยิ่งทำให้คนอีกฝ่ายไม่อยากให้ความร่วมมือ
4. รัฐ ควรแสดงความจริงใจ ให้ข้อมูลตรงไปตรงมา ทั้งเรื่องผลข้างเคียงที่พบ รวมถึงการไม่พยายามยกข้อดีของวัคซีนที่ตัวเองมีจนเกินจริง หรือโจมตีด้อยค่าวัคซีนยี่ห้ออื่น มันยิ่งทำให้คนไม่ไว้ใจในข้อมูลที่รัฐให้มา
5. หลีกเลี่ยงการสื่อสาร ที่คนฟังอ่านแล้วอาจรู้สึกกระอักกระอ่วน "วัคซีนที่ดีที่สุด คือวัคซีนที่มีอยู่" "วัคซีนที่ดีที่สุด คือวัคซีนที่มีให้ฉีด" เราต้องเชื่อว่าประชาชนแยกแยะได้ ว่าอะไรดีไม่ดี การสื่อสารแบบนี้ หลายทีเหมือนดูถูกประชาชน
6. หลีกเลี่ยงการสื่อสารที่ใช้ "การขู่" "การลงโทษ" เป็นหลัก "ฉีดวัคซีน ดีกว่าฉีดฟอร์มาลีน" "เสนอใครไม่ฉีด รัฐไม่จ่ายค่ารักษาให้" อย่าทำตัวเป็นเจ้านาย อย่าทำให้คนที่เรากำลังขอความร่วมมือไม่ชอบหน้า มันยิ่งทำให้คนอยากท้าทายหรือยิ่งไม่ทำ
7. สื่อสารด้วยการแสดง "empathy" และแสดงความจริงใจ "รัฐเข้าใจว่าหลายท่านคงลังเลใจ เพราะมีคนได้รับผลข้างเคียงของวัคซีน ซึ่งอาการดังกล่าวเป็นอาการที่น่าตกใจ เราได้ทำการตรวจสอบแล้ว พบว่าอาการดังกล่าว เกิดจาก ... ซึ่งเป็นอาการที่พบได้ จากรายงานพบ.... รายในจำนวนผู้ฉีด..... ราย"
8. จริงใจและตรงไปตรงมา เช่น "ทางเราต้องขอโทษที่ตอนนี้ เราไม่สามารถหาวัคซีนที่มีความหลากหลายมากพอกับความคาดหวังของประชาชนได้ แต่วัคซีนที่มีตอนนี้ ก็มีประสิทธิภาพที่ดีพอในระดับหนึ่ง ที่จะลดความรุนแรงและลดความเสี่ยงในการเสียชีวิต และเรากำลังจะแก้ปัญหานี้ด้วยการ... "
9. คนกำลังลังเลใจ เพราะมีข่าวว่าวัคซีนทางเลือกอื่นกำลังเข้ามา รัฐควรให้ข้อมูลว่าการฉีดวัคซีนที่มีอยู่ไปก่อน แล้วจะสามารถฉีดกระตุ้นเข็มที่สอง (หรือ 3?) โดยวัคซีนใหม่ "โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย" ได้หรือไม่ (หลายคนได้ข้อมูลว่าวัคซีนที่มีอยู่ ฉีดไปก็อาจเข้าประเทศพัฒนาแล้วหลายประเทศไม่ได้ จะได้ลดความลังเลใจในเรื่องนี้)
10. ไม่ควรปลุกระดมเรื่องฉีดวัคซีนแปลว่ารักชาติ เพราะมันอาจหมายถึงการสื่อสารไปในทางตรงกันข้าม เพราะทุกวันนี้ อย่าว่าแต่เรื่องรักชาติ คนแค่คิดเอาตัวเองและครอบครัวให้รอดก็เหนื่อยแล้ว
11. สื่อสารให้ตรงกับสิ่งที่หลายคนกำลังห่วง เช่น เราทุกคนเป็นคนสำคัญของใครอยู่เสมอ การฉีดวัคซีนทำให้ตัวเราปลอดภัย คนที่เรารักปลอดภัย และมีผลทำให้เศรษฐกิจเดินหน้าได้ ถ้าเราร่วมใจกันฉีดให้มาก
12. หาวัคซีนดีๆ มาให้พอกับความต้องการที่หลากหลาย และทำให้การเข้าถึงเป็นเรื่องง่าย นี่น่าจะเป็นเรื่องสำคัญที่รัฐบาลควรเร่งมือทำได้
หมอไม่ได้ฉีดเพราะเชื่อว่านี่คือ "วัคซีนที่ดีที่สุด" หมอฉีดเพราะก็เลือกอะไรมากไม่ได้ (จริงๆ ก็แอบขุ่นข้องหมองใจว่าทำไมเราถึงมีทางเลือกได้แค่นี้) หมอฉีดเพราะหมอชั่งน้ำหนัก ว่าวัคซีนแม้จะดูมีผลข้างเคียง ประสิทธิภาพไม่ได้สูงมากนัก แต่ความเสี่ยงอยู่ในเกณฑ์ที่ตัวเองรับได้ และผลดีก็มีมากกว่า
หมอฉีดเพราะรู้ว่าการเจ็บป่วยของเรา มีความสำคัญต่อคนอีกหลายคน โดยเฉพาะกับพ่อแม่ที่อายุมาก ก่อนฉีดก็ยกมือภาวนา ขอให้อย่ามีผลข้างเคียงอะไร และก็ไม่ได้มีอะไรซีเรียสจริงๆ ทั้ง 2 เข็ม
ยังไงก็ตาม หมอเชื่อว่าเราทุกคนมีสิทธิในการตัดสินใจนะคะ เราไม่ควรใช้วิธีกดดันใคร เพราะแต่ละคนก็คงมีเหตุผลในใจที่แตกต่างกัน สำหรับตัวเอง หมอเชื่อว่า บางทีก็ไม่ต้องคิดว่าเราจะฉีดเพื่ออะไรที่ยิ่งใหญ่
บางทีก็ทำเพื่อเรื่องง่ายๆ "เพื่อตัวเราและคนที่เรารัก" #หมอโอ๋เพจเลี้ยงลูกนอกบ้าน ผู้เชื่อว่าภูมิคุ้นกันหมู่จะเกิดง่ายถ้าเราเข้าถึงวัคซีนที่หลากหลายได้มากขึ้น