นักไวรัสวิทยา เผยเหตุผลทำไมโอไมครอนถึงหลบภูมิคุ้มกันได้-แพร่เร็ว


 นักไวรัสวิทยา เผยเหตุผลทำไมโอไมครอนถึงหลบภูมิคุ้มกันได้-แพร่เร็ว

เมื่อวันที่ 27 พ.ย. 64 - ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักวิจัยด้านไวรัสวิทยา ไบโอเทค เปิดเผยผ่านเฟซบุ๊ก ระบุข้อความว่า ในมุมมองของนักไวรัสวิทยา ไวรัสสายพันธุ์ B.1.1.529 ที่กำลังระบาดในประเทศแอฟริกาใต้ตอนนี้มีคุณสมบัติหลายประการที่น่ากังวลครับ ถึงแม้ข้อมูลการระบาดของไวรัสสายพันธุ์นี้ยังมีไม่มาก แต่การเตรียมการป้องกันไว้ล่วงหน้าคงจะดีกว่าการแก้ไขปัญหาหลังจากที่ไวรัสระบาดไปในวงกว้างแล้ว

ไวรัสสายพันธุ์นี้เชื่อว่าเกิดจากการบ่มเพาะตัวเองในผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันไม่ดี ไวรัสมีโอกาสปรับตัวเองหนีภูมิคุ้มกันได้ง่าย ซึ่งเป็นสิ่งที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วกับสายพันธุ์น่ากังวลอื่นๆที่ผ่านมา แต่ความน่ากังวลอยู่ที่ไวรัสชนิดนี้มีการกลายพันธุ์เกิดขึ้นหลายตำแหน่งมาก จนทำให้องค์ความรู้ต่างๆที่เคยมีมาก่อนกับไวรัสสายพันธุ์อื่นๆที่ใกล้เคียงกันอาจจะใช้อธิบายพฤติกรรมของไวรัสสายพันธุ์นี้ได้ไม่แม่นยำนัก ในบรรดาตำแหน่งที่พบการกลายพันธุ์ สรุปประเด็นหลักๆ ได้ดังนี้

 นักไวรัสวิทยา เผยเหตุผลทำไมโอไมครอนถึงหลบภูมิคุ้มกันได้-แพร่เร็ว

1. ตำแหน่งที่โปรตีนหนามสไปค์จับกับโปรตีนตัวรับ (RBD) มีการเปลี่ยนแปลงหลายตำแหน่งมากแบบที่ไม่เคยพบในสายพันธุ์อื่นๆ มาก่อน ซึ่งทำให้แอนติบอดีที่สร้างขึ้นจากวัคซีนจะจับกับโปรตีนตำแหน่งนี้ไม่ได้ดี รวมถึงยาที่ออกแบบมาจากแอนติบอดีรักษาด้วย

2. ตำแหน่ง 3 ตำแหน่งที่ใกล้จุดตัดตัวเองของโปรตีนหนาม คือ H655Y, N679K และ P681H เป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญที่อาจทำให้ไวรัสเข้าสู่เซลล์ได้ง่ายและแพร่กระจายตัวเองได้ไวขึ้น

3. การเกิดขาดหายไปของกรดอะมิโนที่โปรตีนชื่อว่า Nsp6 (Delta 105-107) ซึ่งพบว่าไปตรงกับสายพันธุ์แอลฟ่า เบต้า แกมม่า และ แลมป์ดา ซึ่งเชื่อว่าช่วยให้ไวรัสหนีภูมิคุ้มกันชนิด innate immunity ที่ร่างกายจะตอบสนองต่อการติดเชื้อแบบฉับพลันหลังติดเชื้อได้


 นักไวรัสวิทยา เผยเหตุผลทำไมโอไมครอนถึงหลบภูมิคุ้มกันได้-แพร่เร็ว

4. การเปลี่ยนแปลงของโปรตีน Nucleocapsid 2 ตำแหน่งสำคัญคือ R203K และ G204R ซึ่งพบได้ในสายพันธุ์แอลฟ่า แกมม่า และ แลมป์ดา ซึ่งมีรายงานว่า การเปลี่ยนแปลงนี้จะช่วยให้ไวรัสติดเชื้อเข้าสู่เซลล์ได้ดีขึ้น

ดูเหมือนว่าการกลายพันธุ์ที่พบได้ในไวรัส B.1.1.529 มีส่วนช่วยหนุนให้ไวรัสตัวนี้เป็นไวรัสที่อาจจะเป็นสายพันธุ์น่ากังวลตัวใหม่ได้ ข้อมูลจากแอฟริกาใต้ดูเหมือนจะพบไวรัสสายพันธุ์นี้มากขึ้นเรื่อยๆ และ กราฟที่ขึ้นสูงนี้อาจจะมาจากความสามารถของไวรัสที่หนีภูมิคุ้มกันจากวัคซีนได้ และมีคุณสมบัติการแพร่กระจายที่ดี...เราคงต้องเตรียมตัวรับมือกับไวรัสตัวนี้แบบจริงจังแล้วครับ...ตัวนี้อาจจะเป็นความท้าทายของปี 2022 ที่ต้องเหนื่อยกันต่อไป


เครดิตแหล่งข้อมูล : FB Anan Jongkaewwattana


เครดิต :
เครดิต : ที่นี่ดอทคอม ทันทุกเรื่องฮิต


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
คุณ : sdfg
สถานะ : บุคคลทั่วไป
IP : 171.6.94.194

171.6.94.194,,mx-ll-171.6.94-194.dynamic.3bb.co.th ความคิดเห็นที่ 1 [อ้างอิง]
รอวัคซีนจุฬาค้อบ ใกล้ละ


[ วันเสาร์ ที่ 27 พฤศจิกายน 2564 เวลา 22:23 น. ]
คุณ : u1869859056
สถานะ : บุคคลทั่วไป
IP : 103.58.148.23

103.58.148.23,,host23.148.thvps.com ความคิดเห็นที่ 2 [อ้างอิง]
ขอขอบคุณสำหรับข้อมูล


[ วันเสาร์ ที่ 18 มีนาคม 2566 เวลา 01:49 น. ]
ตามข่าวteenee.com จาก LineToday เข้าไปคลิ๊กกดติดตามได้เลย
กระทู้เด็ดน่าแชร์